ผ่าตัดขากรรไกร เหมาะสำหรับใคร ราคา วิธีเตรียมตัว และวิธีการดูแลตัวเอง

ใบหน้าไม่ได้รูปทรง ขากรรไกรยื่น ขากรรไกรหลุบ ไม่มีคาง แก้ไขได้ด้วยการผ่าตัดขากรรไกร
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ผ่าตัดขากรรไกร เหมาะสำหรับใคร ราคา วิธีเตรียมตัว และวิธีการดูแลตัวเอง

ใบหน้าที่ไม่ได้รูปทรง หรือสัดส่วนอย่างเหมาะสม เช่น กรามบิดเบี้ยว ขากรรไกรยื่น หรือขากรรไกรหลุบ นอกจากเหตุผลทางด้านความสวยงามแล้ว ผู้ที่มีปัญหามักจะรู้สึกเหมือนมีปมด้อยจนหมดความมั่นใจและไม่กล้าออกมาสู่สังคมภายนอก อีกทั้งยังใช้ชีวิตประจำวันด้วยความยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นการพูด หรือการกัด บด และเคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด เหล่านี้จะส่งผลถึงสุขภาพในระยะยาว แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้จาก "การผ่าตัดขากรรไกร" 

การผ่าตัดขากรรไกรคืออะไร

เป็นการผ่าตัดกระดูกขากรรไกร ไม่ว่าจะเป็นขากรรไกรบน (Maxilla bone) และ/หรือ กระดูกขากรรไกรล่าง (Mandibular bone) เพื่อแก้ปัญหาความผิดปกติของขากรรไกร โดยเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ใช้เวลานานพอสมควร บางรายอาจต้องทำร่วมกับการจัดฟันซึ่งจะต้องใช้แพทย์เฉพาะทางถึง 2 ด้าน คือทันตแพทย์เฉพาะทางด้านจัดฟันและทันตแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ช่องปากและแมกซิลโลเฟเชียล มาช่วยกันแก้ไข

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ใครที่ควรต้องได้รับการผ่าตัดขากรรไกร

การผ่าตัดขากรรไกรเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้

  • ไม่อยู่ในช่วงที่มีการเจริญเติบโตของใบหน้าและขากรรไกร (กรณีที่อยู่ในช่วงที่มีการเจริญเติบโตของใบหน้าและขากรรไกร จะใช้วิธีการจัดฟันร่วมกับใส่เครื่องมือปรับรูปหน้า)
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้ามากๆ เช่น ขากรรไกรบนและล่างไม่อยู่ในแนวตรงกัน ฟันบนสบไม่พอดีกับฟันล่างจึงทำให้รูปหน้าบิดเบี้ยวไม่สมดุล บางรายไม่มีคาง หรือคางสั้นจนหลุบเข้าไปด้านใน ขากรรไกรบนยื่นยาวจนออกมาคร่อมฟันล่าง ยิ้มไม่สวย ยิ้มเห็นเหงือก รวมทั้งขากรรไกรฟันล่างยื่นครอบฟันบน ส่งผลให้ฟันเหยินและคางยื่น

การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน

การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟันมีทั้งทำการผ่าตัดก่อนรักษาต่อด้วยการจัดฟัน และการจัดฟันก่อนจากนั้นจึงผ่าตัดแก้ไขกระดูกขากรรไกรทีหลัง เพื่อให้ฟัน ขากรรไกร และกรามอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม  ทั้งนี้การรักษาที่เหมาะสมนั้นทันตแพทย์เฉพาะทางด้านจัดฟันจะพิจารณาด้วยปัจจัยต่างๆ เพื่อให้ได้การรักษาที่เหมาะสมที่สุด 

การจัดฟันก่อนการผ่าตัดขากรรไกร มีขั้นตอนหลักๆ  คือ

  • จัดฟันเตรียมให้อยู่ในตำแหน่งที่พอดี 

ทั้งขากรรไกรบนและล่าง ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ปี ก่อนการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับปัญหาภายในช่องปากของแต่ละคนว่า มีมากน้อยเพียงใด

  • การผ่าตัดขากรรไกร 

หลังจากขั้นตอนเตรียมตัวผู้ป่วยให้พร้อมแล้ว ทันตแพทย์จะผ่าตัดขากรรไกรโดยจะจัดฟันและขากรรไกรใหม่ในตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้นใส่เหล็กยึดติดขากรรไกรไว้จนกว่ากระดูกจะสมานติดกัน (ขั้นตอนนี้ใช้เวลาหลายสัปดาห์) หลังการผ่าตัดจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 1 – 3 วัน จึงกลับบ้านได้

ขณะทำการผ่าตัดขากรรไกรผู้ป่วยจะได้รับการดมยาสลบเช่นเดียวกับการผ่าตัดใหญ่ทั่วไป สำหรับความเสี่ยง หรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นนั้นก็เหมือนกับการผ่าตัดประเภทอื่นๆ หลังการผ่าตัดอาจมีอาการชาที่ริมฝีปาก แต่จะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไป
ในทางกลับกัน การผ่าตัดขากรรไกรก่อนการจัดฟันจะมีการผ่าตัดขากรรไกร เพื่อให้ได้ตำแหน่งของขากรรไกรที่เหมาะสม
จากนั้นจึงทำการจัดฟันเพื่อให้ได้ตำแหน่งของฟันที่เหมาะสม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ราคาของการผ่าตัดขากรรไกร

ราคาของการการผ่าตัดขากรรไกรขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาในแต่ละบุคคล รวมทั้งสถานพยาบาลที่ให้บริการ

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดขากรรไกร

  • ปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางด้านจัดฟันและทันตแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ช่องปากและแมกซิลโลเฟเชียลเพื่อรับคำแนะนำและเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • แจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัว ยาที่กำลังรับประทาน ยาหรือสารที่แพ้
  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอครบ 8 ชั่วโมง
  • งดอาหารและน้ำก่อนวันผ่าตัดตั้งแต่เที่ยงคืนเป็นต้นไป (ก่อนทำการผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง)
  • กรณีมีรับประทานยาอยู่ อาจจะต้องหยุดรับประทานยาตามแพทย์/ทันตแพทย์สั่ง เช่น ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ก่อนการผ่าตัด 1 สัปดาห์ และหลังการผ่าตัด 1 เดือน เพื่อป้องกันเส้นเลือดหดตัว
  • เตรียมเสื้อผ้าที่เน้นความสบายสำหรับใส่วันที่ออกจากโรงพยาบาล ไม่ควรใส่เครื่องประดับทุกชนิด และต้องมีญาติมาคอยรับกลับด้วย
  • ก่อนการผ่าตัดจะต้องมีการตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อพิจารณาเตรียมความความพร้อมของร่างกายของผู้ที่รับการผ่าตัด เช่น ตรวจโรคทั่วไป ตรวจเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ และวัดความดัน เป็นต้น

การดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดขากรรไกร

  • ภายหลังการผ่าตัด จะต้องทำการประคบเย็นในวันแรก จากนั้นจึงประคบอุ่น เพื่อลดอาการบวม
  • รับประทานเฉพาะอาหารเหลวเท่านั้น
  • ควรขยับขากรรไกรเพื่อให้ขากรรไกรได้เคลื่อนไหวบ้าง
  • ทำความสะอาดช่องปาก และบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากอย่างเคร่งครัด ตามที่ทันตแพทย์แนะนำ เพื่อป้องกันปัญหาการติดเชื้อ
  • เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและป้องกันความผิดพลาดหลังการผ่าตัดขากรรไกร ควรใช้บริการกับโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานและมีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบการอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สมความตั้งใจและมีสุขภาพกายที่ดี มั่นใจในบุคลิกภาพรวมทั้งโอกาสต่างๆ ที่จะเข้ามาหลังการผ่าตัดนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง
ศัลยกรรมตัดกราม




8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Xiong X.,Yu Y., Chen F. Orthodontic camouflage versus orthognathic surgery: A comparative analysis of long-term stability and satisfaction in moderate skeletal Class III. Open Journal of Stomatology, 2013; 3: 89-93
Sharma VK, Yadav K, Tandon P. An overview of surgery-first approach: Recent advances in orthognathic surgery. J Orthod Sci. 2015;4(1):9-12. doi:10.4103/2278-0203.149609.
Proffit, William R., Henry W. Fields, and David M. Sarver. Contemporary Orthodontics, 5th edition. St. Louis, Mo: Elsevier/Mosby, 2013.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ขากรรไกรเจ็บ เกิดจากอะไรได้บ้าง ?
ขากรรไกรเจ็บ เกิดจากอะไรได้บ้าง ?

ปวดขากรรไกรเกิดจากอะไรได้บ้าง แล้วจะมีวิธีดูแลตนเองอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

อ่านเพิ่ม