กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

โรคหลายบุคลิก (Multiple Personality Disorder)

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

โรคหลายบุคลิก หรือ Multiple Personality Disorder ถูกจัดอยู่ในโรคทางจิตเวชประเภท Dissociative identity disorders ตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต 

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลายบุคลิกจะมีสองอัตลักษณ์ หรือมีบุคลิกหรือมากกว่าหนึ่งบุคลิกในคนเดียวกัน ซึ่งบุคลิกเหล่านี้จะเข้าควบคุมพฤติกรรมของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมักจะประสบกับการสูญเสียความทรงจำ เมื่ออีกหนึ่งบุคลิกเข้ามาควบคุม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับโรคหลายบุคลิก

โรคหลายบุคลิกเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก ทำให้ข้อมูลการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้มีน้อยไปด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อโต้แย้งมาอย่างยาวนานในวงการสุขภาพจิตถึงคำถามที่ว่าโรคหลายบุคลิกมีจริงหรือไม่ 

และมีหลักฐานพบว่า บุคคลที่เป็นโรคหลายบุคลิกจะมีความรู้สึกไวต่อการสะกดจิต และความผิดปกติเกี่ยวกับการคล้อยตาม ทำให้ผู้เชี่ยวชาญบางคนแย้งว่า อัตลักษณ์ หรือบุคลิกอีกแบบที่คนเป็นโรคหลายบุคลิกประสบนั้น อาจเป็นผลลัพท์ของการคล้อยตามนี้

ถึงอย่างนั้นผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ ก็ได้แย้งว่า มีบางการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ที่ปฏิเสธข้อโต้แย้งดังกล่าว เช่น การศึกษาที่พิสูจน์ให้เห็นว่า บุคลิกที่แตกต่างของผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกนั้น มีรูปแบบการแสดงออกทางสรีรวิทยาที่ต่างกัน รวมถึงการกระตุ้นสมองหรือการตอบสนองของหลอดเลือดหัวใจที่ต่างกัน    

การศึกษาเหล่านี้ถูกใช้เป็นหลักฐานว่า การมีสองบุคลิกภาพในคนเดียวกันเป็นเรื่องจริง ทว่าการศึกษาเกี่ยวกับโรคหลายบุคลิกนั้นยังมีข้อจำกัด และการวินิจฉัยเองก็ยังมีข้อโต้แย้งอยู่มาก 

เกณฑ์การวินิจฉัยสำหรับโรคหลายบุคลิก

เกณฑ์การวินิจฉัยสำหรับโรคหลายบุคลิกตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต ในการพิมพ์ครั้งที่ 5 ระบุถึงอาการของผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกภาพดังต่อไปนี้

  • มีการแสดงอัตลักษณ์ หรือบุคลิกที่แตกต่างกันตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปอย่างชัดเจน โดยพิจารณาความแตกต่างจากรูปแบบของความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ซึ่งการเกิดขึ้นของบุคลิกเหล่านี้สามารถประเมินได้ด้วยตนเอง หรือเป็นการสังเกตจากนักบำบัดเพื่อการวินิจฉัย
  • เกิดการสูญเสียความทรงจำ (Amnesia) ที่จำกัดว่า บุคคลหนึ่งควรจะจดจำอะไรได้บ้าง ทั้งเรื่องเกี่ยวกับภัยพิบัติ หรือภยันตราย และสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
  • มีความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน
  • อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำตามหลักวัฒนธรรม หรือศาสนา
  • อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ผลลัพท์ของการใช้สารใดๆ เช่น แอลกอฮอล์ ยารักษาโรค หรือสารเสพติด

โรคหลายบุคลิกกับโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง ต่างกันอย่างไร?

ผู้ที่เป็นโรคหลายบุคลิก มักเคยมีประสบการณ์การถูกทารุณกรรมทางร่างกาย และการทารุณกรรมทางเพศอย่างรุนแรงในวัยเด็ก และมักมีอาการคล้ายกับโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder: BPD) รวมถึงมีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง (Self-harming behaviors) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มีพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างรุนแรง และมีปัญหาในการรักษาความสัมพันธ์ให้ยั่งยืน ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนอาจเกี่ยวข้องกับการถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก (Childhood abuse) และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของทั้งโรคหลายบุคลิกและโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง

มีทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับการพัฒนาของโรคหลายบุคลิกได้เสนอว่า บุคคลที่เป็นโรคหลายบุคลิกมักจะเคยประสบกับการได้รับบาดแผลทางจิตใจอย่างรุนแรง 

วิธีเดียวที่จะรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้คือ การแยกบุคลิกภาพบางส่วนออกจากบุคลิกภาพซึ่งเป็นปกติธรรมดาของผู้ป่วยชั่วคราว (Dissociation) ซึ่งเป็นบุคลิกที่เข้มแข็ง เพื่อให้สามารถเผชิญปัญหาได้อย่างเหมาะสม เมื่อเวลาผ่านไปก็จะเรื้อรังและนำไปสู่การสร้างหลายๆ อัตลักษณ์ขึ้นมา 

การแยกบุคลิกภาพบางส่วนออกจากบุคลิกภาพปกติ เป็นอาการของโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งด้วยเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วการแยกบุคลิกที่พบในโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งจะเกิดขึ้นไม่บ่อย หรือไม่รุนแรงเท่าในผู้ป่วยโรคหลายบุคลิก หรือบางคนที่มีอาการของโรคหลายบุคลิกอาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นทั้งสองโรคก็ได้

ผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกอาจประสบกับอาการที่แสดงถึงการมีบาดแผลทางจิตใจอื่นๆ ด้วย เช่น ฝันร้าย เห็นภาพในอดีต หรืออาการอื่นๆ ที่เป็นลักษณะของโรคความผิดปกติหลังเผชิญความเครียดหรือเหตุการณ์สะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder: PTSD)


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dissociative Identity Disorder. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2719457/)
Dissociative Identity Disorder (Multiple Personality Disorder). Psychology Today. (https://www.psychologytoday.com/intl/conditions/dissociative-identity-disorder-multiple-personality-disorder)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
(ขอโพสต์ถามใหม่อีกรอบนะคะ พอดีโพสต์เก่าไม่มีคนตอบ) ไม่ทราบว่าจะสามารถรู้ได้อย่างไรคะว่าเราเป็นโรคหลายบุคลิกรึเปล่า เราเคยถูกวินิจฉัยว่าเป็น BPD ค่ะ แต่เราเกิดความสงสัยว่าตัวเองจะกลายเป็น DID รึเปล่า? เราพยายามสังเกตด้วยตัวเองนะคะ แต่ก็ก...
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)