วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

ตรวจไตสำคัญอย่างไร อ่านค่าอย่างไร ควรตรวจอะไรบ้าง

รวมข้อมูลการตรวจไต อวัยวะไตสำคัญอย่างไร อ่านค่าไตอย่างไร รายการตรวจไตส่วนมากมีอะไรบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 2 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ตรวจไตสำคัญอย่างไร อ่านค่าอย่างไร ควรตรวจอะไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไต เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดง ทำหน้าที่กำจัดของเสีย ควบคุมการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย รวมถึงรักษาสมดุลของระดับน้ำและเกลือแร่ต่างๆ ในร่างกาย
  • ค่าไตที่ทุกคนควรรู้จักแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ ค่า BUN (ค่าไนโตรเจนของสารยูเรียในกระแสเลือด) ค่าสาร Creatinine และค่าอัตราการกรองของเสียของไต
  • หากไตไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ของเสียจะคั่งค้างอยู่ในร่างกาย ส่งผลทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับไตตามมา เช่น โรคไตวายเฉียบพลัน โรคไตอักเสบ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • รายละเอียดการตรวจไตโดยหลักๆ คือ การตรวจความสมบูรณ์ของเกลือแร่ การตรวจอัลตราซาวด์ไต การส่งตรวจชิ้นเนื้อไต การตรวจค่า BUN การตรวจค่า Creatinine การตรวจโปรตีนในปัสสาวะ การตรวจระดับกรดยูริก 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจไต

ไตเป็นอีกอวัยวะสำคัญที่ร่างกายขาดไม่ได้ เพราะไตมีบทบาทสำคัญในการกำจัดของเสียจากร่างกาย ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญสารอาหารที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละวัน รวมถึงช่วยรักษาสมดุลของสารน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย

หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า โรคไตมีสาเหตุมาจากการรับของเสีย หรือสารพิษเข้าร่างกายเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว โรคไตมีปัจจัยการเกิดได้หลายอย่าง ทั้งจากพันธุกรรม พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม การดื่มน้ำน้อย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การรับประทานโซเดียมมากเกินไป การนอนดึกตื่นเช้า โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงการรับประทานยา หรือสมุนไพรซ้ำๆ ในปริมาณมากเป็นเวลาต่อเนื่อง

โรคไตเป็นโรคที่มีแต่ผลเสีย เสียทั้งเวลา เสียค่าใช้จ่ายมหาศาล และเจ็บตัว ยิ่งหากโรคไตอยู่ในระยะรุนแรงจนไตหมดประสิทธิภาพในการกรองของเสีย คุณก็ต้องฟอกไต หรือล้างไต หรืออาจต้องปลูกถ่ายไตใหม่ 

ดังนั้นการดูแลรักษาไตและเข้ารับการตรวจไตเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพ จึงเป็นอีกแผนการดูแลสุขภาพที่ผู้มีความเสี่ยงทุกคนไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง

ความหมายของไต

ไต (Kidney) เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดง ความสูงประมาณ 4-5 นิ้ว มีอยู่ 2 ชิ้น โดยแต่ไตแต่ละข้างจะตั้งอยู่ขนานกับกระดูกไขสันหลังช่วงเอว ติดกับผนังลำตัวของแผ่นหลัง

หน้าที่สำคัญของไต คือ กำจัดของเสีย ควบคุมการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง รักษาสมดุลของสารเกลือแร่ รวมถึงปรับความเข้มของปัสสาวะไม่ให้ข้นเกินไป

ลำดับการทำงานโดยหลักๆ ของไตคือ เมื่อเลือดไหลเวียนเข้ามาในไต ไตก็จะกรองแยกเอาสารส่วนเกิน ของเสีย แร่ธาตุ เกลือแร่ และน้ำออกมา หลังจากนั้นเลือดที่แยกสารออกมาแล้วก็จะไหลกลับออกไปหล่อเลี้ยงร่างกายต่อ ส่วนสารที่ไตแยกเอาไว้ก็จะถูกขับออกไปในรูปของปัสสาวะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจค่าไตโดยการเจาะเลือด

หลายคนอาจไม่รู้จักว่า ค่าที่บ่งบอกการทำงานของไต แบ่งออกได้หลักๆ 3 ส่วน ได้แก่

1. ค่า BUN

ค่า BUN (บียูเอ็น) เรียกอีกอย่างว่า “ค่าไนโตรเจนของสารยูเรียในกระแสเลือด (Blood Urea Nitrogen)”

สารยูเรียคือ สารประกอบในของเสียซึ่งสังเคราะห์มาจากสารแอมโมเนีย และเตรียมจะถูกขับออกจากร่างกายในรูปของปัสสาวะ โดยสารแอมโมเนียจะมาจากการสังเคราะห์ของโปรตีนที่เรารับประทานเข้าไป

โดยปกติสารยูเรียจะไม่ตกค้างในกระแสเลือดมาก หากไตยังสามารถขับของเสียออกไปจากร่างกายได้ดี แต่เมื่อไตเริ่มทำงานบกพร่อง สารยูเรียก็จะเริ่มตกค้างในกระแสเลือด และทำให้ค่าบียูเอ็นสูงขึ้น

ค่าบียูเอ็นที่อยู่ในเกณฑ์ปกติของเด็กจะอยู่ที่ 5-18 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ส่วนผู้ใหญ่ จะอยู่ที่ประมาณ 10-20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

2. ค่า Creatinine

ค่าสาร Creatinine (ครีเอตินิน) หรือชื่อเต็มว่า “Serum creatinine" เป็นค่าสารของเสียในร่างกายซึ่งมาจากการเผาผลาญพลังงานของกล้ามเนื้อที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อคุณเคลื่อนไหวร่างกาย ยืด หรือหดกล้ามเนื้อ สารนี้ก็จะหลั่งออกมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เมื่อแพทย์ตรวจได้ค่าสารครีเอตินิน ก็จะนำไปคำนวณหาอัตราการกรองของเสียของไต (Estimated Glomerular Filtration Rate: eGFR) ต่อไป

หากค่าอัตราการกรองออกมาสูงแสดงว่า ไตมีประสิทธิภาพในการทำงานได้ดี โดยตัวเลขของค่าสารครีเอตินินซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติคือ

  • เพศชายอายุ 4-20 ปี จะอยู่ที่ 0.2-1.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • เพศชายอายุ 21 ปีขึ้นไป จะอยู่ที่ 0.7-1.3 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • เพศหญิงอายุ 4-20 ปี จะอยู่ที่ 0.2-1.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • เพศหญิงอายุ 21 ปีขึ้นไป จะอยู่ที่ 0.6-1.1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

ค่าอัตราการกรองของเสียของไต จะขึ้นอยู่กับอยู่กับอายุ เพศ และน้ำหนักของผู้เข้ารับการตรวจ แต่ตัวเลขที่อยู่ในเกณฑ์ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 120-130 มิลลิลิตรต่อนาที ซึ่งโดยปกติยิ่งอายุมากขึ้น ค่าตัวเลขนี้ก็จะยิ่งลดลงตามความเสื่อมของอวัยวะ

3. ค่าอัตราการกรองของเสียของไต

ก่อนหน้านี้แพทย์มักใช้ค่าครีเอตินินกับค่าบียูเอ็นในการตรวจสุขภาพไต แต่ปัจจุบันนิยมเปลี่ยนมาใช้ค่าอัตราการกรองของเสียของไต หรือค่า eGFR (จีเอฟอาร์) ในการประเมินประสิทธิภาพของไตและความเสี่ยงในการเป็นโรคไต

ทั้งนี้ค่า eGFR นี้ได้มาจากการคำนวณ

เราสามารถกำหนดระยะความผิดปกติของโรคไตได้ดังนี้

  1. ระยะที่ 1 ค่า eGFR น้อยกว่า 90 มิลลิลิตรต่อนาที (ml/min) ถือเป็นระยะที่ไตเริ่มทำงานหนัก และพร่องประสิทธิภาพลง แต่ยังไม่นับเป็นโรคไต

  2. ระยะที่ 2 ค่า eGFR ประมาณ 60-89 มิลลิลิตรต่อนาที เป็นระยะที่เข้าสู่การเป็นโรคไต แต่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น

  3. ระยะที่ 3 ค่า eGFR ประมาณ 30-59 มิลลิตรต่อนาที เป็นระยะที่ระบบข้างในไตเริ่มทำงานบกพร่อง ผู้ป่วยอาจเริ่มมีอาการเจ็บหลัง ปัสสาวะได้น้อยกว่าปกติ มือ และเท้าเริ่มบวม ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น เป็นโรคโลหิตจาง

    โรคไตระยะที่ 3 แบ่งได้ 2 แบบ ได้แก่ ระยะ 3A ค่า eGFR จะอยู่ที่ 45-59 มิลลิลิตรต่อนาที ระยะ 3B ค่า eGFR จะอยู่ที่ 30-44 มิลลิลิตรต่อนาที

  4. ระยะที่ 4 ค่า eGFR ประมาณ 15-29 มิลลิลิตรต่อนาที เป็นระยะที่ไตเริ่มเสียหายอย่างหนัก ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน และอาจมีภาวะแทรกซ้อน อื่นๆ เช่นเดียวกับระยะที่ 3

  5. ระยะที่ 5 ค่า eGFR ประมาณน้อยกว่า 15 มิลลิลิตรต่อนาที เป็นระยะที่ไตใกล้วาย ซึ่งถือเป็นระยะสุดท้ายของโรคไต ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บป่วยหลายอย่าง เช่น หายใจลำบาก เบื่ออาหาร เป็นตะคริวบ่อย ปวดหลัง ปัสสาวะได้น้อย นอนหลับไม่สนิท

ความหมายของโรคไต

โรคไต (Kidney Disease) คือ โรคที่เกิดจากอวัยวะไตไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้ระบบกรองของเสียในร่างกาย รวมถึงส่วนประกอบภายในไตเกิดความผิดปกติ โรคไตมีหลายประเภท เช่น

  • โรคไตวายเฉียบพลัน
  • โรคไตวายเรื้อรัง
  • โรคไตอักเสบจากการติดเชื้อ
  • โรคนิ่วในไต

หากเป็นโรคไตแล้วไม่รีบรักษา ของเสียในร่างกายก็จะคั่งค้างอยู่ในร่างกาย ทำให้สมดุลของเกลือแร่และน้ำในร่างกายเสียไปด้วย ความผิดปกติดังกล่าวอาจส่งผลทำให้เกิดอาการร้ายแรงตามมา เช่น อาการบวมที่ใบหน้า ขา เท้า ปัสสาวะเป็นเลือด ความดันโลหิตสูง ผิวคล้ำลงกว่าเดิม ไม่มีแรง

เมื่อเนื้อไตส่วนที่เสียหายเริ่มเสื่อมมากขึ้น เนื้อไตก็จะเริ่มฝ่อเล็กลง ไม่สามารถกรองแยกของเสีย หรือสารสำคัญในร่างกายได้อีกต่อไป และทำให้ไตวายไม่สามารถใช้งานได้อีกจนสุดท้ายก็อาจจบลงด้วยอาการไตวายเฉียบพลันและเสียชีวิตลงในที่สุด

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไต

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไต โดยหลักๆ ได้แก่

  • อายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี เรียกว่า “ไตเสื่อมสภาพตามวัย”
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไตมาก่อน
  • ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนเข้าไปในไตน้อย
  • ไตได้รับความเสียหาย หรือได้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
  • ปัสสาวะไหลย้อนเข้าไปในไต
  • มีภาวะขาดน้ำ (Dehydrated)
  • เกิดภาวะติดเชื้อ หรือเลือดเป็นพิษ (Sepsis)
  • เป็นโรคต่อมลูกหมากโต (Enlarged Prostate)
  • การรับประทานยาชนิดเดิมๆ ยาสมุนไพรที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือรับเอาสารพิษบางอย่างเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง จนสารเข้าไปทำลายเนื้อไต
  • มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง (Eclampsia) ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)
  • เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune diseases)
  • เป็นโรคเบาหวานที่อยู่ในระดับรุนแรง น้ำตาลในเลือดสูง
  • เป็นโรคนิ่วในไต
  • เป็นโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรัง

อาการโรคไต

นอกจากอาการของโรคไตที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ผู้ป่วยโรคไตยังมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นได้อีก เช่น ไม่มีสมาธิ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน เป็นภาวะคั่งน้ำ ผิวแห้ง ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน สมรรถภาพทางเพศลดลง

รายละเอียดการตรวจไต

รายการตรวจในแพ็กเกจตรวจสุขภาพไตในหลายๆ โรงพยาบาลจะมีดังต่อไปนี้

  • วัดน้ำหนัก ส่วนสูง และชีพจร
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเกลือแร่
  • ตรวจแคลเซียมในเลือด
  • ตรวจไขมันในเลือด
  • ตรวจอัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ไต
  • ส่งตรวจชิ้นเนื้อไต (Kidney biopsy) ผ่านการใส่ท่อซึ่งเป็นเข็มเล็กๆ เข้าไปในเอว แล้วเจาะไปที่อวัยวะไต เพื่อนำตัวอย่างชิ้นเนื้อออกมาตรวจ
  • ตรวจค่าครีเอตินิน (Creatinine)
  • ตรวจค่าบียูเอ็น (BUN)
  • ตรวจปัสสาวะ
  • ตรวจโปรตีนในปัสสาวะ
  • ตรวจระดับกรดยูริก

ค่าใช้จ่ายในการตรวจไตจะอยู่ที่ประมาณ 790-4,000 บาท ขึ้นอยู่กับรายละเอียดและจำนวนรายการตรวจ รวมถึงค่าบริการของโรงพยาบาลรัฐบาล หรือเอกชน

ความผิดปกติของไตที่ไม่ได้รับการรักษาทันเวลา อาจทำให้ไตเสียหายหนักจนถึงขั้นต้องฟอกไต ปลูกถ่ายไตใหม่ หรืออาจจบลงที่ไตวายเฉียบพลันและเสียชีวิตลง

โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคเรื้อรังอย่างโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และต้องควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยเอาไว้ กลุ่มนี้ควรเข้ารับการตรวจโรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคอื่นๆ ที่เสี่ยงเป็นประจำ

ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียอวัยวะ หรือชีวิต ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคไต หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ ควรเข้ารับการตรวจไต เพื่อจะได้ทราบประสิทธิภาพของอวัยวะส่วนนี้ว่า ยังสามารถทำงานได้ปกติหรือไม่

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจไต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฟอกไตเจ็บไหม ระยะไหน เตรียมตัวอย่างไร อ่านที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/kidney-dialysis).
ตรวจไต ต้องอดอาหารไหม ตรวจยังไง อ่านผลยังไง? , (https://hdmall.co.th/c/kidney-screening).
Gounden V, Bhatt H, Jialal I, Renal Function Tests. [Updated 2020 Jul 20], In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2020 Jan ( https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK507821/), 12 September 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักเนยหลากชนิดพร้อมประโยชน์ต่อสุขภาพ
รู้จักเนยหลากชนิดพร้อมประโยชน์ต่อสุขภาพ

รวมประโยชน์ของเนยที่ดีสุขภาพ มาดูกันว่ามีอะไรบ้างนอกจากความหอมอร่อย

อ่านเพิ่ม
มาการีนคืออะไร แตกต่างจากเนยแท้ยังไง
มาการีนคืออะไร แตกต่างจากเนยแท้ยังไง

วิธีการใช้และปริมาณแคลอรีของมาการีนหรือเนยเทียม พร้อมไขคำตอบ มาการีนมีประโยชน์หรือไม่?

อ่านเพิ่ม
องุ่น ผลไม้ที่ให้ประโยชน์มากกว่ารสหวาน
องุ่น ผลไม้ที่ให้ประโยชน์มากกว่ารสหวาน

รวมข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหาร ประโยชน์ขององุ่น รับประทานยังไงให้ดีต่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม