ช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อ (Joint range of motion) หมายถึง ระยะทางและทิศทางที่ข้อสามารถเคลื่อนไหวได้ โดยมีการกำหนดไว้ว่าข้อแต่ละข้อจะมีช่วงการเคลื่อนไหวปกติอยู่ที่เท่าใด เช่น ข้อเข่าควรงอได้ 130 องศา และสามารถยืดเหยียดตรงได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เมื่อข้อต่อแต่ละข้อมีความสามารถในการเคลื่อนไหว หรือมีช่วงการเคลื่อนไหวลดลง จะเรียกว่าการเคลื่อนไหวได้จำกัดของข้อ (Limited range of motion) ปกติแล้วช่วงการเคลื่อนไหวของข้อจะค่อยๆ ลดลงตามธรรมชาติเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่บางครั้งก็อาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ ได้เช่นกัน
สาเหตุของการเคลื่อนไหวได้จำกัดของข้อ
การเคลื่อนไหวได้จำกัดของข้อ มักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด (Ankylosing Spondylitis) : เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลังเป็นหลัก
- โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) : เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสึกหรอของข้อต่อ สามารถพบได้บ่อย เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มมากขึ้น
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis (RA)) : เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายไปทำลายข้อต่อ
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก (Juvenile RA) : เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดหนึ่งที่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 16 ปี
- โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy) : เป็นกลุ่มของความผิดปกติทางระบบประสาทที่ทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตและสูญเสียการควบคุมร่างกาย
- โรคหัวกระดูกต้นขาแบน (Legg-Calve-Perthes Disease) : เป็นความผิดปกติที่ทำให้กระดูกต้นขาตายเนื่องจากการขาดเลือดไหลเวียนที่ข้อต่อ
- กล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular dystrophy) : ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ภาวะ Volkmann’s contracture : การขาดเลือดไปเลี้ยงที่บริเวณปลายแขน ทำให้กล้ามเนื้อแขนสั้นลง
- ภาวะคอบิดแต่กำเนิด (Congenital Form of Torticollis)
- การติดเชื้อซิฟิลิส (Syphilis)
- การติดเชื้อของข้อสะโพกและข้ออื่นๆ
- การอักเสบของเนื้อเยื่ออ่อนรอบๆ ข้อ หรือข้อบวม
- กระดูกหักที่บริเวณอื่นๆ ของร่างกาย
- ข้อหลุด
การวินิจฉัยการเคลื่อนไหวได้จำกัดของข้อ
เมื่อพบว่าข้อต่อไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ รวมถึงไม่สามารถยืดและงอข้อต่อใดๆ ได้ ให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ประเมินการทำงานของข้อ กล้ามเนื้อ และระบบประสาท โดยการตรวจร่างกายและถ่ายภาพรังสีเพื่อพิจารณาโครงสร้างของกระดูกและข้อต่อที่เกิดความผิดปกติขึ้น
การป้องกันการเคลื่อนไหวได้จำกัดของข้อ
การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อจะช่วยป้องกันการเกิดปัญหานี้ได้ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
- การออกกำลังกายแบบ Active Exercise : การออกกำลังกายโดยไม่มีบุคคลอื่นช่วยเหลือ
- การออกกำลังกายแบบ Active Assistive Exercises : การออกกำลังกายที่ต้องอาศัยความพยายามของตนเองและของบุคคลอื่น (มักจะเป็นนักกายภาพบำบัด) การออกกำลังกายประเภทนี้จะมีประโยชน์ในกรณีที่มีอาการปวดขณะงอหรือยืดเหยียดข้อต่อ
- การออกกำลังกายแบบ Passive Exercises : การออกกำลังกายที่ต้องอาศัยความพยายามของนักกายภาพบำบัดหรือผู้อื่น หากผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง จะต้องออกกำลังกายด้วยวิธีนี้
แม้การออกกำลังกายแบบ Active จะสามารถทำด้วยตัวเองที่บ้านได้ แต่ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกายเสมอ และหมั่นจัดสรีระของร่างกายให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย
ที่มาของข้อมูล
Krista O'Connell, What Causes Limited Range of Motion? (https://www.healthline.com/symptom/limited-range-of-motion), March 10, 2016.