วัคซีนเสริมในเด็กทารก จำเป็นหรือไม่ มีอะไรบ้าง?

แนะนำวัคซีนเสริมโดยละเอียด ที่ควรฉีดเพื่อป้องกันโรคในเด็ก พร้อมตัวอย่างราคาจากโรงพยาบาลเอกชน
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วัคซีนเสริมในเด็กทารก จำเป็นหรือไม่ มีอะไรบ้าง?

ปัจจุบันมีวัคซีนเสริมหรือวัคซีนทางเลือก นอกเหนือจากวัคซีนบังคับ (วัคซีนที่เด็กไทยทุกคนจำเป็นต้องได้รับตามตารางบังคับของรัฐบาลอยู่หลายชนิด)

ซึ่งวัคซีนทางเลือกหรือวัคซีนเสริม ราคาจะค่อนข้างสูง ผู้ปกครองต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง และเป็นผู้ตัดสินใจร่วมกับแพทย์ผู้แนะนำหลังจากได้รับข้อมูลโดยครบถ้วนแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนเด็ก ตรวจพัฒนาการเด็กวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 728 บาท ลดสูงสุด 57%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วัคซีนเสริมแต่ละชนิดมีประโยชน์ที่แตกต่างกันในสำหรับเด็กแต่ละช่วงอายุ รวมถึงความจำเป็นของตัวเด็กเองด้วย จึงได้นำเสนอข้อมูลบางส่วนของวัคซีนที่มีอยู่ในตารางวัคซีนของประเทศไทย ดังต่อไปนี้

วัคซีนเสริมสำหรับเด็กแรกเกิด ถึงอายุ 1 ขวบ

1. วัคซีนโรต้า

เป็นวัคซีนป้องกันท้องเสียจากไวรัสโรต้า ซึ่งทำให้เกิดท้องเสียรุนแรง

วัคซีนเป็นชนิดหยอดทางปาก มี 2 แบบ คือ ชนิดหยอด 2 ครั้งและ 3 ครั้ง โดยทั่วไปจะหยอดที่อายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน (สำหรับชนิดหยอด 3 ครั้ง)

หากต้องการหยอดวัคซีนนี้ควรได้รับโดสแรกไม่เกินอายุ 15 สัปดาห์ และโดสสุดท้ายไม่เกินอายุ 8 เดือน

ราคาวัคซีนต่อโด้สของโรงพยาบาลเอกชน อยู่ในช่วงประมาณ 1,500-1,800 บาท

2. วัคซีน ไอพีดี (IPD) หรือวัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต

เป็นวัคซีนเสริมป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสโลหิต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนเด็ก ตรวจพัฒนาการเด็กวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 728 บาท ลดสูงสุด 57%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผลของการติดเชื้อเหล่านี้มีผลข้างเคียงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต แม้พบได้ไม่บ่อย แต่ก็รุนแรง จึงมีข้อแนะนำในผู้ป่วยบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงได้ ดังนี้

ในเด็กปกติที่มีอายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป จนถึง 5 ปี เด็กที่มีความเสี่ยงได้แก่

  • เด็กทุกอายุที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • เด็กที่มีความเสี่ยงต่อโรค เช่น ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โดยเฉพาะชนิดเขียวและผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย
  • เด็กที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง
  • เด็กที่เป็นโรคเบาหวาน
  • เด็กที่มีน้ำไขสันหลังรั่ว
  • เด็กที่ได้รับการปลูกถ่ายคอเคลียร์ (Cochlear)

วัคซีนไอพีดีสามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6-8 สัปดาห์ โดยหวังผลป้องกันโรคได้เร็วในเด็กอายุน้อยที่มีความเสี่ยง

เนื่องจากวัคซีนนี้มีราคาค่อนข้างสูง และมีรายละเอียดที่ต้องฉีดแตกต่างกันในช่วงอายุ ยิ่งอายุน้อยจำนวนเข็มที่ต้องฉีดต่อเนื่องหลายเข็มมากกว่า บางโรงพยาบาลจึงมีการคิดราคาเป็นแพ็กเกจ 3-4 เข็ม ซึ่งราคาจะถูกกว่า

ราคาวัคซีนต่อครั้งของโรงพยาบาลเอกชนอยู่ในช่วงประมาณ 2,800-3,800 บาท

3. วัคซีนฮิบ (Haemophilus influenzae type b)

Haemophilus influenzae type b หรือ HIB เป็นเชื้อแบคทีเรียอีกตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ และหูชั้นกลางอักเสบได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนเด็ก ตรวจพัฒนาการเด็กวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 728 บาท ลดสูงสุด 57%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยแนะนำฉีดในเด็กทั่วไปที่มีอายุ 2 เดือน-2 ปี และเด็กทุกอายุที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ม้ามทำงานผิดปกติ

วัคซีนนี้จะรวมอยู่ในวัคซีนเข็มรวมกับวัคซีนบังคับ คือ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอชนิดฉีด เป็นวัคซีนรวม 5 โรค หรือ 6 โรค ซึ่งมีโรคไวรัสตับอักเสบบีร่วมด้วย

จะเริ่มฉีดในช่วงอายุ 2, 4, 6 เดือน 18 เดือน และ 4 ปี หากรับวัคซีนพื้นฐานมาแล้ว ก็สามารถฉีดแยกได้ แต่ไม่ค่อยนิยม

ราคาวัคซีนเข็มรวมต่อครั้งของโรงพยาบาลเอกชน ถ้าเป็นวัคซีนเข็มรวม 5 โรค จะอยู่ที่ประมาณ 1,500 -2,200 บาท ส่วนวัคซีนเข็มรวม 6 โรค จะประมาณ 2,100-3,000 บาท

4. วัคซีนไข้หวัดใหญ่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนเสริมที่สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน โดยปีแรกฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน

หลังจากนั้นควรฉีดกระตุ้นปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากสายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่จะเปลี่ยนแปลงทุกๆ ปี โดยวัคซีนมีชนิด 3 สายพันธุ์ และ 4 สายพันธุ์

ราคาวัคซีนไข้หวัดใหญ่มักอยู่ที่ประมาณ 300-1,000 บาท ต่อเข็ม แล้วแต่ชนิดสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ที่วัคซีนป้องกันได้

วัคซีนเสริมสำหรับเด็กอายุ 1 ปีขิ้นไป

1. วัคซีนสุกใส

โรคสุกใส มักพบในเด็กวัยเรียน ติดเชื้อได้ง่าย หายเองได้ แต่ในบางรายอาจพบภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบหรือติดเชื้อที่ผิวหนัง

ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคสุกใส 2 เข็ม อายุที่แนะนำในเด็กเล็กคือ 12-18 เดือน และเข็มที่สองอายุ 4 ปี

ประสิทธิภาพการป้องกันโรค หากฉีดครบ 2 เข็มจะป้องกันโรคได้ประมาณ 94% โดยราคาวัคซีนต่อครั้งของโรงพยาบาลเอกชนจะอยู่ในช่วงประมาณ 1,500-2,000 บาท

2. วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ

ไว้รัสตับอักเสบเอเป็นโรคตับอักเสบที่ติดเชื้อผ่านทางอาหารและน้ำ ฉีดได้ในเด็กอายุ 1 ปี ขึ้นไป ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน

ราคาวัคซีนต่อครั้งของโรงพยาบาลเอกชน อยู่ในช่วงประมาณ 1,300-1,500 บาท

3. วัคซีนพิษสุนัขบ้า

สามารถฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าได้ในทุกอายุ ในทุกคนที่มีความเสี่ยงถูกสัตว์กัดและผู้ที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อพิษสุนัขบ้า เช่น สัตวแพทย์ ผู้ทำงานในห้องปฏิบัติการ หรือผู้เดินทางเข้าไปในถิ่นที่มีโรคพิษสุนัขบ้าชุกชุม

ส่วนในเด็กปกติซึ่งถูกสัตว์เลี้ยงลูกแนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 7 วัน

4. วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (เอชพีวี: HPV)

วัคซีนเสริมชนิดนี้ฉีดได้ในช่วงอายุ 9-26 ปี เน้นฉีดช่วง 11-12 ปี โดยฉีด 3 เข็ม แต่หากฉีดเข็มแรกก่อน 15 ปีให้ฉีดได้ 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน

ประสิทธิภาพจะสูงหากฉีดในผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน

ราคาวัคซีนต่อครั้งของโรงพยาบาลเอกชน อยู่ในช่วงประมาณ 2,500-3,000 บาท ในบางโรงพยาบาลอาจคิดราคาเป็นแพ็กเกจ ราคาจะถูกลง

5. วัคซีนไข้เลือดออก

ฉีดได้ช่วงอายุ 9-45 ปี ทั้งหมดฉีด 3 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน สามารถให้ได้ในเด็กอายุมากกว่า 9 ปีที่มีประวัติเคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน

แต่หากเป็นกรณีอื่นๆ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์โดยละเอียดก่อนการตัดสินใจ เนื่องจากวัคซีนยังไม่สามารถป้องกันโรคได้อย่างสมบูรณ์และอยู่ในช่วงการพัฒนา

โดยสรุป แม้วัคซีนทางเลือกเหล่านี้จะราคาค่อนข้างสูงสำหรับบางครอบครัว แต่ก็มีประโยชน์และประสิทธิภาพในการป้องกันโรค

ราคาวัคซีนเสริมที่กล่าวไว้ในบทความอ้างอิงจากโรงพยาบาลเอกชน แต่ราคาอาจไม่เท่ากันและเปลี่ยนแปลงได้

ผู้ปกครองควรสอบถามข้อมูลจากสถานพยาบาลใกล้บ้านและปรึกษากับแพทย์ผู้ให้ข้อมูลอีกครั้งก่อนตัดสินใจ และปัจจุบันมีวัคซีนบางชนิดเตรียมบรรจุในตารางวัคซีนพื้นฐานของประเทศไทย จึงควรติดตามความคืบหน้าต่อไป


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย แนะนำโดย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 2562
อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์, Vaccine A to Z (Update on pediatric infectious diseases 2019) หน้า 172 -183
ตารางคำแนะนำการใช้วัคซีนที่อยู่นอกแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของกระทรวงสาธารณสุข ,สถาบันวัคซีนแห่งชาติ http://nvi.go.th/index.php/vaccine-knowledge/optional-vaccine

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)