หญ้าดอกขาว เป็นพืชที่หลายคนคุ้นหน้าคุ้นตาตามริมถนน พื้นที่ร้อนชื้น หรือในป่า เนื่องจากเติบโตได้ง่ายและมีประโยชน์ หลายประเทศจึงนำมาปรุงเป็นอาหาร รวมถึงสกัดเป็นยารักษาอาการต่างๆ
รู้จักหญ้าดอกขาว
หญ้าดอกขาว ชื่อภาษาอังกฤษหรือชื่อสามัญคือ Little ironweed จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับดอกทานตะวัน (Asteraceae) หญ้าดอกขาวยังมีชื่ออื่นๆ ที่นิยมเรียกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ดังนี้
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- ชื่อในภาษาอังกฤษ Vernonia
- ชื่อในภาษาสเปน Machadita
- ชื่อในภาษาฝรั่งเศส Ayapana sauvage
- ชื่อในภาษาจีน Ye xiang niu
- ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Vernonia cinerea (L.) Less.
หญ้าดอกขาวถือเป็นพืชประจำถิ่นขนาดเล็ก อาจจัดเป็นหนึ่งในพืชสมุนไพร ปัจจุบันมีการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์หลากหลายด้าน คนทั่วไปนิยมใช้หญ้าดอกขาวในการชงชา
หญ้าดอกขาวสามารถพบได้หลายประเทศในทวีปเอเชีย เช่น ไทย ศรีลังกา จีน และพื้นที่ที่มีสภาพอากาศเหมาะสม โดยหญ้าดอกขาวจะเจริญเติบโตได้ดีในมรสุมเขตร้อนชื้น แต่อาจพบสายพันธุ์อื่นๆ ของหญ้าดอกขาวในทวีปอเมริกาที่มีสภาพอากาศแห้งได้เช่นกัน
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของหญ้าดอกขาว
หญ้าดอกขาวมีความสูงประมาณ 80-150 เซนติเมตร ลำต้นไม่แตกกิ่ง หรืออาจแตกออกมาเพียงเล็กน้อย ใบของหญ้าดอกขาวมีขนาดแตกต่างกัน
บริเวณด้านบนของลำต้นจะมีใบขนาดเล็ก และด้านล่างของลำต้นจะมีใบขนาดใหญ่ ความยาวตั้งแต่ 1.5-5 เซนติเมตร ไล่ลงมาเรื่อยๆ ตามลำดับ
ดอกของหญ้าดอกขาวจะขึ้นบริเวณยอด มีสีม่วง ด้านในอาจมีสีขาว ทั้งดอกมีความยาวเพียง 2.5-3 มิลลิเมตร จำนวนตั้งแต่ 5-15 ดอก รูปทรงโดยรวมคล้ายกับโคมไฟห้อยเพดานขนาดใหญ่
สรรพคุณของหญ้าดอกขาว
หญ้าดอกขาวมีสารสำคัญที่มีประโยชน์คือ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งเป็นสารที่มักพบในพืชผักผลไม้ ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญ ทำให้หญ้าดอกขาวมีสรรพคุณในการรักษาและบำรุงร่างกายมากมาย ดังนี้
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- ช่วยลดความผิดปกติระหว่างมีประจำเดือนของผู้หญิง รักษาสมดุลภายในช่องคลอด
- ช่วยลดความอยากบุหรี่ ชาหญ้าดอกขาวมีสารกลุ่มไกลโคไซด์ (Glycoside) ทำให้ลิ้นชาและไม่อยากสูบบุหรี่ หากดื่มชาหญ้าดอกขาวติดต่อกันเป็นเวลานานร่วมกับการงดสูบบุหรี่ จะสามารถทำให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น
- ช่วยรักษาสมดุลของระบบเลือดในร่างกาย สารคาร์ดิแอก ไกลโคไซด์ (Cardiac glycoside) ในหญ้าดอกขาวมีส่วนช่วยในระบบไหลเวียนโลหิตและกล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงบรรเทาอาการต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากเลือด เช่น อาการผิดปกติทางผิวหนัง โรคมาลาเรียซึ่งเกิดจากการติดเชื้อในเซลล์เม็ดเลือดแดง
- ช่วยรักษาอาการท้องเสีย หญ้าดอกขาวมีสารแอนทราควิโนน ไกลโคไซด์ (Anthraquinone glycoside) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ทำให้รักษาอาการท้องเสียได้ แต่ก็เป็นยาระบายอ่อนๆ เช่นกัน จึงอาจมีผลกระตุ้นการขับถ่าย
- ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า หญ้าดอกขาวมีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ซึ่งมีส่วนสำคัญในการยับยั้งอนุมูลอิสระที่เกิดจากการเผาผลาญในร่างกาย รวมถึงการรับสารพิษจากภายนอก เช่น บุหรี่ ควันพิษ อาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ดังนั้นหญ้าดอกขาวจึงอาจมีส่วนในการช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดได้
- อาจมีส่วนช่วยในการรักษามะเร็ง สถาบันไวรัสวิทยามนุษย์ มหาวิทยาลัยแพทย์แมริแลนด์ (Institute of Human Virology at The University of Maryland School of Medicine) พบว่า มีความเป็นไปได้ที่สารสกัดจากหญ้าดอกขาวจะมีส่วนช่วยในการรักษามะเร็ง แต่ยังคงอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัย
วิธีใช้ประโยชน์จากหญ้าดอกขาว
หญ้าดอกขาว เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมใช้รักษาอาการต่างๆ กันมายาวนาน โดยมีวิธนำมาใช้หลายวิธี ดังนี้
- ราก สามารถนำมาต้มเป็นยาลดไข้ บำรุงร่างกายผู้หญิงระหว่างเป็นประจำเดือน
- ใบ มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อ ในอดีต ประเทศอินเดียนำมาใช้รักษาอาการตาแดง และความผิดปกติของปัสสาวะ ประเทศฟิลิปปินส์เคยใช้ใบหญ้าดอกขาวชงเป็นยาแก้ไอ หรือพอกบริเวณผิวหนังที่เกิดอาการผิดปกติ ในประเทศไทยเองก็เคยใช้ใบในการรักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ
- หน่ออ่อน สามารถนำมาปรุงอาหารร่วมกับผักอื่นๆ ได้
- ดอก สามารถนำมาดอกแบบอบแห้งมาชงเป็นชาร้อน มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันเซลล์ที่เสียหายจากอนุมูลอิสระในร่างกาย
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีวิธีในการนำหญ้าดอกขาวมาใช้หลายวิธี แต่ควรระมัดระวังเรื่องความสะอาดและอยู่ภายใต้คำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้
ข้อควรระวังในการรับประทานหญ้าดอกขาว
- หญ้าดอกขาวอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ดังนั้นหากสังเกตเห็นอาการผิดปกติ เช่น เป็นผื่นตามผิวหนัง ควรหยุดใช้หญ้าดอกขาว และไปพบแพทย์ทันที
- อาหารเสริมที่เป็นสารสกัดจากหญ้าดอกขาวอาจมีผลกระทบกับการดูดซึมยาบางชนิด ดังนั้นหากมีโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารเสริมจากหญ้าดอกขาว
- หญิงมีครรภ์ไม่ควรใช้หญ้าดอกขาวเพราะจะทำให้แท้ง หรือคลอดบุตรก่อนกำหนดได้
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไต และ เนื่องจากยาหญ้าดอกขาวมีโพแทสเซียมสูง จะมีผลทำให้ electrolite ในร่างกายผิดปกติ
- ในการใช้หญ้าดอกขาวเพื่อลดความอยากบุหรี่อาจทำให้มีอาการที่ไม่พึงประสงค์ คือ ปากแห้ง คอแห้ง คลื่นไส้ ชาลิ้น รับประทานอาหารไม่อร่อย
จะเห็นได้ว่า หญ้าดอกขาวนั้นมีทั้งข้อดีและข้อควรระวัง ดังนั้นก่อนจะหามารัลประทานเพื่อเป็นยาระบาย หรือใช้เป็นยาทาผิวหนังภายนอก ควรเลือกเฉพาะยาที่น่าเชื่อถือ และได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android