อาการปวดขา

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการปวดขา

อาการปวดขาของคุณนั้นน่ากังวลหรือไม่?

การจะบอกว่าอาการปวดขานั้นน่ากังวลหรือไม่ก็ขึ้นบริบทรอบข้าง เช่นถ้าหากมีอาการปวดขาทันทีหลังจากลงเครื่องบิน ควรไปโรงพยาบาลทันทีเพราะอาจจะเกิดจากที่มีลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำ ในขณะที่อาการปวดขาที่พบได้บ่อยทั่วไปนั้นก็สามารถรักษาได้ง่ายๆ ด้วยการประคบเย็นหรือทานยาแก้อักเสบ แต่ก็มีเพียงแพทย์ที่สามารถให้การวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นหากคุณพยายามรักษาตัวเองที่บ้านแล้วไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างอาการปวดขาที่อาจจะช่วยทำให้คุณเข้าใจอาการของคุณมากขึ้น

เจ็บหน้าแข้ง

หากคุณเจ็บที่บริเวณด้านหน้าของหน้าแข้ง มักจะเกิดจากการใช้งานที่มากเกินไปโดยเฉพาะในผู้ที่เพิ่งเริ่มหรือเพิ่มการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ อย่างรวดเร็ว เช่นในผู้ที่เริ่มวิ่งระยะทาง 2 กิโลเมตรทันทีในครั้งแรกเป็นต้น เนื่องจากร่างกายนั้นไม่พร้อมสำหรับการทำกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นมากขนาดนั้น หากคุณมีอาการนี้ให้พักการใช้ยา ใช้น้ำแข็งประคบเพื่อลดบวมและรับประทานยาแก้อักเสบ เพื่อให้มั่นใจว่าอาการนี้จะไม่ได้ทำให้เกิดกระดูกหักจากความเครียดที่เพิ่มมากขึ้น คุณอาจจะพยายามรักษาระดับวิตามินดีให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตะคริว

การเป็นตะคริวที่ขามักจะไม่ได้หายทันทีและมักจะมีอาการอย่างน้อยช่วงนี้ ตะคริวอาจเกิดจากการขาดน้ำ หรือในบางครั้งการเดินมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อยก็อาจจะกระตุ้นให้เกิดตะคริวได้ โดยปกติตะคริวมักจะมีอาการนานหลายวินาทีถึงหลายนาที และสามารถหายได้จากการประคบร้อน พักขา และยืดกล้ามเนื้อ แต่คุณจำเป็นต้องแยกตะคริวออกจากอาการปวดที่เกิดจากลิ่มเลือดอุดตันที่เส้นเลือดดำ ซึ่งมักจะมีอาการปวดเรื้อรังในระดับที่ลึกลงไปร่วมกับอาการบวม ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

ปวดเข่า

หากคุณปวดเข่าเพิ่มขึ้นเวลาขยับข้อหรือกดที่ข้อ หรือข้อมีอาการบวมหรือแดง คุณอาจจะมีการอักเสบเกิดขึ้นที่ถุงน้ำในข้อเข่า วิธีรักษาให้พักการใช้งาน ประคบเย็น และใช้ยาแก้ปวดหากต้องการ และหากคุณต้องย่อเข่าซ้ำๆ หรือเข่าต้องสัมผัสกับพื้นแข็ง ควรใส่ที่ช่วยพยุงเข่า หากอาการปวดและบวมไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงควรไปพบแพทย์

Sciatica ปวดแปล๊บหลังขา

Sciatica เป็นอาการปวดแปล๊บที่ร้าวลงตามด้านหลังของขาซึ่งอาจเกิดจากการที่เส้นประสาท Sciatic ซึ่งวิ่งจากหลังส่วนล่าง ผ่านก้นเข้าสู่ขานั้นถูกกดทับ ภาวะนี้มักพบในผู้ชายที่ใส่กระเป๋าเงินที่หนักไว้ที่กระเป๋าด้านหลังของกางเกง วิธีแก้คือการลดแรงกดทับที่กระทำต่อเส้นประสาท (เช่นทำให้กระเป๋าเงินนั้นเบาลง) และอาการปวดนั้นมักจะดีขึ้น

การบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวาย

อาการปวดที่เหนือต่อส้นเท้านั้นมักจะเป็นอาการที่แสดงถึงการบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวาย ซึ่งมักเกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูงหรือใช้งานมากโดยเฉพาะในผู้ที่มีเท้าแบน อย่าละเลยอาการปวดนี้และยังคงวิ่ง เดินเร็ว หรือออกกำลังกายอื่นๆ ต่อไป เพราะคุณอาจทำให้เส้นเอ็นขาดซึ่งอาจจะต้องใช้การผ่าตัดในการรักษา

อาการปวดขาในเด็ก

เด็กมักจะตื่นจากการที่มีตะคริวที่ขาอย่างรุนแรงและปวดขา อาการดังกล่าวนั้นอาจเกิดจากการที่กระดูกของเด็กนั้นมีการเจริญเติบโต และทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นนั้นถูกยืด ทำให้เกิดอาการปวดบนตำแหน่งที่ติดกับกระดูก การประคบเย็น ใช้ยาแก้ปวดและยืดกล้ามเนื้อสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดอาการนี้ได้

ปวดต้นขา

คนงานก่อสร้าง ตำรวจ และอาชีพอื่นๆ ที่ต้องใส่เข็มขัดหนักๆ นั้นมักจะพบว่ามีอาการปวดที่ต้นขา ซึ่งเกิดจากการที่เข็มขัดนั้นทำให้กดทับเส้นประสาทที่อยู่รอบสะโพก อาการปวดนั้นอาจจะร้าวมาตามต้นขาได้ ทางแก้ในระยะยาวก็คือการลดน้ำหนักของเข็มขัดที่ใส่เพื่อลดการกดทับที่กระทำต่อเส้นประสาท


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
med.mahidol, ปวด และ เมื่อย เกิดจากอะไร (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/old/index.php/knowforhealth-20140916-6/)
ผศ.พญ.โสมรัชช์ วิไลยุค, ปวดขาช่วงเวลากลางคืนในเด็ก (http://www.thaipediatrics.org/attchfile/child14.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป