กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

จริงหรือ ที่หากลดน้ำหนักแล้ว ต้องลดการบริโภคเกลือด้วย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
จริงหรือ ที่หากลดน้ำหนักแล้ว ต้องลดการบริโภคเกลือด้วย

เกลือนั้นนับเป็นสิ่งที่คุณๆ ควรทานให้น้อยที่สุดในช่วงไดเอ็ต เนื่องจากอาหารเค็มมีโซเดียมอยู่เป็นจำนวนมาก หากร่างกายได้รับเกลือมากจนเกินไปก็จะเกิดอาการเก็บน้ำ หรือกักเก็บของเหลวในร่างกายเอาไว้ เพื่อที่จะพยายามขับเกลือออก แต่กว่าจะขับได้ คุณก็จะรู้สึกอึดอัด น้ำหนักขึ้น ตัวบวม แถมไตยังต้องทำงานหนักเพื่อที่จะขับเอาโซเดียมออกอีกด้วย

ซึ่งถ้าอาหารเค็มๆ นั้นมาให้เห็นๆ เป็นขวดเกลือ เราคงหลีกเลี่ยงกันได้ง่าย แต่ถ้าแฝงมากับอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วก็คงยากหน่อย พึงระวังของขบเคี้ยวเค็มๆมันๆ เช่น มันฝรั่งอบกรอบ ถั่วอบเกลือ หรืออาหารประเภทแซ่บๆ เช่น ส้มตำ มะม่วงจิ้มน้ำปลาหวานหรือกะปิหวาน ของอร่อยๆ พวกนี้กินแล้วส่งเสริมอาการบวมน้ำได้ดีนักแล รวมถึงการหมั่นสังเกตฉลากข้อมูลโภชนาการของผลิตภัณฑ์ให้เป็นนิสัยด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


วิธีลดอาการบวมน้ำ

การดื่มน้ำมากๆซึ่งหลายๆคนเข้าใจผิดว่ายิ่งดื่มยิ่งบวม ตรงกันข้ามคุณควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เพราะน้ำจะช่วยลดระดับและขจัดสิ่งแปลกปลอม รวมไปถึงโซเดียมที่ตกค้างอยู่ในร่างกายคุณด้วยนั่นเองแต่ต้องไม่ลืมลดปริมาณเกลือลงและต้องเริ่มหัดทานอาหารที่มีรสชาติจืดๆ ลงบ้าง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Salt reduction. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/salt-reduction)
10 weight loss myths. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-weight/ten-weight-loss-myths/)
How Could the Sodium You Eat Affect Your Weight?. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/obesity/news/20170501/salt-weight-connection)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป