ฉันจะฝึกระเบียบวินัยให้กับลูกที่ดื้อได้อย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ฉันจะฝึกระเบียบวินัยให้กับลูกที่ดื้อได้อย่างไร?

การเลี้ยงดูเด็กที่เป็นโรคดื้อถือเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและการมีระเบียบวินัยที่สม่ำเสมอถือเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับอาการของเด็ก

ให้ความสนใจในแง่บวก

เด็กที่เป็นโรคดื้อมักมีปัญหาอยู่ภายในใจ จึงทำให้เด็กกลุ่มนี้มีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับผู้ใหญ่ พวกเขาเป็นกลุ่มที่ได้รับคำสั่งและผลกระทบที่ตามมามากกว่าเด็กคนอื่นๆ การให้ความสนใจในแง่บวกต่อลูกของคุณในทุกๆ วันจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์และลดปัญหาทางพฤติกรรมได้ ควรใช้เวลาประมาณ 15 นาทีต่อวัน ในการพูดคุย เล่น หรือทำกิจกรรมร่วมกัน ควรใช้เวลาที่มีค่าเหล่านี้ร่วมกันในทุกวัน แม้จะเป็นวันที่พวกเขาดื้อมากกว่าปกติก็ตาม ในระยะยาวการให้ความสนใจในแง่บวกนี้จะช่วยลดปัญหาทางพฤติกรรมได้

ตั้งกฎให้ชัดเจน

เด็กที่เป็นโรคดื้อชอบที่จะต่อสู้กับกฎและความยุติธรรมต่างๆ พวกเขามักพยายามหาช่องโหว่และพยายามหลีกหนีกฎเกณฑ์เหล่านี้ทุกครั้งที่ทำให้ การตั้งกฎที่ชัดเจนภายในบ้านถือเป็นจุดเริ่มต้นในการลดการโต้เถียง คุณควรติดกฎเหล่านี้ไว้ที่ตู้เย็นหรือบริเวณที่สังเกตได้ชัดเจนภายในบ้าน และเมื่อลูกของคุณเริ่มบอกว่าเขาไม่อยากทำการบ้านตอนนี้ คุณสามารถชี้ไปที่กฎและอธิบายว่า เวลาในการเริ่มทำการบ้านคือ 16.00 น. 

ควรทำให้กฎเหล่านี้ง่ายและไม่ยาวจนเกินไป แต่ควรมีกฎที่เกี่ยวข้องกับการบ้าน งานบ้าน เวลานอน และความเคารพต่างๆ รวมถึงปัญหาพฤติกรรมที่คุณต้องการจะแก้ไข

วางแผนพฤติกรรม

การวางแผนพฤติกรรมจะทำให้คุณสามารถเน้นไปที่พฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ โดยควรเลือกพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหามากที่สุดเป็นอันดับแรก ความก้าวร้าว การนินทา ไม่ทำการบ้าน หรือก่อกวนในห้องเรียนอาจเป็นพฤติกรรมลำดับต้นๆ ที่คุณต้องการแก้ไข ควรระบุบทลงโทษที่ชัดเจนหากลูกของคุณทำผิดกฎ นอกจากนั้นควรพูดคุยถึงผลดีที่จะได้จากการทำตามกฎ การให้รางวัล โดยเฉพาะในรูปแบบของเงินปลอม เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากเด็กที่เป็นโรคนี้

หนักแน่นกับบทลงโทษ

เด็กที่เป็นโรคนี้ต้องการความสม่ำเสมอของบทลงโทษจากการกระทำที่ไม่ถูกต้อง หากคุณมีการอนุโลมจะทำให้พวกเขาไม่จำ เนื่องจากพวกเขาจะคิดว่าถึงแม้ว่าจะมีโอกาสเพียง 1 ใน 100 ที่คุณจะยอมให้ แต่ก็ถือว่าดีกว่าไม่ได้ลอง ควรลดรางวัลที่เขาจะได้รับเมื่อทำผิด เช่น ไม่อนุญาตให้ไปเล่นกับเพื่อนหากพวกเขาไม่ทำงานของตัวเอง

หลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องอำนาจ

เด็กที่เป็นโรคนี้มักเก่งในการทำให้ผู้ใหญ่เข้าสู่การโต้เถียงอันยาวนาน อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องหลีกเลี่ยงปัญหาว่าใครคือผู้มีอำนาจ เนื่องจากปัญหานี้ไม่ช่วยแก้ปัญหา หากคุณบอกให้ลูกทำความสะอาดห้องและพวกเขาเถียงคุณ ไม่ควรเถียงกลับ เพราะยิ่งพวกเขาเถียงกับคุณได้นานเท่าไหร่ พวกเขาก็จะเริ่มทำความสะอาดช้าลงเท่านั้น แต่คุณควรออกคำสั่งให้ชัดเจนและระบุบทลงโทษที่จะเกิดขึ้นหากเขาไม่ทำตามข้อตกลง ไม่ควรพยายามกดดันให้ลูกของคุณทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

คุณไม่สามารถบังคับให้เขาทำความสะอาดห้องหรือทำการบ้านได้ การโต้เถียง เหน็บแนม และด่าทอไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพ แต่คุณสามารถทำให้เขารู้สึกไม่ดีหากไม่ทำตามข้อตกลงโดยการกำหนดบทลงโทษ หากเขาไม่ทำตามที่คุณบอก คุณสามารถเตือนอย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลที่อาจเกิดขึ้นหากพวกเขาไม่ทำตามข้อตกลง คุณอาจจะพูดว่า ถ้าลูกไม่เลิกเล่นคอมพิวเตอร์ในตอนนี้คุณจะไม่ได้แตะต้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกเลยในอีก 24 ชั่วโมง และหากเขายังไม่ยอมทำตามคุณก็สามารถเริ่มทำตามบทลงโทษที่กำหนดไว้ได้เลย

ขอความช่วยเหลือ

คุณควรพิจารณาขอความช่วยเหลือหากลูกของคุณยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ การฝึกอบรมพ่อแม่มักเป็นส่วนที่สำคัญในการรักษาและผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยเรื่องเทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่บ้านได้

กลุ่มให้ความช่วยเหลือมักจะมีประโยชน์ต่อพ่อแม่เช่นกัน เพราะการเลี้ยงลูกที่เป็นโรคดื้อนี้ถือเป็นเรื่องที่เหนื่อยมาก นอกจากนั้นควรเรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้ให้มากที่สุด ความเข้าใจโรคถือเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะที่จะช่วยควบคุมพฤติกรรมได้


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dulcan MK, ed. Oppositional defiant disorder and conduct disorder. In: Dulcan's Textbook of Child and Adolescent Psychiatry. 2nd ed. Arlington, Va.: American Psychiatric Association; 2016. http://psychiatryonline.org.
Oppositional defiant disorder. American Association for Marriage and Family Therapy. https://www.aamft.org/iMIS15/AAMFT/Content/Consumer_Updates/Oppositional_Defiant_Disorder.aspx.
Oppositional defiant disorder: A guide for families. American Academy of Child and Adolescent Psychiatry. http://www.aacap.org/aacap/Families_and_Youth/Resource_Centers/Oppositional_Defiant_Disorder_Resource_Center/Home.aspx.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป