พฤติกรรมการกัดเล็บ และปัญหาเชื้อโรคที่มากับเล็บที่ไม่สะอาด

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
พฤติกรรมการกัดเล็บ และปัญหาเชื้อโรคที่มากับเล็บที่ไม่สะอาด

เสพติดการกัดเล็บ เป็นเรื่องที่หลายคนอาจจะกำลังเผชิญปัญหานี้อยู่ ไม่ว่าพฤติกรรมการกัดเล็บนั้นจะเกิดจากตนเอง หรือคนใกล้ชิดรอบข้าง ลูกหลาน คนในครอบครัว

นิสัยการกัดเล็บสาเหตุแท้จริง อาจเกิดได้จากความเครียด ความกังวลใจบางอย่าง ทำให้ต้องมีการระบายกับสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว อย่างเช่น บริเวณเล็บมือของตนเอง บางรายอาจมีนิสัยชอบกัดเล็บตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งถึงวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ก็ยังไม่สามารถเลิกนิสัยการกัดเล็บดังกล่าวได้ อันเนื่องมาจากการกัดเล็บจนเคยชินเป็นนิสัยไปแล้ว การกัดเล็บทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมาด้วย เช่น ปัญหาเสียบุคลิกภาพ ปัญหาเชื้อโรคที่มากับเล็บที่ไม่สะอาด ปัญหาการถูกเพื่อนล้อเลียนว่ามีนิสัยชอบการกัดเล็บ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีการเลิกกัดเล็บ

  1. หากการกัดเล็บเกิดขึ้นกับเด็ก ผู้ใกล้ชิดอาจจะต้องมองให้ลึกซึ้งถึงต้นตอการความเครียดที่เกิดขึ้นกับเด็กคนนั้นๆ ว่ามีปัญหาอะไรรบกวนจิตใจอยู่หรือเปล่า เช่น พ่อแม่กำลังทะเลาะกัน พ่อแม่กำลังหย่าร้างกัน เป็นต้น จากนั้นค่อยคอยให้กำลังใจหรือบอกเหตุผลให้เด็กเข้าใจปัญหานั้นๆ
  2. อย่าลงโทษหรือดุเด็กที่มีนิสัยการกัดเล็บเด็ดขาด แต่ให้ใช้วิธีการให้รางวัลเมื่อเด็กไม่กัดเล็บ
  3. หาทางออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง อย่าทำตัวหมกอยู่กับบ้าน
  4. ใช้ยาทาเล็บที่มีไว้ใช้เฉพาะการรักษาคนชอบกัดเล็บ เนื่องจากยาทาเล็บดังกล่าวจะไม่ทำให้เกิดอันตรายแต่จะมีรสชาติขมแทน
  5. ทำการจัดฟัน เพราะจะทำให้การกัดเล็บได้อย่างลำบากมากยิ่งขึ้น
  6. ทำการสวมถุงมือเอาไว้ตลอดเวลา ทั้งที่อยู่บ้านและออกไปนอกบ้าน
  7. ทำการห่อเล็บด้วยพลาสเตอร์ปิดแผลพันรอบเล็บเอาไว้ แต่ควรเปลี่ยนพลาสเตอร์ปิดแผลทุก 2-3 วัน
  8. ทำการเลือกเล็บขึ้นมาซักหนึ่งเล็บ ซึ่งเล็บอันนี้จะเป็นเล็บที่เราให้สัญญากับตัวเองว่า จะไม่กัดเล็บอันนี้เลยเด็ดขาด เพื่อเป็นการเปรียบเทียบเห็นความแตกต่างกับเล็บอันอื่นที่ถูกเรากัดว่า หากเราไม่กัดเล็บแล้ว เล็บนั้นๆจะสวยงามเพียงใด เมื่อเริ่มทำได้หนึ่งนิ้วแล้วก็ค่อยเริ่มทยอยทำแบบเดียวกันกับเล็บอื่นๆต่อไปที่ละเล็บ
  9. ใช้หนังยางสวมเอาไว้ที่ข้อมือ ถ้าหากจะเริ่มกัดเล็บก็ให้ทำการดีดหนังยางเข้าที่ข้อมือให้รู้สึกเจ็บ เพื่อเป็นการมีสติอยู่ตลอดเวลา
  10. เคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอมตลอดเวลา เพื่อเป็นการทำให้ปากไม่ว่างไปกัดเล็บ

แต่หากว่ามีนิสัยชอบการกัดเล็บจนถึงขนาดที่ว่า ทำการกัดเล็บอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงมีการกัดบริเวณผิวหนังรอบๆเล็บด้วยแล้วหละก็ จำเป็นต้องไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพราะไม่แน่ว่า คุณอาจกำลังเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำอยู่ก็เป็นได้


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Nail Hygiene | Handwashing | Hygiene | Healthy Water. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/healthywater/hygiene/hand/nail_hygiene.html)
Paronychia: Causes and treatment of an infected nail. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324059)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
12 วิธีในการจัดการความเครียดระหว่างการตั้งครรภ์
12 วิธีในการจัดการความเครียดระหว่างการตั้งครรภ์

เราจะสามารถกลับมาควบคุมชีวิตตัวเองได้อีกครั้ง?

อ่านเพิ่ม
การคลายความเครียดสำหรับเด็ก
การคลายความเครียดสำหรับเด็ก

การคลายความเครียดสำหรับเด็ก : จะทำให้การผ่อนคลายความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเด็กได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม