ภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักนั้นไม่ได้คงอยู่ตลอดไป

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักนั้นไม่ได้คงอยู่ตลอดไป

ประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักนั้นน้อยกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ สำหรับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยักนั้น เราจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันทุกๆ 10 ปี เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะต่อโรคไอกรนและทำให้เราไม่ได้กลายเป็นผู้แพร่เชื้อแก่คนอื่น

แต่งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Pediatrics เพิ่งพบว่า ภูมิคุ้มกันดังกล่าวนั้นจะอยู่ภายในช่วง 2-3 ปีหลังจากได้รับวัคซีนเท่านั้น ในช่วงก่อนปี 1990 มีการใช้วัคซีนป้องกันโรคไอกรนในอีกรูปแบบหนึ่ง คือเป็นการใช้เชื้อจริงที่ถูกทำให้อ่อนแอลงมาเป็นวัคซีน ผลที่ได้นั้นค่อนข้างดีและทำให้อัตราการเกิดโรคลดต่ำลง แต่วัคซีนดังกล่าวนั้นก็มีผลข้างเคียง เช่นทำให้มีไข้ บวม หรือปวดบริเวณที่ฉีดยาได้ นอกจากนั้นยังอาจทำให้มีอาการกระสับกระส่ายหรือง่วงนอนได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นถึงแม้ว่าจะพบได้น้อยแต่ในผู้ป่วยบางรายอาจทำให้เกิดอาการชักหรือสมองอักเสบอย่างฉับพลัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวในรูปแบบใหม่เพื่อให้มีผลข้างเคียงในการรักษาลดลง โดยเปลี่ยนมาใช้วัคซีนชนิดที่เรียกว่า DTaP แทน ซึ่งงานวิจัยได้พบว่าภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากวัคซีนชนิดนี้นั้นจะลดลง 42% ทุกปีหลังจากปีที่ 5 เป็นต้นไป นั่นก็หมายความว่าหากใช้คำแนะนำเดิมที่ต้องมาฉีดกระตุ้นใน 10 ปีถัดไปนั้น ร่างกายก็แทบจะไม่มีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนเหลืออยู่เลย

ดังนั้นการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

นักวิจัยยังได้ทำการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และพบว่าในช่วงปีแรกหลังจากที่ได้รับวัคซีนแบบ TdaP ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักในผู้ใหญ่นั้น วัคซีนจะมีประสิทธิภาพอยู่ที่ 70% และเมื่อเวลาผ่านไป 4 ปี กลับพบว่าประสิทธิภาพลดเหลือน้อยกว่า 10% และเมื่อพิจารณาว่าเด็กทารกมักจะได้รับเชื้อเหล่านี้มาจากพี่น้องของพวกเขาแล้ว ผลที่พบดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่น่าตกใจอย่างยิ่งและจำเป็นต้องหาวิธีการแก้ไข

วิธีการแก้ไขนั้นทำได้ 2 วิธี วิธีแรกซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด นั่นก็คือการพัฒนาวัคซีนให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น เราอาจจะต้องกลับไปใช้วัคซีนรูปแบบเดิมแต่หาวิธีการป้องกันหรือผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่นักวิจัยกำลังพยายามพัฒนาอยู่ในปัจจุบัน 

อีกวิธีหนึ่งก็คืออาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้วัคซีนแบบ TdaP นี้ใหม่ให้เหมาะสม โดยแทนที่จะรอฉีดกระตุ้นหลังจากฉีดเข็มแรกไปแล้ว 10 ปี อาจจะนำมาใช้ในช่วงที่มีการระบาดของรโรคแทน และอาจจะเน้นให้ผู้ป่วยบางกลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดโรคมากกว่ากลุ่มอื่นเข้ารับวัคซีน

แต่นี่ก็เป็นวิธีที่ยากต่อการจัดการและการวางแผน เนื่องจากเราจะต้องมีการเตรียมพร้อมทุกครั้งก่อนที่จะมีการระบาด และยังต้องมีการให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อให้ทุกคนพาเด็กมาฉีดวัคซีนเมื่อถึงช่วงเวลาดังกล่าวแทนการรอมาฉีดเมื่อมาพบแพทย์ตามนัด แต่ถ้าหากว่านี่เป็นวิธีที่สามารถป้องกันการระบาดของโรคได้ เราก็จำเป็นต้องทำ เพราะว่าการฉีดวัคซีนนั้นไม่ได้เป็นการป้องกันเฉพาะลูกของคุณเองเท่านั้น แต่ยังเป็นการปกป้องทุกคนที่อยู่รอบข้างคุณด้วยเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง
วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก จำเป็นไหม ทำไมต้องฉีด?
วัคซีนคอตีบ คืออะไร จำเป็นต้องฉีดไหม ใครควรฉีดบ้าง ราคาเท่าไร?


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Booster vaccination against tetanus and diphtheria: insufficient protection against diphtheria in young and elderly adults. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5011835/)
Diphtheria Vaccination. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/vaccines/vpd/diphtheria/index.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป