บริจาคอวัยวะ...การให้ที่ยิ่งใหญ่ อวัยวะของคุณช่วยชีวิตใครได้บ้าง?

เมื่อตายไปแล้ว ร่างกายก็ไม่ได้เป็นของเราอีกต่อไป... จะดีแค่ไหนหากอวัยวะของเราช่วยให้ผู้อื่นมีชีวิตอยู่ต่อไปได้
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
บริจาคอวัยวะ...การให้ที่ยิ่งใหญ่ อวัยวะของคุณช่วยชีวิตใครได้บ้าง?

การบริจาคอวัยวะคือการให้ที่ยิ่งใหญ่ เพราะอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของคุณจะถูกนำไปปลูกถ่ายแทนอวัยวะเดิมที่เสื่อมสภาพและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติของผู้รอการปลูกถ่าย ช่วยต่อลมหายใจและช่วยให้ผู้รับบริจาคสามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง 

การบริจาคอวัยวะแต่ละอย่างช่วยชีวิตใครได้บ้าง?

การบริจาคอวัยวะไม่จำเป็นต้องทำในวันที่คุณสิ้นลมไปแล้วเท่านั้น อวัยวะบางอย่างสามารถบริจาคได้ทันทีในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ มาดูกันว่ามีอวัยวะใดบ้างที่สามารถบริจาคได้ บริจาคตอนไหน และอวัยวะเหล่านี้ช่วยชีวิตของผู้ที่รอคอยได้ขนาดไหน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หัวใจ

ผู้ที่อาจต้องได้รับการปลูกถ่ายหัวใจ

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจระยะสุดท้ายจากกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจเกิดจากการขาดเลือด หรือสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่สามารถรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดทั่วไปได้ 

ผลลัพธ์การปลูกถ่าย ผู้ป่วย 70-80% สามารถดำรงชีวิตได้เกิน 1 ปี หลังได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ และ 60% สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้เกิน 5 ปี 

เงื่อนไขของผู้บริจาค ที่สามารถนำหัวใจไปปลูกถ่ายได้

  • เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตายและได้แสดงความจำนงในการบริจาคอวัยวะนี้ไว้ โดยได้รับความยินยอมจากญาติ

ลิ้นหัวใจ

ผู้ที่อาจต้องได้รับการปลูกถ่ายลิ้นหัวใจ

  • มีความพิการของลิ้นหัวใจแต่กำเนิด (Congenital Valve Disease)
  • เป็นโรคลิ้นหัวใจรูมาติกส์ (Rheumatic Heart Disease)
  • เป็นโรคลิ้นหัวใจผิดปกติจากการเสื่อมสภาพ (Degenerative Valve Disease)
  • เป็นโรคลิ้นหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ (Infective Endocarditis)

ผลลัพธ์การปลูกถ่าย

ลิ้นหัวใจที่ได้รับการบริจาคสามารถนำมาผ่านกระบวนการเตรียมและเก็บโดยวิธีพิเศษจะสามารถเก็บรักษาไว้ใช้ได้ถึง 5 ปี และมีโอกาสเกิดการติดเชื้อของลิ้นหัวใจที่ปลูกถ่ายต่ำ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้เมื่อเทียบกับการใช้ลิ้นหัวใจเทียมและลิ้นหัวใจจากเนื้อเยื่อสัตว์ใส่แทน ลิ้นหัวใจที่ได้รับบริจาคจะมีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน (ประมาณ 10-22 ปี) รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องรับประทานยาป้องกันเลือดแข็งตัว ความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดที่ลิ้นหัวใจน้อย ไม่มีเสียงของลิ้นหัวใจดังรบกวน และใช้ได้ดีมากในผู้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ

เงื่อนไขของผู้บริจาค ที่สามารถนำลิ้นหัวใจไปปลูกถ่ายได้

  • ผู้ที่เสียชีวิตจากภาวะสมองตาย แต่หัวใจมีสภาพไม่เหมาะสมต่อการนำไปปลูกถ่าย
  • ผู้ที่เสียชีวิตด้วยหัวใจหยุดเต้น
  • ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายหัวใจใหม่ และหัวใจดวงเก่าไม่มีพยาธิสภาพที่ลิ้นหัวใจ

ไต

ผู้ที่อาจต้องได้รับการปลูกถ่ายไต

  • ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง โดยปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากถึง 5,961 ราย ที่รอรับการปลูกถ่ายไตใหม่

ผลลัพธ์การปลูกถ่าย การปลูกถ่ายไตนั้นให้ผลลัพธ์ดีมาก โดยภายใน 1 ปีหลังได้รับการปลูกถ่าย พบว่าในผู้ป่วยประมาณ 85% ไตใหม่จะสามารถทำหน้าที่ได้เป็นอย่างปกติ

เงื่อนไขของผู้บริจาค ที่สามารถนำไตไปปลูกถ่ายได้ 

  • ญาติร่วมสายเลือดกับผู้ป่วย เช่น พ่อแม่ พี่ น้อง ลูก หรือคู่สมรส ที่เต็มใจบริจาคไตข้างหนึ่งให้ผู้ป่วย
  • ผู้เสียชีวิตจากภาวะสมองตายที่ได้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะนี้ไว้ก่อนตาย หรือได้รับความยินยอมจากญาติ

ทั้งนี้ผู้รอรับไตจะต้องมีหมู่เลือดเดียวกับผู้บริจาค และตรวจพบว่ามีความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ ถึงจะปลูกถ่ายไตนั้นได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปอด

ผู้ที่อาจต้องได้รับการปลูกถ่ายปอด 

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดระยะสุดท้าย ซึ่งมักจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6-12 ปี หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ

ผลลัพธ์การปลูกถ่าย ภายใน 1 ปีหลังจากการปลูกถ่าย ปอดใหม่จะทำงานได้ดีถึง 75% 

เงื่อนไขของผู้บริจาค ที่สามารถนำปอดไปปลูกถ่ายได้

  • ผู้ที่เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตายที่แสดงความจำนงในการบริจาคอวัยวะไว้ก่อนตาย และได้รับความยินยอมจากญาติ

ตับ

ผู้ที่อาจต้องได้รับการปลูกถ่ายตับ 

  • ผู้ป่วยตับวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งวินิจฉัยแล้วว่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือนหากไม่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ผู้ป่วยโรคตับแข็ง โรคตับอักเสบเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือมะเร็งตับ

ผลลัพธ์การปลูกถ่าย การปลูกถ่ายตับจะให้ผลดีในผู้ป่วยที่มีความมีความพิการของตับมาแต่กำเนิด โดยภายใน 1 ปีหลังจากการปลูกถ่าย ตับใหม่จะทำหน้าที่ได้ดีถึง 75% ในผู้ใหญ่ และ 80% ในเด็ก

เงื่อนไขของผู้บริจาค ที่สามารถนำตับไปปลูกถ่ายได้

  • ผู้ที่เสียชีวิตจากภาวะสมองตายที่ได้แสดงความจำนงในการบริจาคอวัยวะนี้ไว้ก่อนตาย และได้รับความยินยอมจากญาติ

ตับอ่อน

ผู้ที่อาจต้องได้รับการปลูกถ่ายตับอ่อน

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งมักทำร่วมกับการปลูกถ่ายไตหากผู้ป่วยมีภาวะไตวายระยะสุดท้ายด้วย 

ผลลัพธ์การปลูกถ่าย ช่วยในการรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้อย่างดี เช่น ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือด ไต ระบบประสาท และดวงตา โดยภายใน 1 หลังจากปลูกถ่าย ตับอ่อนใหม่จะทำงานได้ดีประมาณ 78-83%

เงื่อนไขของผู้บริจาค ที่สามารถนำตับอ่อนไปปลูกถ่ายได้

  • ผู้ที่เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตายที่แสดงความจำนงในการบริจาคอวัยวะไว้ก่อนตาย และได้รับความยินยอมจากญาติ

อวัยวะ...ถึงแม้จำนวนผู้บริจาคไม่น้อย ก็ใช่ว่าจะใช้ได้ทั้งหมด

ข้อมูลจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ระบุว่าในปี พ.ศ. 2561 มีผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะรวมทั้งหมด 100,014 ราย มีผู้บริจาคได้ 261 ราย ซึ่งอวัยวะที่ได้รับบริจาคมาทั้งหมดนั้นสามารถนำมาใช้ปลูกถ่ายให้ผู้ที่รอการบริจาค 585 ราย ในขณะที่ยอดผู้รออวัยวะในปัจจุบันนั้นยังมีอยู่ถึง 6,245 ราย

ตัวเลขผู้บริจาค 100,014 รายนั้นอาจดูเหมือนมาก แต่จริงๆ แล้วจำนวนผู้ที่บริจาคแล้วเป็นไปตามเงื่อนไข อวัยวะต่างๆ สามารถนำไปปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยได้จริงๆ นั้นกลับมีน้อยมาก และไม่เพียงพอสำหรับผู้รอรับบริจาคที่มีมากกว่าถึงประมาณ 24 เท่า ดังนั้นสิ่งที่สำคัญก็คือการเพิ่มจำนวนผู้บริจาคและผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนผู้รอรับบริจาคอวัยวะน้อยลงในที่สุด

อวัยวะ จำนวนผู้รอรับบริจาคอวัยวะ (ราย)
ไต 5,961
หัวใจ 22
หัวใจและปอด 22
ปอด 1
ตับ 223
ตับอ่อน 1
ตับและไต 1
ตับอ่อนและไต 14
รวมทั้งหมด 6,245

“คนข้างหลัง” คนสำคัญที่ช่วยให้การบริจาคอวัยวะสำเร็จสมบูรณ์

สาเหตุที่ยอดผู้บริจาคและผู้ได้รับบริจาคยังมีไม่เพียงพอนั้นมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการบริจาคอวัยวะ มีความเชื่อผิดๆ ว่าถ้าบริจาคอวัยวะแล้ว เกิดชาติหน้าไปจะมีอวัยวะไม่ครบ ทำให้คนไม่กล้าบริจาคอวัยวะ หรือมีบางกรณีที่เมื่อผู้บริจาคอวัยวะเสียชีวิตลงแล้ว ญาติกลับไม่ยินยอมให้แพทย์นำอวัยวะไป ทำให้การบริจาคกลายเป็นโมฆะ

นอกจากนี้ขั้นตอนการเก็บอวัยวะที่บริจาคก็ทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง และต้องทำงานแข่งกับเวลาเพื่อให้ได้อวัยวะที่สมบูรณ์มากที่สุด ตั้งแต่การดูว่าอวัยวะส่วนใดใช้ได้บ้าง ไปจนถึงขั้นตอนจัดเก็บ ขนส่ง และดำเนินการปลูกถ่ายอวัยวะ 

อวัยวะแต่ละส่วนมีอายุการจัดเก็บแตกต่างกันไป โดยหัวใจจะนำมาปลูกถ่ายได้ก็ต่อเมื่อเสียชีวิตไม่เกิน 4 ชั่วโมง ตับเก็บได้ 6 ชั่วโมง ปอดเก็บได้ 8 ชั่วโมง ตับอ่อนอยู่ได้ 10 ชั่วโมงกว่าๆ และไตเก็บได้นานสุดที่ 24 ชั่วโมง

ดังนั้นนอกจากตัวผู้บริจาคเองที่มีใจอยากจะ “ให้” แล้ว คนข้างหลังอย่างญาติพี่น้องหรือคนใกล้ชิดก็เป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยให้ทุกอย่างเป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้บริจาค โดยควรดำเนินการแจ้งแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือโทรสายด่วนศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย 1666 ในกรณีที่เสียชีวิตนอกโรงพยาบาล เพื่อให้เจ้าหน้าที่เดินทางมาตรวจและรับอวัยวะในขณะที่อวัยวะยังสมบูรณ์ที่สุด ความตั้งใจในการให้ครั้งยิ่งใหญ่ของผู้ตายจะได้ไม่สูญเปล่า

อยากบริจาคอวัยวะ สามารถหาข้อมูลได้ที่ไหน?

ไม่ว่าใครก็สามารถแสดงความจำนงเพื่อบริจาคอวัยวะได้ โดยปัจจุบันมีการอำนวยสะดวกให้สามารถทำผ่านช่องทางออนไลน์ เพียงดาวน์โหลดใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน แล้วส่งไปรษณีย์ไปที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย หลังจากนั้นทางศูนย์จะส่งบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะมาให้ตามที่อยู่ที่คุณระบุไว้ 

คุณสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มและอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะได้ที่เว็บไซต์นี้

อย่างไรก็ตาม แพทย์จะทำการตัดอวัยวะหรือเนื้อเยื่อไปปลูกถ่ายให้ผู้ที่รอการบริจาคอวัยวะก็ต่อเมื่อผู้บริจาคที่เสียชีวิตมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้

  • ขณะเสียชีวิตมีอายุไม่เกิน 60 ปี
  • มีภาวะสมองตายด้วยสาเหตุต่างๆ ซึ่งทางการแพทย์ถือว่าเป็นผู้ที่เสียชีวิตแล้ว ไม่สามารถเยียวยารักษาได้
  • ไม่เป็นโรคติดเชื้อและโรคมะเร็ง
  • ไม่มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หัวใจ โรคไต โรคตับ ความดันโลหิตสูง และไม่ติดสุรา
  • อวัยวะที่จะนำไปปลูกถ่ายต้องยังคงทำงานได้ดี 
  • ไม่มีการติดเชื้อที่สามารถถ่ายทอดผ่านการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อเอชไอวี เป็นต้น
  • ได้แจ้งเรื่องการบริจาคอวัยวะให้บุคคลในครอบครัวหรือญาติรับทราบเรียบร้อยแล้ว 

สำหรับการบริจาคอวัยวะขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้บริจาคจะต้องเป็นญาติโดยสายเลือดหรือเป็นสามีภรรยากับผู้รับบริจาคเท่านั้น

เมื่อตายไปแล้ว ข้าวของสักชิ้นก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ แม้กระทั่งร่างกายก็ไม่ได้เป็นของเราอีกต่อไป จะดีแค่ไหนหากอวัยวะของเรายังสามารถช่วยต่อชีวิตของผู้อื่นได้ หรือหากอวัยวะใช้ไม่ได้ ก็ยังสามารถบริจาคร่างกายเพื่อนำไปใช้ในการศึกษาวิจัยของนักศึกษาแพทย์ 

การบริจาคอวัยวะสามารถทำได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนข้างต้น และหากเปลี่ยนใจไม่อยากบริจาคก็ยังทำได้ทุกเมื่อ ทั้งนี้เมื่อยื่นเอกสารแสดงความจำนงในการบริจาคอวัยวะหรือร่างกายเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมบอกให้คนข้างหลังทราบถึงเจตนารมณ์ของคุณเองด้วย เพื่อให้พวกเขาเข้าใจและดำเนินการตามที่คุณได้ตั้งใจเอาไว้


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
‘บริจาคอวัยวะ’ คือทานบารมีครั้งยิ่งใหญ่ (https://www.hfocus.org/content/2018/02/15399), 11 กุมภาพันธ์ 2561.
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย, แผนภูมิแสดงจํานวนผู้บริจาคอวัยวะ (http://www.organdonate.in.th/Download/pdf/odc-news.pdf).
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย, ความรู้เรื่องการบริจาค และการปลูกถ่ายอวัยวะ (https://youtu.be/hCxywDtpIQI) 5 พฤศจิกายน 2561.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เพราะการให้ไม่มีสิ้นสุด วันนี้… คุณบริจาคอวัยวะแล้วหรือยัง?
เพราะการให้ไม่มีสิ้นสุด วันนี้… คุณบริจาคอวัยวะแล้วหรือยัง?

ร่างกายของมนุษย์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ แม้จะจากโลกนี้ไปแล้ว ก็ยังสามารถนำอวัยวะไปต่อชีวิตให้ผู้อื่นได้

อ่านเพิ่ม
ไขข้อข้องใจ บริจาคอวัยวะ VS บริจาคร่างกาย
ไขข้อข้องใจ บริจาคอวัยวะ VS บริจาคร่างกาย

บริจาคอวัยวะกับบริจาคร่างกาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร เราจะบริจาคทั้งสองอย่างได้ไหม? หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม