กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

จมูกบาน (Nasal Flaring)

เผยแพร่ครั้งแรก 21 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

อาการจมูกบาน คือภาวะที่รูจมูกขยายใหญ่ขึ้นขณะหายใจ เป็นสัญญาณของภาวะหายใจลำบากหรือการพยายามลดแรงต้านของหลอดลมด้วยการขยายช่องเปิดของรูจมูก ภาวะนี้มักพบได้บ่อยในเด็กและทารก ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงปัญหาบางอย่างของระบบทางเดินหายใจ

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการจมูกบาน

อาการจมูกบานเกิดได้จากหลายภาวะ ตั้งแต่การออกกำลังกายอย่างหนักไปจนถึงภาวะระยะยาวและอุบัติเหตุ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย หลายคนอาจสังเกตได้ว่ารูจมูกมีการบานออกเมื่อเกิดภาวะติดเชื้อร้ายแรง เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรืออาการที่พบได้มากในผู้ที่มีภาวะทางเดินหายใจร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคปอดบวม (Pneumonia) และหลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอีกประการที่ทำให้เกิดอาการจมูกบาน คือโรคครูป (Croup) หรือภาวะกล่องเสียงกับหลอดลมใหญ่ติดเชื้อจนเกิดการอักเสบ
  • หอบหืด (Asthma) อาการจมูกบานสามารถพบได้มากในผู้ที่ป่วยเป็นโรคหอบหืดเฉียบพลัน แต่ก็อาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการหอบหืดทั่วไปได้ด้วย เช่น หายใจหวีดสูง แน่นหน้าอก และหายใจลำบาก
  • ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ (Epiglottitis) คือการอักเสบของเนื้อเยื่อที่คลุมหลอดลมใหญ่ ปัจจุบันเป็นภาวะหายาก เพราะผู้คนส่วนมากมีภูมิต้านทานแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของภาวะนี้ตั้งแต่เด็ก
  • หลอดลมอุดกั้น หากมีภาวะอุดกั้นที่หลอดลมรอบจมูก ปาก หรือลำคอ อาจมีอาการหายใจลำบากที่ทำให้เกิดอากาจมูกบานได้ด้วย
  • อาการจมูกบานจากการออกกำลังกาย เป็นภาวะชั่วคราวที่ถูกกระตุ้นโดยความรู้สึกที่ต้องการอากาศเข้าปอดให้เร็วมากขึ้นจากการออกกำลังกาย อาการจมูกบานประเภทนี้จะทุเลาลงเองภายในไม่กี่นาทีและไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?

หากสังเกตว่าเด็กหรือทารกมีอาการจมูกบานบ่อยครั้ง และเกิดขึ้นเป็นเวลานาน ควรพาพวกเขาไปพบแพทย์ในทันที ส่วนในผู้ใหญ่หากพบอาการจมูกบานร่วมกับริมฝีปาก ผิวหนัง หรือฐานเล็บซีด ก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเช่นกัน เพราะอาการเหล่านี้บ่งชี้ถึงภาวะที่ออกซิเจนในร่างกายไม่เพียงพอ

การรักษาอาการจมูกบาน

อาการจมูกบานมักจะไม่สามารถรักษาได้โดยตรง และไม่สามารถรักษาได้เองที่บ้าน ในขั้นตอนการวินิจฉัย แพทย์จะฟังเสียงปอดและตรวจการหายใจเพื่อดูว่ามีความเกี่ยวข้องกับอาการหายใจหวีดสูงหรือมีเสียงที่ผิดปกติหรือไม่ โดยแพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยเข้ารับการทดสอบดังต่อไปนี้

  • Arterial Blood Gas เพื่อวัดปริมาณออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด
  • Complete Blood Count (CBC) เพื่อตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อ
  • Electrocardiogram (ECG) เพื่อประเมินการทำงานของหัวใจ
  • Pulse Oximetry เพื่อตรวจระดับออกซิเจนในเลือด
  • การเอกซเรย์หน้าอก เพื่อมองหาสัญญาณของการติดเชื้อหรือความเสียหาย

หากมีการวินิจฉัยว่าอาการจมูกบานเกิดจากโรคหอบหืด การรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ แต่ส่วนมากคือการสูดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาการอักเสบและอาการบวมของหลอดลม


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Breathing Problems in Children: Serious Symptoms. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/breathing-problems-in-children-770775)
Nasal flaring as a clinical sign of respiratory acidosis in patients with dyspnea. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28007319)
Nasal Flaring: Causes, Treatments, and When to Seek Help. Healthline. (https://www.healthline.com/health/nasal-flaring)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)