อิ่มแล้วแต่ก็ยัง “กินไม่หยุด” สัญญาณเตือนส่อโรคที่หลายคนนึกไม่ถึง

เผยแพร่ครั้งแรก 5 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อิ่มแล้วแต่ก็ยัง “กินไม่หยุด” สัญญาณเตือนส่อโรคที่หลายคนนึกไม่ถึง

การทานอาหารมากกว่าปกติเป็นบางครั้งถือเป็นเรื่องทั่วไป แต่มันจะต่างจากการเป็นโรคกินไม่หยุด หรือโรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ (Binge eating disorder) คุณอาจเป็นโรคดังกล่าวถ้าคุณทานอาหารเป็นจำนวนมากในเวลาไม่กี่ชั่วโมงแม้ว่าคุณไม่ได้หิวก็ตาม แล้วสุดท้ายคุณก็จะรู้สึกละอายใจหรือรู้สึกผิดกับพฤติกรรมของตัวเอง อย่างไรก็ตาม เราสามารถรักษาโรค Binge Eating และกลับมามีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ แต่ก่อนที่เราจะไปดูสาเหตุของโรคนี้ เราลองมาดูความแตกต่างของการกินมากกว่าปกติ และโรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติก่อนค่ะ

กินมากเกินไป (Overeating) VS โรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ (Binge eating disorder)

ทั้งสองภาวะนี้มีความแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กินมากเกินไป (Overeating)

  • ทานของหวานมากกว่า 1 จานหลังทานอาหารเย็น
  • ทานป๊อปคอร์นคนเดียวหมดถุงในขณะที่ดูภาพยนตร์

โรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ (Binge eating disorder)

  • แอบเอาขนมถุงใหญ่มาเก็บไว้ในห้อง และทานคนเดียวแบบเงียบๆ ไม่ให้ใครรู้
  • ทานเค้กทั้งก้อนคนเดียว แล้วมารู้สึกผิดในภายหลัง
  • ทานแฮมเบอร์เกอร์ 3 ลูก แม้ว่ารู้สึกอิ่มแล้วก็ตาม

สาเหตุของโรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ

  1. พันธุกรรม

    โรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติมีแนวโน้มเกิดจากพันธุกรรม หากคนในครอบครัวเป็นโรคดังกล่าว คุณจะยิ่งมีโอกาสเป็นโรคมากขึ้น ทั้งนี้นักวิจัยพบว่า ยีนส์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกินบางชนิดอาจถูกถ่ายทอดจากคนรุ่นก่อนในครอบครัว ซึ่งมันสามารถส่งผลต่อวงจรสมองที่ควบคุมความอยากอาหารและอารมณ์ นอกจากพันธุกรรมแล้ว การที่เราเห็นพ่อหรือแม่ทานอาหารมากกว่าปกติเป็นประจำก็สามารถทำให้คุณเป็นโรคดังกล่าวได้เช่นกัน นิสัยที่คุณเรียนรู้จากคนรอบตัวอาจมีผลกระทบต่อการทานอาหารของคุณ
  2. โรคซึมเศร้า


    หากคุณเป็นโรคซึมเศร้า คุณอาจมีโอกาสเป็นโรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติมากขึ้น คนที่เป็นโรคดังกล่าวมากกว่าครึ่งเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่าโรคซึมเศร้าทำให้เกิดโรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ หรือโรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติทำให้เกิดโรคซึมเศร้า
  3. มีความพอใจในตัวเองต่ำ


    คนที่เป็นโรคนี้มักไม่มีความสุขกับรูปลักษณ์ของตัวเอง ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่ดีกับรูปร่างของตัวเองเพราะโดนคนอื่นต่อว่า หรืออาจเทียบตัวเองกับนางแบบในทีวีหรือนิตยสาร ซึ่งการมีความพอใจในตัวเองต่ำสามารถทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้ และหลังจากทานอาหาร ผู้ป่วยมักจะรู้สึกผิดหรือละอายใจเพราะว่าตัวเองทานอาหารมากเกินไป
  4. ความเครียดและความวิตกกังวล

    ในบางครั้งความเครียดก็สามารถทำให้เกิดโรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติได้ ตัวอย่างเช่น ความเครียดที่เกิดจากการหย่าร้าง หรือการตกงาน เป็นต้น แต่ทั้งนี้การทานตามอารมณ์สามารถเกิดขึ้นชั่วคราว และอาจไม่ถึงขั้นทำให้เกิดโรคดังกล่าว ถึงกระนั้นก็ตาม คนที่เป็นโรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติมีแนวโน้มที่จะทานอาหารมากเกินไปเมื่อวิตกกังวลหรือเครียด
  5. พยายามลดน้ำหนักมากเกินไป


    การพยายามลดน้ำหนักมากเกินไปก็สามารถทำให้เกิดโรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติได้เช่นกัน ซึ่งมันจะยิ่งเป็นความจริงเมื่อผู้ป่วยลดน้ำหนักแบบไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น งดอาหาร หรือทานอาหารน้อยเกินไป หากน้ำหนักไม่ถึงเป้าที่วางไว้ พวกเขาก็อาจรู้สึกผิด และรู้สึกแย่กับตัวเอง แล้วพาลล้มเลิกความตั้งใจและจบลงด้วยการทานอาหารมากกว่าเดิม

วิธีควบคุมโรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ

หากคุณคิดว่าตัวเองเป็นโรคดังกล่าว แพทย์ก็อาจให้คำปรึกษาและคุณอาจต้องทานยา สำหรับวิธีป้องกันไม่ให้คุณเป็นโรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติมีดังนี้

  • จดบันทึกอาหารที่ทานในแต่ละวัน ซึ่งมันจะทำให้รู้ว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคดังกล่าวหรือไม่
  • ทานอาหารให้ครบสามมื้อ และอาจทานขนมในระหว่างวัน เพราะมันจะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดเสถียร ดังนั้นคุณก็จะไม่รู้สึกหิวกระหายในภายหลัง
  • วัดปริมาณของอาหารหรือแบ่งอาหาร อย่าทานมันฝรั่งถุงใหญ่ขณะที่นั่งดูทีวี แต่ให้คุณแบ่งใส่ถุงเล็กๆ แทน เพราะมันอาจช่วยให้คุณทานน้อยลง
  • ให้หาว่าอะไรคือต้นเหตุ ลองถามตัวเองว่าคุณกำลังเครียดหรือวิตกกังวลหรือไม่? หากคำตอบคือใช่ ให้คุณหาทางรับมือกับอารมณ์ดังกล่าว

ที่มา: https://www.webmd.com/mental-h...


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hidden causes of weight gain. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-weight/hidden-causes-of-weight-gain/)
Why Do I Eat When I'm Not Hungry?. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/why-do-i-eat-when-im-not-hungry-3495302)
14 foods to avoid to lose weight: What to stop eating and why. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324564)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือภาวะผิดปกติทางอารมณ์จากการใช้สาร
อะไรคือภาวะผิดปกติทางอารมณ์จากการใช้สาร

เมื่อแอลกอฮอล์ สารเสพติดและยาทำให้คุณรู้สึกแย่กว่าเดิม

อ่านเพิ่ม