ยาคุมที่ห้ามใช้ในผู้ที่พร่องเอนไซม์ G-6-PD

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาคุมที่ห้ามใช้ในผู้ที่พร่องเอนไซม์ G-6-PD

ภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกส์พีดี หรือ G-6-PD Deficiency เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดลักษณะด้อยทางโครโมโซม X (X-linked recessive inheritance) พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เนื่องจากเพศชายมีโครโมโซมเพศเป็น XY จึงมีโครโมโซม X เพียงแท่งเดียว ดังนั้น หากได้รับโครโมโซม X ที่มีความผิดปกติไปก็จะเกิดโรคได้เลย (Hemizygous)

ในขณะที่เพศหญิงมีโครโมโซมเพศเป็น XX จึงต้องได้รับโครโมโซม X ที่มีความผิดปกติมาทั้ง 2 แท่งจึงจะเกิดโรค (Homozygous) แต่ถ้าหากได้รับโครโมโซม X ที่มีความผิดปกติมาเพียงแท่งเดียว ก็จะเป็นแค่พาหะ (Heterozygous) ซึ่งเชื่อกันว่าหญิงที่เป็นพาหะจะไม่พบความผิดปกติของเม็ดเลือดเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่มีการศึกษาใหม่ ๆ ที่ชี้ว่าผู้ที่เป็นพาหะบางรายก็อาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลันได้ค่ะ แต่โดยเฉลี่ยแล้ว อาการที่พบจะรุนแรงน้อยกว่าในเพศชาย อย่างไรก็ตาม ก็คงต้องรอให้มีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนนะคะ

จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.2002 ชี้ว่าสำหรับชาวไทย มีความชุกของภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกส์พีดี 11.1% ในเพศชาย และ 5.8% ในเพศหญิง
แต่เนื่องจากการศึกษาดังกล่าวเก็บข้อมูลในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ดังนั้น สถิติจริง ๆ ในแต่ละภูมิภาคอาจแตกต่างไปจากนี้ได้ ดังที่เคยพบตัวเลขที่สูงกว่าเมื่อศึกษาที่บุรีรัมย์และเชียงใหม่ หรือต่ำกว่าเมื่อศึกษาที่ตรัง เป็นต้น

ผู้ที่เป็นโรคนี้ ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการผิดปกติให้เห็นค่ะ ยกเว้นเมื่อได้รับสารกระตุ้นหรือมีการติดเชื้อบางอย่างก็จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลันหรือเรื้อรัง จึงอ่อนเพลีย, ซีด หรือมีปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลดำ และอาจรุนแรงจนถึงขั้นไตวายหรือหัวใจหยุดเต้นได้

แม้จะมีความรุนแรงแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ตามประเภทของการขาดเอนไซม์, เพศ และปัจจัยเสริมอื่น ๆ จึงทำให้มีอาการแสดงที่หลากหลาย ตั้งแต่ไม่พบอาการใด ๆ เลย ไปจนถึงมีอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิตก็ได้ อย่างไรก็ตาม การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นไว้ก่อน น่าจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่านะคะ

มียาหลายชนิดที่จะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ที่พร่องเอนไซม์จีซิกส์พีดี เพราะพบรายงานว่าเป็นสาเหตุให้เม็ดเลือดแดงแตกแน่นอน (Definite risk of haemolysis) เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่มซัลฟา, ควิโนโลน, ไนโตรฟูแรน และคลอร์แรมฟีนิคอล และยาอื่น ๆ อีกมาก

รวมไปถึง Methylene blue ซึ่งอาจพบได้ใน “ยาล้างไต” ด้วยนะคะ ไม่รู้จะใช้กันทำมั้ยยยยย... ไม่ได้ล้างไตได้จริงซักหน่อย แถมซ้ำร้าย ไตวายไม่รู้ตัวนะเออ!

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

และยังมียาอีกหลายชนิดที่ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ (Possible risk of haemolysis) ขึ้นอยู่กับขนาดยาที่ใช้และความรุนแรงของภาวะขาดเอนไซม์ของผู้ป่วย ซึ่งหนึ่งในนั้น ก็คือฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีชื่อว่า Mestranol ที่พบได้ในยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมบางยี่ห้อด้วยค่ะ

ในปัจจุบัน (ตุลาคม 2561) มียาคุม 3 ยี่ห้อที่ใช้ฮอร์โมน Mestranol เป็นส่วนประกอบนะคะ ได้แก่ มาร์กาเร็ต เอ็กซ์โอ (Margaret X.O.), วันเดย์ (One day) และอนามัย (Anamai)

ซึ่งทั้ง 3 ยี่ห้อเป็นยาสูตรเดียวกันค่ะ โดยเป็นยาคุมรูปแบบ 28 เม็ด ที่มี “เม็ดยาฮอร์โมน” 21 เม็ด + “เม็ดแป้ง” 7 เม็ด ซึ่งใน “เม็ดยาฮอร์โมน” แต่ละเม็ดจะประกอบด้วย Mestranol 0.050 มิลลิกรัม + Norethisterone 1 มิลลิกรัม

แม้จะไม่ใช่ข้อห้าม ที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้โดยเด็ดขาด แต่เมื่อพิจารณาว่ายังมีทางเลือกอีกมากมายให้ใช้ เนื่องจากยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมส่วนใหญ่ จะใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีชื่อว่า Ethinylestradiol ซึ่งไม่มีข้อจำกัดการใช้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้     ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย สำหรับผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกส์พีดี แนะนำให้ใช้ยาคุมยี่ห้ออื่น ๆ แทนมาร์กาเร็ต เอ็กซ์โอ, วันเดย์ หรืออนามัย ...กันไว้ดีกว่าแก้นะคะ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
7 Things You Should Avoid If You Have G6PD Deficiency. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/things-to-avoid-if-you-have-g6pd-deficiency-401319)
Caring for Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase (G6PD)–Deficient Patients: Implications for Pharmacy. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4571844/)
Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/000528.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)