คุณเคยรู้สึกแน่นท้องหลังทานอาหารแต่ก็ยังคงสั่งของหวานทานต่อหรือไม่? หรือทานคุกกี้เพียงเพราะว่าเห็นมันวางอยู่บนโต๊ะ? ความอยากน้ำตาลนั้นเป็นสิ่งที่อยากที่จะต้านทานและอาจจะรู้สึกว่าเป็นไปไม่ได้
ทำไมเราถึงเสพติดน้ำตาล?
คุณอาจจะเคยได้ยินว่าน้ำตาลนั้นมีฤทธิ์เสพติดมากกว่าโคเคนเสียอีก งานวิจัยหนึ่งพบว่าหนู 94% เลือกน้ำหวานมากกว่าโคเคน แม้ว่าการมองลูกอมที่คุณรับประทานเป็นประจำทุกวันให้กลายเป็นสิ่งอันตรายต่อมนุษย์จะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่น้ำตาลนั้นก็ทำให้เกิดการกระตุ้นการหลั่ง dopamine และระบบการสร้างความสุขในสมองเช่นเดียวกับการใช้ยา
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ร่างกายของเราต้องการใช้คาร์โบไฮเดรตเพื่อทำงาน ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องธรรมชาติที่ร่างกายเราจะโหยหาน้ำตาลซึ่งการรับประทานในปริมาณที่ไม่มากนั้นก็ย่อมดีต่อสุขภาพ ปัญหาก็คืออาหารที่แปรรูปนั้นมีสารให้ความหวานในปริมาณสูง ทำให้มันมากเกินกว่าการตอบสนองความต้องการและกลายเป็นการเสพติด มันก็เหมือนกับการที่ชาวอเมริกาใต้นั้นมีการเคี้ยวใบโกโก้มาหลายศตวรรตแต่ตัวพืชนั้นไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาจนกระทั่งมันอยู่ในรูปของสารเข้มข้นซึ่งก็คือโคเคน
เมื่อคุณได้เปลี่ยนจากการอยากของหวานไปเป็นการติดของหวาน คุณก็อาจจะเกิดอาการติด อาการนั้นก็คล้ายกับการติดยา เช่นคุณมักจะคิดถึงอาหารมากกว่าสิ่งอื่นๆ ไม่สามารถหยุดคิดได้แม้แต่ในเวลาที่คุณอิ่ม หรือเริ่มนำอาหารไปซ่อนเพื่อไม่ให้คนอื่นรู้ว่าคุณมีมันอยู่ น้ำตาลยังอาจกลายเป็นปัญหาเมื่อคุณรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป คุณอาจจะรู้สึกว่าต้องการอะไรหวานๆ โดยเฉพาะหลังทานอาหาร และรู้สึกว่ายังรับประทานอาหารไม่เสร็จหากไม่ได้กินของหวาน
อันตรายจากการติดน้ำตาล
น้ำตาลสามารถทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้แม้ว่าคุณจะมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมก็ตาม มันไม่เพียงทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจเท่านั้น แต่ยังอาจทำให้เกิดอาการปวดหัว ท้องอืดและไม่มีพลังงานได้ คนส่วนใหญ่มักคิดว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาเพราะว่าพวกเขาไม่ได้มีอาการเวลาที่มีน้ำตาลสูงหรือต่ำ
ควรเลิกนิสัยเสพติดน้ำตาลอย่างไร?
การลดน้ำตาลลงอย่างช้าๆ นั้นอาจจะยิ่งทำให้คุณอยากของหวานมากกว่าเดิม ดังนั้นหากคุณเลือกรับประทานทีละน้อย คุณก็จะอยากรับประทานมากขึ้นอีก โดยเฉพาะในช่วง 5 วันแรกและอาจจะมีอาการอยากอย่างรุนแรง กระสับกระส่ายและนอนไม่หลับ จนเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 อาการต่างๆ ถึงเริ่มหมดไป และเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 คุณก็อาจจะไม่คิดถึงน้ำตาลอีก
คุณสามารถเริ่มได้จากการกำจัดอาหารที่มีน้ำตาลต่างๆ เช่นน้ำสลัด ซอส และโยเกิร์ตรสชาติต่างๆ และควรทำพร้อมกันทั้งครอบครัวเพื่อที่คุณจะได้ไม่อยากหยิบขนมของพวกเขามากิน เพราะหากคุณรับประทานน้ำตาลมากเกินไป ครอบครัวของคุณก็มักจะมีการรับประทานน้ำตาลมากเกินไปเช่นกัน หากคุณอยากเคี้ยว ให้ทานหมากฝรั่งหรือชา ลองเปลี่ยนจากการหาของหวานมาเป็นการทำกิจกรรมอื่นๆ หลังมื้อเย็น
เวลาอยู่ที่ทำงาน ให้อยู่ร่วมงานเลี้ยงเฉพาะตอนต้น แต่ขอตัวออกมาก่อนเมื่อเริ่มตัดเค้กเพื่อหลีกเลี่ยงความอยาก หากคุณเคยต้องออกไปทานกาแฟที่เติมน้ำตาลหรือทานของหวานกับเพื่อน ลองเปลี่ยนเป็นการออกไปเดินแทนเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานในแบบที่ดีต่อสุขภาพ
นอกเหนือจากการรับประทานตามสังคมแล้ว อารมณ์ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการอยากน้ำตาล เวลาที่คุณมีอาการอยากน้ำตาล ให้บอกตัวเองว่ารอก่อนอีก 5 นาทีเพื่อรอให้มันผ่านไป ระหว่างนั้นให้ทำอย่างอื่นเพื่อปลดปล่อยความเศร้าหรือความเหงา กิจกรรมที่มีความสุขเหล่านี้เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการเวลาที่พวกเขาต้องการน้ำตาล
หากคุณรู้สึกว่าความตั้งใจของคุณเริ่มลดลง ให้เตือนตัวเองว่าทำไมคุณถึงเลือกลดการทานน้ำตาลในตอนแรก ไม่ว่ามันจะเป็นเพราะคุณอยากมีพลังงานเพิ่มขึ้นหรือเพื่อลดน้ำหนักก็ตาม หรือคุณอาจจะขอความช่วยเหลือและกำลังใจจากเพื่อนก็ได้ การลดปริมาณน้ำตาลนั้นฟังดูเหมือนเป็นเรื่องที่เป็นไปได้และน่าเศร้า แต่หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์ ตุ่มรับรสที่ลิ้นก็จะมีการปรับตัวและของหวานต่างๆ ที่คุณเคยอยากกินนั้นก็จะไม่ได้อร่อยเท่าเดิมอีกต่อไป