หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ภาวะตาบอดครึ่งซีก หมายถึงภาวะที่ตาซ้ายหรือตาขวาสูญเสียการมองเห็นครึ่งหนึ่ง หรือการมองเห็นภาพเพียงครึ่งเดียวในตาทั้งสองข้าง สาเหตุที่พบบ่อย คือ โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง และการบาดเจ็บที่สมอง
โดยปกติสมองซีกซ้ายจะได้รับการมองเห็นจากตาขวา และในทางกลับกัน สมองซีกขวาจะรับการมองเห็นมาจากตาซ้าย ข้อมูลจากเส้นประสาทตาจะนำสัญญาณประสาทข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งของสมองผ่านโครงสร้างในสมองส่วนรูปกากบาทที่เรียกว่า ส่วนไขว้ประสาทตา (Optic Chiasm) เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบนี้เสียหาย จะทำให้สูญเสียการมองเห็นซึ่งอาจเป็นเพียงบางส่วนหรือสูญเสียไปทั้งหมด
ภาวะตาบอดครึ่งซีกสามารถจำแนกได้โดยใช้ส่วนขอบเขตข้อมูลภาพที่ขาดหายไป ได้แก่
- Bitemporal : ภาพครึ่งนอกของดวงตาแต่ละข้างหายไป
- Homonymous : ภาพฝั่งเดียวกันของดวงตาทั้งสองข้างหายไป
- Right homonymous : ภาพฝั่งขวาของดวงตาทั้งสองข้างหายไปเหมือนกัน
- Left homonymous : ภาพฝั่งซ้ายของดวงตาทั้งสองข้างหายไปเหมือนกัน
- Superior : ภาพครึ่งบนของตาทั้งสองข้างหายไป
- Inferior : ภาพครึ่งล่างของตาทั้งสองข้างหายไป
อาการของภาวะตาบอดครึ่งซีก
ภาวะตาบอดครึ่งซีก มักมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้
- การมองเห็นผิดปกติไปจากเดิม
- เดินชนวัตถุบ่อยครั้ง โดยเฉพาะวงกบประตูหรือบุคคลอื่น
- ขับขี่ยานพาหนะลำบาก โดยเฉพาะเมื่อต้องเปลี่ยนเลนหรือการหลีกเลี่ยงวัตถุที่อยู่ด้านข้างถนน
- บ่อยครั้งที่อ่านหนังสืออยู่แล้วหาไม่เจอว่าต้องอ่านต่อตรงไหน หรือมีปัญหาในการหาจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของบรรทัด
- มีปัญหาในการค้นหาสิ่งของ หรือเอื้อมมือไปหาสิ่งของบนโต๊ะแล้วจับไม่ถูกตำแหน่ง หรือใช้เวลานานมากขึ้น
สาเหตุของภาวะตาบอดครึ่งซีก
ภาวะตาบอดครึ่งซีกจะเกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทตาบริเวณส่วนไขว้ประสาทตา หรือสมองที่ทำการประมวลผลภาพจากได้รับความเสียหาย ซึ่งมักเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง และการบาดเจ็บที่ศีรษะ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่พบได้ไม่บ่อย เช่น
- หลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysm)
- การติดเชื้อ
- การสัมผัสกับสารพิษ
- โรคเสื่อมของระบบประสาท
- ความผิดปกติชั่วคราว เช่น อาการชักหรือไมเกรน
การวินิจฉัยภาวะตาบอดครึ่งซีก
ภาวะตาบอดครึ่งซีกสามารถตรวจได้โดยการตรวจสายตา และวัดพื้นที่การมองเห็น ระหว่างการตรวจ แพทย์จะให้ผู้ป่วยมองไปยังจุดเดียวบนหน้าจอในขณะที่มีสัญลักษณ์แสงไฟแสดงที่ด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้าย และด้านขวาของภาพ เพื่อพิจารณาว่าผู้ป่วยสามารถมองเห็นแสงไฟดวงใดได้บ้าง ซึ่งแผนภาพการตรวจดังกล่าวจะช่วยหาได้ว่าขอบเขตข้อมูลภาพของผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายอยู่ตรงไหนบ้าง
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หากส่วนใดส่วนหนึ่งของเขตข้อมูลการมองเห็นของผู้ป่วยบกพร่อง แพทย์จะทำการสแกนสมองด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความเสียหายของสมองที่ควบคุมการมองเห็นหรือไม่
การรักษาภาวะตาบอดครึ่งซีก
การรักษาภาวะตาบอดครึ่งซีกจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดความผิดปกติ ซึ่งสามารถรักษาได้หลายวิธี แต่การมองเห็นจะสามารถฟื้นฟูขึ้นมาได้ถึงระดับใดก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของความเสียหายต่อระบบประสาทตาและสมอง โดยการรักษาที่ได้รับความนิยม ได้แก่
- การบำบัดฟื้นฟูวิสัยทัศน์ (Vision Restoration Therapy (VRT)) : เป็นการกระตุ้นขอบของส่วนการมองเห็นที่หายไปซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปแล้วสมองของผู้ใหญ่นั้นมีความสามารถในการฟื้นฟูตนเองอยู่บ้าง แต่การบำบัดฟื้นฟูวิสัยทัศน์จะทำให้สมองเกิดการเชื่อมต่อใหม่ๆ รอบบริเวณที่เสียหายเพื่อฟื้นฟูการทำงานที่หายไป
- เครื่องช่วยขยายการมองเห็น (Visual Expander Aid) : มีลักษณะเป็นแว่นตาพิเศษซึ่งมีส่วนของปริซึมที่ออกแบบมาให้พอดีกับเลนส์แว่นตา ปริซึมเหล่านี้จะหักเหแสงที่เข้ามาเพื่อให้แสงไปถึงส่วนที่ปกติของตาและมองเห็นได้กว้างขึ้น
- การสแกนบำบัด (Scanning Therapy) : การรักษาด้วยการสแกนบำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ฝึกนิสัยขยับดวงตาเพื่อหันไปมองในส่วนที่ไม่สามารถมองเห็นได้ตามปกติ ด้วยการฝึกดังกลาว ผู้ป่วยภาวะตาบอดครึ่งซีกจะเรียนรู้ที่จะมองภาพได้กว้างขึ้น แม้ขอบเขตการมองเห็นของดวงตาแต่ละดวงนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต
ผู้ป่วยที่มีภาวะตาบอดครึ่งซึกจะต้องฝึกวิธีเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่างเพื่อทำให้ชีวิตประจำวันง่ายและสะดวกขึ้น ได้แก่
- เมื่อมีคนเดินด้วย ให้เดินโดยให้คนอื่นอยู่ในการมองเห็นฝั่งที่มีปัญหา เพื่อป้องกันตัวผู้ป่วยไม่ให้ชนกับวัตถุอื่นที่มองไม่เห็น
- การชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ ให้ผู้ป่วยนั่งหันหน้าเอียงไปทางที่มองไม่เห็นเล็กน้อย เพื่อให้หน้าจอครอบคลุมอยู่ในด้านที่ไม่ได้รับผลกระทบ วิธีนี้จะทำให้สามารถมองเห็นหน้าจอได้ครบถ้วนมากขึ้นกว่าเดิม
- การอ่านหนังสือให้สะดวกขึ้น ให้ผู้ป่วยมองหาคำที่ยาวๆ เพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงระหว่างการอ่าน หรือทำโน้ตย่อเป็นเพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดข้อความ
ที่มาของข้อมูล
Rachel Barclay, What Causes Loss of Vision in One Half of the Visual Field? (https://www.healthline.com/symptom/loss-of-vision-in-one-half-of-the-visual-field), November 8, 2013.