ระบบภูมิคุ้มกัน

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ระบบภูมิคุ้มกัน

ปกติร่างกายจะได้รับเชื้อไวรัส  จุลินทรีย์  และเชื้อโรคต่าง ๆ จำนวนมากมายหลายล้านชนิด  ส่วนใหญ่เชื้อโรคเหล่านี้จะถูกทำลายไปเพราะผิวหนัง  น้ำลาย  น้ำเมือ  และกรดในกระเพาะอาหาร  เป็นเกราะป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย 

เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนผิวหนังและเยื่อบุที่มีเมือกของร่างกายก็ยังมีส่วนช่วยป้อกันไม่ให้เชื้อโรคบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย  เมื่อใดก็ตามที่เชื้อโรคสามารถผ่านเกราะป้องกันเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย  เชื้อโรคจะถูกทำลายเพราะมีสารประกอบของระบบภูมิคุ้มกันอย่างน้อยหนึ่งชนิดทำหน้าที่สกัดกั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ระบบภูมิคุ้มกันจะตรวจจับเชื้อโรคหรือเนื้อเยื่อแปลกปลอมโดยใช้สารเคมีที่มีความไวสูงโดยเฉพาะเชื้อที่สามารถทำให้เกิดโรคได้  บางครั้งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นรุนแรงเกินไปต่อสารที่ไม่มีอันตราย  เช่น  ละอองเกสร  อาหารบางชนิด  ยารักษาโรค  เป็นต้น  อีกกรณีหนึ่ง  คือ  ระบบภูมิคุ้มกันไปทำลายเนื้อเยื่อปกติของร่างกายโดยคิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ตัวเอง  เช่น  โรคลูปัส  โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  เป็นต้น  อย่างไรก็ตามระบบภูมิคุ้มกันก็ยังเป็นด่านที่แข็งแกร่งด่านแรกในการป้องกันโรคที่อาจมีความรุนแรงถึงชีวิตได้

เชื้อโรคติดต่อ  เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคมีหลายชนิด  เช่น  เชื้อไวรัส  พยาธิ  เป็นต้น  ไม่ว่าเชื้อโรคจะมีขนาดเท่าใดหรือเป็นสายพันธุ์ชนิดใด  ระบบภูมิคุ้มกันที่สมบูรณ์จะต่อสู้อย่างเต็มที่  ซึ่งการต่อสู้อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย

ภูมิคุ้มกันต่อสู้กับการติดเชื้อ  โดยเมื่อเชื้อโรคแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย  สารเคมีจะส่งสัญญาณให้ระบบภูมิคุ้มกันปฏิบัติการ  เม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ จะวิ่งมายังบริเวณที่ติดเชื้อเพื่อหยุดยั้งไม่ให้มีการลุกลามไปยังส่วนอื่นของร่างกาย  มีเม็ดเลือดขาวกลุ่มหนึ่ง  เรียกว่า  ฟาโกไซต์  ทำลายเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายโดยการหุ้มและกลืนทั้งตัว  เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของด่านแรกของระบบภูมิคุ้มกัน  ลิมโฟไซต์จะปล่อยสารเคมีออกมาทำลายเชื้อที่เข้าสู่ร่างกาย  ขณะที่มาสต์เซลล์และอิฌอซิโนฟีลจะหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ  หากเป็นเชื้อไวรัส  เม็ดเลือดขาวชนิดพิเศษจะหลั่งสารอินเทอร์เฟอรอน  ซึ่งเป็นโปรตีนที่ป้องกันการแบ่งตัวของไวรัสในเซลล์ร่างกาย

โรคที่สามารถผ่านด่านคุ้มกันด่านแรกของร่างกาย  จะพบกับภูมิคุ้มกันที่มีความเข้มแข็งกว่าด่านแรกคือ  บีลิมโฟไซต์ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวที่รู้จักและจำเชื้อโรคบางชนิดได้  เมื่อมีเชื้อโรคชนิดนี้เข้ามา  เซลล์บีจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและผลิตเซลล์ความจำที่สามารถเปลี่ยนเป็นเซลล์พลาสมาซึ่งทำหน้าที่สร้างตัวภูมิคุ้มกันเพื่อตามหาและทำลายเชื้อดังกล่าว  หลังการติดเชื้อเซลล์ความจำที่เหลือก็จะทำปฏิกิริยาทันทีเมื่อเผชิญหน้ากับเชื้อโรคชนิดเดียวกันนี้อีกครั้ง

ภูมิคุ้มกันด่านที่สอบประกอบด้วยทีลิมโฟไซต์  ซึ่งสามารถต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกและเซลล์มะเร็ง  เมื่อทีเซลล์พบกับเชื้อโรคที่รอดจากการถูกทำลายโดยเซลล์ฟาโกไซต์  มันจะผลิตทีเซลล์เพิ่มขึ้นเพื่อช่วยหาตัวเชื้อและหลั่งสารเคมีที่เรียกว่า  ลิมโฟคายด์ออกมาทำลายสิ่งแปลกปลอม  การต่อสู้กับเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในทำนองเดียวกัน  โรคต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติเหล่านี้อ่อนแรง  เนื่องจากปัจจัยบางอย่างหรือมีเชื้อโรคจำนวนมากจนสู้ไม่ไหว


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Is My Immune System?. WebMD. (https://www.webmd.com/cold-and-flu/immune-system-function)
The immune system: Cells, tissues, function, and disease. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320101)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?

ร่างกายของคุณต้องการวิตามินที่สำคัญถึง 13 ชนิดในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม