โรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ (Motor neuron disease)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ (Motor neuron disease)

โรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการหรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นความผิดปกติของเซลล์ประสาทสั่งการภายในสมองและไขสันหลัง ทำให้กล้ามเนื้อสำคัญต่าง ๆ ทั่วร่างกายไม่สามารถทำงานได้เช่นเดิมทั้งการเคลื่อนไหว การกลืน แม้กระทั่งการหายใจ

โรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการจัดเป็นโรคที่พบได้ยากซึ่งทำให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาทเกิดความเสียหายลุกลามไปเรื่อย ๆ นำไปสู่ความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อร่วมกับการสูญเสียการมองเห็น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส (ALS:amyotrophic lateral sclerosis) เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ประสาทชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ภายในสมองและไขสันหลังหลังชื่อว่า เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) เริ่มทำงานอย่างไม่ถูกต้องเกิดภาวะเสื่อมของเซลล์ประสาทขึ้น (neurodegeneration)

เซลล์ประสาทสั่งการนี้ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดสำคัญที่ทำหน้าที่ ดังนี้:

  • การหยิบ จับ
  • การเดิน
  • การพูด
  • การกลืน
  • การหายใจ

เมื่อความผิดปกติของโรคเริ่มลุกลามขึ้น ผู้ป่วยโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการจะรู้สึกว่าการทำกิจกรรมดังกล่าวยากขึ้นเรื่อย ๆ และอาจทำไม่ได้เลยในที่สุด

ยังไม่ทราบเหตุผลแน่ชัดว่าสาเหตุใดทำให้เซลล์ประสาทสั่งการนั้นเริ่มหยุดการทำงาน โดยประมาณ 5% ของผู้ป่วยพบว่ามีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ หรือภาวะอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งชื่อว่า โรคสมองส่วนหน้าและส่วนขมับเสื่อม (frontotemporal dementia) ซึ่งถือเป็นโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการชนิดหนึ่งซึ่งสามารถสืบทอดต่อกันภายในครอบครัว ในกรณีส่วนใหญ่ การกลายพันธุ์ของสารพันธุกรรม หรือยีนที่ผิดปกติมักเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรคนั้นพัฒนาขึ้น

ไม่มีการตรวจเพียงครั้งเดียวที่สามารถวินิจฉัยโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการได้ในทันที และการวินิจฉัยส่วนใหญ่เป็นไปตามความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบประสาทและสมอง หรือที่เรียกว่า แพทย์ประสาทวิทยา การวินิจฉัยโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการนั้นค่อนข้างเด่นชัดและทำได้ง่ายสำหรับแพทย์ประสาทวิทยาที่มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน แต่ในบางครั้งการตรวจหรือทดสอบพิเศษก็จำเป็นต้องนำมาใช้เพื่อตัดสภาวะอื่นๆ ที่มีลักษณะอาการคล้ายคลึงกันออกไปได้

การลุกลามของอาการโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ

อาการของโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการจะเริ่มลุกลามอย่างช้า ๆ โดยใช้เวลาเป็นหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือนโดยมักจะเริ่มเกิดกับร่างกายด้านใดด้านหนึ่งก่อนและค่อย ๆ แย่ลง อาการที่พบบ่อยของโรคดังกล่าว ได้แก่ :

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • กำมือได้ไม่แน่นเท่าเดิม ทำให้หยิบสิ่งของหรือถือสิ่งของได้ยากขึ้นและไม่กระชับ
  • กล้ามเนื้อไหล่อ่อนแรงทำให้ยกแขนได้ยาก
  • ปลายเท้าตก เนื่องจากกล้ามเนื้อข้อเท้าอ่อนแอลง
  • เดินลากขา
  • พูดไม่ชัด (dysarthria)

โดยปกติ โรคนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด

เมื่อความเสียหายเริ่มลุกลามมากขึ้น อาการจะกระจายไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายและทำให้สภาพร่างกายอ่อนแอลง

จนในที่สุด คนที่มีโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการก็อาจไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เองอีกต่อไป  ไม่สามารถพูด ทำการสื่อสาร และแม้กระทั่งการกลืนและการหายใจอาจกลายเป็นเรื่องยากมากสำหรับพวกเขา

ใน 15% ของผู้ป่วยโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการเกิดโรคเกี่ยวข้องกับภาวะสมองเสื่อมซึ่งอาจส่งผลต่อบุคลิกภาพและพฤติกรรมของพวกเขาร่วมด้วย ภาวะนี้เรียกว่าโรคสมองส่วนหน้าและส่วนขมับเสื่อม (frontotemporal dementia) และมักเป็นลักษณะอาการแรกสำหรับโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการอีกด้วย ซึ่งในช่วงแรก ผู้ป่วยแต่ละคนที่ได้รับผลกระทบจากโรคอาจไม่ทราบว่าบุคลิกภาพหรือพฤติกรรมของตนเองนั้นเปลี่ยนไปก็เป็นได้

โรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการเกิดขึ้นกับใครได้บ้าง

โรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการเป็นภาวะที่พบได้ยาก และมีผลกระทบต่อคนประมาณ 2 คนใน 100,000 คนในแต่ละปี

โรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ทุกเพศทุกวัย รวมถึงวัยรุ่นได้ด้วยแม้ว่าจะพบได้ยากกว่ามากก็ตาม โรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี แต่คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้จะเกิดอาการเป็นครั้งแรกในช่วงอายุ 60 ปี และโอกาสเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การรักษาโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ

ขณะนี้ยังไม่มีการรักษาโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการโดยเฉพาะ การรักษาบำบัดต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อ:

  • ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสะดวกสบายขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ชดเชยการสูญเสียของการทำงานของร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหว การสื่อสาร การกลืน และการหายใจ

ตัวอย่างเช่น หน้ากากช่วยหายใจสามารถช่วยเรื่องปัญหาการหายใจและการอ่อนแรงได้ และหลอดให้อาหาร (gastrostomy) ช่วยรักษาระดับโภชนาการและความสะดวกสบายโดยรวมของผู้ป่วย หากจำเป็น ก็สามารถใช้ยาเพื่อช่วยในการควบคุมน้ำลายไม่ให้ไหลมากเกินไป

ยา riluzole นั้นทำให้ภาวะโรค และการรอดชีวิตจากโรคโดยรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ไม่ใช่การรักษาโรคนี้โดยตรงและตัวยาไม่สามารถหยุดยั้งการลุกลามของโรคได้

อัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ

โรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการเป็นความผิดปกติที่ทำให้ช่วงชีวิตสั้นลงอย่างมากสำหรับคนส่วนใหญ่ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 3 ปีนับตั้งแต่เริ่มมีอาการ อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีชีวิตอยู่ได้อีกนานถึง 10 ปีและในน้อยกรณีซึ่งพบได้ยากก็นานกว่านั้น

การมีชีวิตอยู่กับโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการเป็นสิ่งที่ยากและท้าทายมาก และการวินิจฉัยโรคก็อาจเป็นเรื่องที่น่ากลัว อย่างไรก็ตาม ภาวะของโรคที่เกิดขึ้นจริงก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเลวร้ายเท่าที่จินตนาการไว้เสมอไป

ด้วยความช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชนและแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญหลายคนสามารถดูแลปัญหาบางส่วนของโรคได้ และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นกว่าตอนไม่ได้การวินิจฉัย

จุดจบชีวิตของผู้ป่วยโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ ไม่ได้น่ากลัวหรือทุรนทุราย โดยมักเสียชีวิตอย่างสงบภายในบ้านของตัวเอง ในกรณีส่วนใหญ่ คนที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวจะเสียชีวิตในช่วงเวลานอนของพวกเขาเนื่องจากความอ่อนแรงอย่างยิ่งยวดของกล้ามเนื้อหายใจ แม้ว่าบางคนที่มีอาการจะมีปัญหาในการกลืนร่วมด้วยแต่การสำลักอาหารนั้นไม่ใช่สาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้แต่อย่างใด

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/motor-neurone-disease-mnd


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Definition of Motor neuron disease. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=17783)
Motor neuron disease: Types, symptoms, causes, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/164342)
Motor neurone disease. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1742493/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)