กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

หยุดอาการใจสั่นระหว่างตั้งครรภ์อย่างไรดี?

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
หยุดอาการใจสั่นระหว่างตั้งครรภ์อย่างไรดี?

ในระหว่างตั้งครรภ์ ปริมาตรของเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น หัวใจจำเป็นต้องสูบฉีดเลือดเร็วขึ้นเพื่อหมุนเวียนเลือดส่วนเกิน และนั่นก็สามารถทำให้อัตราการเต้นของหัวใจในขณะพักเพิ่มขึ้น ในบางครั้งมันก็สามารถนำไปสู่การเกิดภาวะใจสั่นได้ ซึ่งผู้ป่วยอาจรู้สึกราวกับว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็วระรัว และแน่นหน้าอก โดยมากแล้วอาการใจสั่นไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่ในบางกรณีมันก็สามารถบ่งบอกได้ว่าหัวใจหรือบริเวณอื่นๆ ของร่างกายมีปัญหา

อาการ

โดยทั่วไปแล้ว ภาวะใจสั่นสามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะ เหงื่อออก และหัวใจเต้นเร็ว ซึ่งผู้หญิงตั้งครรภ์อาจประสบอาการใดอาการหนึ่ง หรือหลายอาการดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • เวียนศีรษะหรือหน้ามืด
  • รู้สึกไม่สบายใจ
  •  รู้สึกว่าหัวใจเต้นอย่างรุนแรง
  • หัวใจเต้นอย่างรวดเร็ว
  • เหงื่อออก
  • รู้สึกสั่นในอก
  • รู้สึกว่าหัวใจเต้นไม่ถูกจังหวะ

สาเหตุ

มีหลายปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดอาการใจสั่นในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งส่วนมากไม่ได้ร้ายแรง ตัวอย่างเช่น หัวใจตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของเลือด ความเครียดและความวิตกกังวล การตอบสนองต่ออาหารและเครื่องดื่มโดยเฉพาะอาหารที่มีคาเฟอีน การตอบสนองต่อยารักษาโรคหวัดหรือโรคภูมิแพ้ ฯลฯ

สำหรับสาเหตุที่ร้ายแรง เช่น ต่อมไทรอยด์มีปัญหา หัวใจได้รับความเสียหาย ภาวะความดันหลอดเลือดแดงปอดสูง  โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และแพทย์อาจพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะจำแนกสาเหตุ เพราะมีหลายอาการของปัญหาที่เกี่ยวกับหัวใจเกิดขึ้นเป็นปกติในระหว่างการตั้งครรภ์

การวินิจฉัย

มีเพียงแพทย์เท่านั้นที่สามารถวินิจฉัยสาเหตุของอาการใจสั่นได้อย่างถูกต้อง แพทย์ก็อาจซักถามเกี่ยวกับอาการและโรคที่เคยเป็น หากมีอาการใดอาการหนึ่งดังต่อไปนี้ คุณควรรีบบอกแพทย์

  • เคยมีอาการใจสั่น
  • เคยเป็นโรคหัวใจ
  • เคยมีปัญหาอื่นๆ ที่ส่งผลต่อหัวใจ
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

แพทย์มักตรวจความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ และอาจใช้วิธีอื่นๆ ดังนี้

  • ตรวจเลือดเพื่อดูว่าต่อมไทรอยด์เสียสมดุลหรือทำงานผิดปกติหรือไม่
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ให้ผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ที่วัดการเต้นของหัวใจนานตามที่กำหนด

อย่างไรก็ตาม หากอาการใจสั่นเกิดขึ้นเป็นประจำในระหว่างตั้งครรภ์ คุณก็ควรไปพบแพทย์ หากอาการไม่ได้รุนแรง และไม่ได้เป็นผลมาจากโรคแทรกซ้อนอื่นๆ แพทย์ก็มักไม่ทำการรักษา และอาการก็จะหายไปเองหลังคลอดลูก แต่หากอาการรุนแรง แพทย์ก็อาจจ่ายยาเพื่อช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ

ที่มา:https://www.medicalnewstoday.c...


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม