ฟันแถม : ทำไมเด็กทารกแรกเกิดมีฟันงอกออกมา

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ฟันแถม : ทำไมเด็กทารกแรกเกิดมีฟันงอกออกมา

โดยปกติฟันน้ำนมของลูกจะขึ้นครั้งแรกเมื่อเด็กทารกมีอายุประมาณ 7-8 เดือน ซึ่งฟันที่ขึ้นมาชุดนี้เราเรียกว่า ฟันน้ำนม แต่ก็มีเด็กทารกหลายรายที่เกิดมาพร้อมกับมีฟันงอกออกมา เราเรียกฟันชนิดนี้ว่า ฟันแถม (Predeciduous teeth) ซึ่งฟันแถมนี้โดยมากมักจะเป็นฟันซี่ด้านล่างและจะส่งผลกับคุณแม่เมื่อลูก ดูดนมจากอกแม่เพราะแม่จะเจ็บจากฟันของลูก เรามาทำความรู้จักกับ ฟันแถม ให้มากขึ้นกันดีกว่า

โดยปกติเด็กทารกจะมีฟันชุดแรกเมื่อมีอายุ 7-8 เดือน ฟันชุดนี้เรียกว่า ฟันน้ำนม และฟันน้ำนมจะค่อยๆ หลุดไป เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาเมื่ออายุ 5-6 ขวบ แต่สำหรับกรณี ฟันแถม นั้นจะแตกต่างกัน เนื่องจากว่า ฟันแถม นั้นจะงอกออกมาหลังจากเด็กทารกคลอดออกมา ลักษณะของฟันแถมนี้จะมีลักษณะไม่เหมือนกับฟันน้ำนม เพราะว่าฟันแถมจะมีรูปร่างบิด เบี้ยว หรือโยก ได้ตั้งแต่เริ่ม นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดแผลที่ลิ้นของลูกได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ทำฟันเด็กวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะพาลูกไปปรึกษากับทันตแพทย์สำหรับเด็ก เพื่อให้คุณหมอได้ตรวจดูฟันแถมของลูก ฟันแถม ไม่มีอันตรายใดๆ กับลูก แต่อาจเป็นอันตรายถ้าฟันแถมเกิดหลุดแล้วเข้าไปติดในหลอดลม หรือเจ็บเวลาดูดนม อาจทำให้เกิดแผลที่นมแม่ได้ ดังนั้นโดยมากคุณหมอจะแนะนำให้ถอนฟันแถมออก เพื่อรอให้ฟันน้ำนมขึ้นมาเมื่อเด็กอายุ 7-8 เดือน แต่เคยเกิดกรณีที่พ่อแม่คาดว่าฟันที่ขึ้นมาของลูกเป็นฟันแถม แต่กลับเป็นฟันน้ำนม เมื่อถอนไปแล้ว ฟันน้ำนมจะไม่ขึ้นแล้ว ต้องรอจนลูกอายุ 5-6 ขวบเลยฟันแท้จึงจะงอกขึ้นมา ดังนั้นทางที่ดีควรที่จะปรึกษาคุณหมอให้แน่ใจก่อน


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Nehal Vithlani, Pre-deciduous dentition (https://www.slideshare.net/neh...), 17 Jan 2015
American dental Association, Eruption Charts (https://www.mouthhealthy.org/e...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)