ปาร์ตี้โฟม เป็นกิจกรรมที่สามารถพบได้บ่อยในช่วงเทศกาลงานรื่นเริง โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ แต่คนจำนวนไม่น้อยที่สัมผัสโฟมแล้วเกิดอาการแพ้ปาร์ตี้โฟม
แท้จริงแล้วสิ่งที่ใช้ทำโฟมคืออะไร อาการแพ้ปาร์ตี้โฟมมีแบบไหนบ้าง ควรรักษาเบื้องต้นอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สาเหตุของการแพ้ปาร์ตี้โฟม
สารเคมีที่ใช้เป็นส่วนประกอบในงานปาร์ตี้โฟมส่วนใหญ่ คือ สารลดแรงตึงผิว เช่น สบู่ หรือผงซักฟอก
สารเคมีเหล่านี้มีฤทธิ์ละลายไขมัน หรืออาจมีส่วนประกอบที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองได้
เมื่อสารเคมีสัมผัสกับผิวหนังก็จะชำระล้างครีมทาผิว รวมทั้งแบคทีเรียประจำถิ่นที่ผิวหนังชั้นนอกออก และเข้าไปสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการระคายเคือง หรือเกิดอาการแพ้ได้
อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเกิดกับทุกคน ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของคนคนนั้น และความเข้มข้นของสารเคมีที่มาสัมผัสถูกผิวหนัง
อาการแพ้ปาร์ตี้โฟม
- มีผื่นคัน บวมแดง ไหม้ ผิวแห้งเป็นขุย และลอก
- ปวดแสบร้อน เกิดแผลพุพอง
- เป็นแผลตุ่มหนองจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
วิธีป้องกันการแพ้ปาร์ตี้โฟม
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมี หรือสารลดแรงตึงผิวติดต่อกันเป็นเวลานาน
- หลีกเลี่ยงอากาศร้อน เนื่องจากเหงื่อทำให้ผื่นกำเริบ และคันได้
- หลีกเลี่ยงการเกา เมื่อมีอาการคันบริเวณผิวที่แพ้ปาร์ตี้โฟม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผล และติดเชื้อที่ผิวหนังได้ง่ายขึ้น
- หลีกเลี่ยงการขัดถูแรงๆ ที่ผิวหนัง รวมทั้งสารที่อาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง เช่น ฟองน้ำ
- คุณสามารถตรวจภูมิแพ้เบื้องต้นด้วยการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังด้วยวิธีสะกิด (Skin Prick Test: SPT) เพื่อดูว่าแพ้สารเคมีชนิดใด
วิธีรักษาอาการแพ้ปาร์ตี้โฟม
- ประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวดแสบร้อน บวมแดง บนผิวหนังที่ระคายเคืองจากการแพ้ปาร์ตี้โฟม
- หยุดสัมผัสสารเคมีทุกชนิดที่อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองเพิ่มเติม และไม่เกา หรือขัดถูผิวหนัง
- ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารกักเก็บความชุ่มชื้น (Emollient) ทาผิวทั้งในช่วงที่ผื่นเห่อ และผื่นสงบ เป็นการดูแลผิวขั้นพื้นฐานที่สำคัญมาก เพื่อช่วยให้ชั้นปกป้องผิวที่อ่อนแอแข็งแรงขึ้น ลดการกลับเป็นซ้ำของผื่น
- ใช้ยาแก้แพ้กลุ่มต้านฮิสตามีน (Anti-Histamine) และยาทากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid) เพื่อลดอาการอักเสบ และคัน แต่แนะนำให้ใช้ในช่วงสั้นๆ และในปริมาณที่จำกัด เพื่อลดการเกิดผลเสียในระยะยาว หรือควรอยู่ในความควบคุมของแพทย์
- หากอาการรุนแรงขึ้น ให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพิ่มเติม
อาการแพ้ปาร์ตี้โฟมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับโฟมเหล่านั้นโดยตรง อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นต้องเล่นปาร์ตี้โฟมแล้วเกิดอาการแพ้ ให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาด และไม่เกาผิว เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น
หากคุณลองทำตามวิธีรักษาที่แนะนำไปในเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม
ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android