เรื่องน่ารู้ Jet Lag หรือ อาการเจ็ตแล็ก เนื่องจากเดินทางโดยเครื่องบิน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เรื่องน่ารู้ Jet Lag หรือ อาการเจ็ตแล็ก เนื่องจากเดินทางโดยเครื่องบิน

ในปัจจุบัน คนไทยเดินทางไปต่างประเทศกันมาก การโดยสารเครื่องบินทำให้การเดินทางข้ามทวีปรวดเร็วขึ้น ระยะทางเป็นพันกิโลเมตรใช้เวลาเพียงหลักชั่วโมง และบินอยู่บนฟ้าได้นานคราวละหลายชั่วโมงโดยไม่ต้องแวะลงเติมน้ำมัน ขณะนี้ไม่ว่าจะต้องเดินทางข้ามหาสมุทรหรือทวีปใดก็กินเวลาไม่เกินหนึ่งวัน ดังเช่นบินจากกรุงเทพฯ ไปอเมริกาซึ่งอยู่ห่างคนละซีกโลก จะเลือกบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกหรือแปซิฟิก ก็ใช้เวลาเพียงยี่สิบชั่วโมงกว่า

ผู้ที่เดินทางข้ามทวีป โดยเฉพาะเดินทางไปอเมริกา นอกจากจะรู้สึกอ่อนเพลีย เพราะใช้เวลาบินนาน ได้แต่นั่งๆ นอนๆ ในเครื่องบิน กินอาหารหลายมื้อ แต่สับสนจนไม่รู้ว่ามื้อไหนเป็นมื้อกลางวัน มื้อไหนเป็นมื้อเช้า ทั้งยังรู้สึกอ่อนเพลียเพราะเวลาเปลี่ยนไป ปรับตัวเข้ากับเวลาในท้องถิ่นไม่ทันอย่างที่เรียกว่า เจ็ตแล็ก (Jet Lag) เครื่องบินกลับเวลาให้กลางวันเป็นกลางคืนได้ เวลานอนที่กรุงเทพฯ กลับกลายเป็นเวลากลางวันในนิวยอร์ก ทำให้รู้สึกไม่อยากทำอะไร ใครอาสาจะพาไปไหน ไม่วาจะพาไปเที่ยวหรือพาไปซื้อของ ล้วนไม่อยากไป อยากจะนอนท่าเดียว แม้ถึงเวลากินก็ยังไม่อยากกิน ครั้นถึงเวลากลางคืนได้เวลาหลับนอนของคนอื่น ร้านรวงปิดหมด ไม่รู้จะไปเที่ยวไหน กลับตาสว่างนอนไม่ลงจะเป็นเช่นนี้อยู่หลายวัน

ประมาณกันว่า จะต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งวันเพื่อปรับตัวให้เข้ากับเวลาที่เปลี่ยนไปหนึ่งชั่วโมง ฉะนั้นเวลาบินไปอเมริกาซึ่งเวลาต่างกันประมาณ 12 ชั่วโมง อาจจะต้องใช้เวลาปรับตัว 12 วัน หรือเกือบสองอาทิตย์ คนที่ไปเที่ยวระยะสั้น ยังไม่ทันได้ปรับตัวก็ถึงเวลาเดินทางไปเสียแล้ว นักมวยไทยที่บินไปชกที่นิวยอร์คที่แพ้กลับมา อาจจะไม่ใช่เพราะไร้คามสามารถจนสู้คู่ต่อสู้ไม่ได้ แต่อาจจะเนื่องจากปรับตัวกับเวลาใหม่ยังไม่ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีลดความอ่อนเพลียจากอาการ Jet lag

วิธีป้องกันและลดความอ่อนเพลียที่เกิดจากการเดินทางไปที่ไกลๆ กลับกลางวันเป็นกลางคืน หรือ Jet lag มีดังนี้

  • เลือกเวลาออกเดินทาง
    ควรเลือกเวลาออกเดินทาง ควรหลีกเลี่ยงเที่ยวบินที่ออกแต่เช้าตรู่หรือดึกเกินไป ที่ทำให้ต้องตื่นแต่มืด ผิดจากเวลาตื่นปกติ ออกจากบ้านตั้งแต่ยังไม่สว่าง หรือต้องนั่งรอเวลาเครื่องบินออกตอนดึกที่พ้นเวลานอนปกติไปแล้ว
  • เตรียมพร้อมเรื่องอาหาร
    ก่อนออกเดินทางสามวันควรเริ่มปรับตัวเรื่องอาหาร เช่น หลีกเลียงกาแฟหรือเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีคาเฟอีน ระหว่างเวลาบ่ายสามโมงถึงห้าโมงเย็น วันแรกให้กินอาหารอย่างเต็มที่ให้อิ่มครบทั้งสามมื้อ สำหรับมื้อเช้าและมื้อกลางวันควรเลือกอาหารที่ให้โปรตีนสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์และคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าวและขนมหวาน

    วันที่สองเป็นวันอดลดอาหารให้เหลือเพียงมื้อละเบาๆ และมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ

    วันที่สามเป็นวันกินอาหารหนักเหมือนวันแรก ส่วนวันออกเดินทางเป็นวันอดอาหาร กินเพียงเล็กน้อยเหมือนวันที่สอง

    เมื่อไปถึงจุดหมายปลายทางให้กินอาหารหนักอีกหนึ่งครั้ง กินอาหารเช้าที่ให้โปรตีนสูง และกินตามเวลาท้องถิ่นใหม่
  • ก่อนขึ้นเครื่องบิน
    ควรตั้งนาฬิกาให้ตางกับเวลาท้องถิ่นของเมืองที่จะไป ในเครื่องบินควรดื่มน้ำมากๆ เพราะอากาศในเครื่องบินค่อนข้างแห้ง แต่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด ควรกินอาหารที่มีกากมาก ได้แก่ ผัก ผลไม้ เพื่อป้องกันท้องผูก ลุกขั้นเดินไปมาในเครื่องบินบ้าง หรือขยับแขนขยับขาอยู่กับที่ในที่นั่ง

    ถ้ามีกำหนดไปถึงที่หมายตอนช้า ให้พยายามนอนในเครื่องบินให้ได้นานที่สุด แต่ถ้ามีกำหนดไปถึงที่หมายตอนค่ำ ให้พยายามฝืนตื่นอยู่ในเครื่องบินให้ได้นานที่สุด อาจใช้วิธีดูภาพยนตร์ ฟังเพลง อ่านหรือเขียนหนังสือ
  • เมื่อถึงจุดหมายปลายทาง ควรกิน นอน ออกกำลังและทำงานตามเวลาท้องถิ่น คนที่มาถึงตอนเข้าหรือตอนบ่าย ควรออกไปเดินเล่นหรือออกกำลังกายเบา ๆ ส่วนคนที่มาถึงตอนค่ำ ให้รีบเข้านอน และพยายามนอนอย่างน้อยที่สุด 4 ชั่วโมง ในวันแรก แต่อย่าออกกำลังกายตอนค่ำ เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ

    อย่านอนกลางวัน ไม่ว่าจะเหนื่อยอ่อนเพียงใด เพราะร่างกายจะสับสนคิดว่าได้เวชลานอนตอนกลางคืนแล้ว แทนที่จะหลับเพียงงีบเดียวอาจเผลอหลับใหลไม่รู้เรื่องไปหลายชั่วโมง ต่อเมื่อปรับตัวเข้ากับเวลาท้องถิ่นได้แล้วจึงค่อยนอนกลางวัน
  • หากนอนไม่หลับ
    ไม่ควรทนนอนทุรนทุราย ควรลุกขึ้นจากเตียงไปนั่งอ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ เมื่อรู้สึกเหนื่อยมาก จึงค่อยกลับไปนอนบนเตียง การกินของกินชนิดที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ขนมปังกรองก่อนนอนจะช่วยให้หลับง่ายขึ้น ส่วนตอนเช้าควรตื่นให้เป็นเวลา ไม่ว่าเมื่อคืนจะนอนได้มากน้อยเพียงไร

13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jet lag. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/jet-lag/)
What Is Jet Lag? Symptoms, Definition, Remedies, Treatment & Duration. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/jet_lag/article.htm)
Jet lag: Causes, symptoms, treatment, and prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/165339)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป