ทีมนักกำหนดอาหารวิชาชีพ HD
เขียนโดย
ทีมนักกำหนดอาหารวิชาชีพ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

เครื่องดื่มชูกำลังคืออะไร ช่วยบำรุงสุขภาพได้จริงหรือ?

เครื่องดื่มชูกำลัง มีส่วนผสมสำคัญคือคาเฟอีน ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า แต่อาจส่งผลเสียต่อเด็ก สตรีมีครรภ์ได้
เผยแพร่ครั้งแรก 3 เม.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เครื่องดื่มชูกำลังคืออะไร ช่วยบำรุงสุขภาพได้จริงหรือ?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เครื่องดื่มชูกำลังมักประกอบไปด้วยสารสกัดจากกัวรานา น้ำตาล คาเฟอีน กรดอะมิโน ทอรีน และวิตามิน สามารถกระตุ้นการทำงานของสมองและร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงฟื้นฟูจากความเหนื่อยล้าในระยะสั้น
  • ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นหากดื่มมากเกินไปอาจทำให้นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูงขึ้น เป็นเบาหวาน และอาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจได้
  • ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเกินวันละ 450 มิลลิลิตร ส่วนเด็ก วัยรุ่น สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตรไม่ควรดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเลยเพราะอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของสมองได้
  • หากดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมาเป็นเวลานาน ควรเข้ารับการตรวจเบาหวานเป็นระยะ เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสมอยู่เสมอ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจเบาหวาน 

หลายคนเชื่อว่า เครื่องดื่มชูกำลังคือ เครื่องดื่มสำหรับเสริมสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย มีสรรพคุณเพิ่มความทนทานในการทำกิจกรรมต่างๆ และช่วยให้มีสมาธิดีขึ้น 

เนื่องจากเครื่องดื่มชนิดนี้มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสมหลักและอาจประกอบด้วยสารสกัดจากกัวรานา กรดอะมิโน ทอรีน น้ำตาล และวิตามิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่รู้หรือไม่ว่า เครื่องดื่มชนิดนี้ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ และอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้เช่นกัน

เครื่องดื่มชูกำลัง คืออะไร?

เครื่องดื่มชูกำลังคือ เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า และมีแรงทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น เครื่องดื่มชูกำลังส่วนมากประกอบด้วยคาเฟอีน น้ำตาล กรดอะมิโนทอรีน และอาจมีวิตามินบี

การบริโภคเครื่องดื่มชูกำลังจึงเป็นตัวเลือกของคนที่ต้องการพลังงานและสมาธิเพื่อจดจ่อในการทำงาน เช่น ผู้ใช้แรงงาน ผู้ที่ต้องทำงานข้ามคืน

อย่างไรก็ตาม เด็กและวัยรุ่นไม่ควรดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง เนื่องจากมีส่วนประกอบที่อาจส่งผลให้ระดับความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น 

ส่วนผู้ใหญ่ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะหากได้รับคาเฟอีนมากเกินไปอาจส่งผลให้มีอาการวิตกกังวล อารมณ์เสีย ท้องปั่นป่วน ท้องร่วง และปวดศีรษะได้

นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ไม่ควรบริโภคคาเฟอีนเกินวันละ 200 มิลลิกรัม เนื่องจากอาจเสี่ยงแท้งบุตรได้สูง และส่งผลต่อการนอนหลับของทารกในครรภ์และตัวคุณแม่ผู้ตั้งครรภ์เองด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เมื่อดื่มเครื่องดื่มชูกำลังจะส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร?

เครื่องดื่มชูกำลังส่วนใหญ่จะประกอบด้วยคาเฟอีน น้ำตาล และสารกระตุ้นอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย ดังนี้

1. กระตุ้นการทำงานของสมอง

ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า เครื่องดื่มชูกำลังช่วยฟื้นฟูร่างกายจากอาการอ่อนล้า รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองในด้านต่างๆ เช่น ความจำ สมาธิ การตอบสนองต่อกิจกรรมต่างๆ

อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาวิจัยโดยการเก็บข้อมูลของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2557 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พบว่า นิสิตแพทย์ที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนน้อย มีผลการเรียนดีกว่านิสิตแพทย์ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนปริมาณมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

2. เพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย

งานวิจัยที่ศึกษาสรรพคุณของเครื่องดื่มชูกำลังพบว่า ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมีสมรรถภาพในการทำงานมากขึ้น รวมทั้งไม่ทำให้รู้สึกง่วงนอน แต่พบว่า แทบไม่มีผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม หลายคนมักมีปัญหาด้านการนอนหลับเมื่อถึงเวลาต้องพักผ่อน

3. ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหลอดเลือดและหัวใจ

ผู้ที่ได้รับคาเฟอีนมากเกินไปอาจเสี่ยงเกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง ใจสั่น โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเหล่านี้อยู่แล้ว

อีกทั้งอาจเป็นอันตรายต่อพัฒนาการด้านระบบหัวใจและระบบประสาทของเด็ก

4. ก่อปัญหาเกี่ยวกับการนอน

เนื่องจากคาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว จึงอาจส่งผลให้นอนหลับยากและพักผ่อนได้ไม่เพียงพอ

5. ส่งผลต่อโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เนื่องจากเครื่องดื่มชูกำลังประกอบด้วยน้ำตาลปริมาณมาก

6. ทำให้อ้วนขึ้น หรือน้ำหนักขึ้น

เครื่องดื่มชูกำลังมีส่วนผสมเป็นน้ำตาลปริมาณมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับพลังงานสูง มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และยังอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น ฟันผุ

ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังอย่างไรให้ปลอดภัย?

หากจะดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ควรปฏิบัติตามข้อควรระวังเหล่านี้ เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

  • ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังไม่เกินวันละประมาณ 450 มิลลิลิตร

  • เด็กและวัยรุ่นไม่ควรดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง เนื่องจากคาเฟอีนอาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการของหัวใจและสมอง

  • สตรีมีครรภ์ หรือผู้ที่ให้นมบุตรควรเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง

  • ไม่ผสมเครื่องดื่มชูกำลังกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากเครื่องดื่มชูกำลังจะทำให้ตื่นตัวและเมาช้า ส่งผลให้ดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น

เพิ่มพลังอย่างไรโดยไม่ต้องใช้เครื่องดื่มชูกำลัง

มีวิธีช่วยให้ร่างกายตื่นตัว กระปรี้กระเปร่าได้ โดยไม่ต้องพึ่งเครื่องดื่มชูกำลัง ดังนี้

  • ดื่มน้ำเปล่าเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ร่างกาย โดยดื่ม 1 แก้วเมื่อตื่นนอน หลังรับประทานอาหาร และในช่วงก่อนและระหว่างออกกำลัง รวมทั้งหลังจากออกกำลังกาย


  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะและสม่ำเสมอ พยายามเคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมที่ได้ขยับร่างกายอยู่เสมอ เพื่อให้รู้สึกสดชื่นและมีแรงทำกิจกรรมต่างๆ อยู่ตลอดเวลา

  • พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการนอนดึก เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

  • รับประทานอาหารที่มีโปรตีน หรือคาร์โบไฮเดรต เช่น นม ผลไม้ ไข่ต้ม เนยถั่ว ในปริมาณที่เหมาะสมและสม่ำเสมอเนื่องจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตให้พลังงานและสร้างกล้ามเนื้อ

  • รับประทานผักผลไม้สด ถั่ว และโยเกิร์ต ในปริมาณที่เหมาะสมและสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุอย่างเพียงพอ หรือปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานวิตามินเสริมในกรณีที่รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจเบาหวาน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
National Center for Complementary and Integrative Health, Energy Drink (https://www.nccih.nih.gov/health/energy-drinks), 18 May 2020.
Harvard University, The Nutrition Source: Energy Drink (https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/energy-drinks/), 18 May 2020.
รัตติกาล แก้วธรรม. ทัศนคติของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการทํากิจกรรมเชิงการตลาดของเครื่องดื่มเอ็ม -150. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2553.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
น้ำผึ้ง มากคุณค่าทางสารอาหาร และช่วยบำรุงผิวพรรณ
น้ำผึ้ง มากคุณค่าทางสารอาหาร และช่วยบำรุงผิวพรรณ

นอกจากความหอมหวานแล้ว น้ำผึ้งยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพและความสวยความงามอีกมากมาย

อ่านเพิ่ม
องุ่น ผลไม้ที่ให้ประโยชน์มากกว่ารสหวาน
องุ่น ผลไม้ที่ให้ประโยชน์มากกว่ารสหวาน

รวมข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหาร ประโยชน์ขององุ่น รับประทานยังไงให้ดีต่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม
ประโยชน์ของช็อคโกแลต นอกจากความหวานแล้วให้อะไรต่อสุขภาพอีก
ประโยชน์ของช็อคโกแลต นอกจากความหวานแล้วให้อะไรต่อสุขภาพอีก

รวมประโยชน์ของช็อคโกแลต ข้อควรระวัง ช็อคโกแลตแบบไหนที่ดีต่อสุขภาพที่สุด

อ่านเพิ่ม