กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

รักษาโรคผมร่วง ทำได้ยังไงบ้าง

รวมวิธีรักษาโรคผมร่วง รักษาด้วยยา ด้วยสมุนไพร ปรับเปลี่ยนวิถีชีวืต ทำได้ยังไงบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รักษาโรคผมร่วง ทำได้ยังไงบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคผมร่วงสามารถรักษาได้หลายวิธี เริ่มจากการใช้ยาปลูกผมซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ทั้งแบบรับประทาน และแบบทา เช่น ยาไมนอกซิดิล ยาฟีนาสเตอไรด์ ยาสไปโรโนแลคโตน
  • การศัลยกรรมปลูกผมเป็นอีกวิธีรักษาโรคผมร่วง ทั้งยังสามารถเลือกรูปแบบแนวผมที่เหมาะสมกับตนเองได้อีกด้วย
  • สมุนไพรหลายชนิดมีส่วนช่วยบรรเทาอาการโรคผมร่วงได้ เช่น ว่านหางจระเข้ รากชะเอมเทศ น้ำมันจากต้นโจโจ้บา
  • การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นอีกส่วนสำคัญในการบรรเทาโรคผมร่วง เช่น งดสูบบุหรี่ งดบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงความแข็งแรงของเส้นผม หลีกเลี่ยงความเครียด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปลูกผม รักษาผมร่วง

โรคผมร่วงอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยคือ "โรคผมร่วงจากพันธุกรรม" ในกรณีที่ผมร่วงจากการที่มีสาเหตุเมื่อทำการรักษาสาเหตุนั้นๆ แล้ว โดยทั่วไปภาวะผมร่วงจะดีขึ้น 

ในบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการรักษาโรคผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีรักษาโรคผมร่วง

1. การรักษาโดยใช้ยาปลูกผม

ยาปลูกผมที่นิยมรักษาในผู้ป่วยโรคผมร่วงมีอยู่ 3 อย่างด้วยกัน ได้แก่

  • ยาไมนอกซิดิล (Minoxidil) รูปแบบยามีทั้งแบบรับประทาน และแบบทา แต่ส่วนมากผู้ใช้ที่เป็นเพศหญิงมักนิยมใช้แบบทา เพราะตัวยารูปแบบรับประทานมักทำให้มีขน หนวด และเครายาวขึ้นผิดปกติด้วย
  • ยาฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride) เป็นยารูปแบบรับประทาน โดยจะให้รับประทานทุกวัน วันละ 1 มิลลิกรัมติดต่อกันอย่างน้อย 1 ปี เมื่อผมหยุดร่วงแล้ว ก็ยังต้องใช้ยาต่อไป เพราะหากหยุดใช้ โรคผมร่วงก็อาจกลับมาบางอีกครั้ง
  • ยาสไปโรโนแลคโตน (Spironolactone) เป็นยารูปแบบของยาขับปัสสาวะ ใช้ลดความดันโลหิต ต้านการทำงานของฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งจะทำให้เส้นผมไม่เปลี่ยนเป็นผมเส้นเล็ก

2. การใช้น้ำเหลืองของตนเองฉีดเข้าบริเวณหนังศรีษะ 

นอกจากการใช้ยา แพทย์อาจพิจารณาการรักษาเสริมด้วยการเจาะเลือดผู้ป่วยนำไปปั่นให้ได้น้ำเหลืองซึ่งจะมีสารที่ช่วงหน่วงการร่วงของเส้นผม จากนั้นจึงฉีดเข้าไปบริเวณหนังศรีษะของผู้ป่วยเดือนละครั้ง เป็นระยะเวลา 3-5 เดือน

3. การศัลยกรรมปลูกผม

นอกจากการใช้ยาแล้ว การเข้ารับการศัลยกรรมปลูกผมโดยเฉพาะก็เป็นอีกวิธีรักษาโรคผมร่วงได้ นอกจากนี้คุณยังสามารถเลือกรูปแนวผมที่เหมาะสมกับใบหน้าของตนเองกับแพทย์ได้ 

ศัลยกรรรมปลูกผมแบ่งเป็น 2 วิธีหลักๆ คือ

  • การปลูกผมแบบ FUT (Follicular Unit transplantation) เป็นการศัลยกรรมปลูกผมโดยแพทย์จะผ่าตัดนำหนังศีรษะบริเวณท้ายทอยซึ่งเป็นบริเวณที่รากผมแข็งแรง มักไม่มีการหลุดร่วงเกิดขึ้นมาปลูกผมบริเวณที่ร่วง
  • การปลูกผมแบบ FUE (Follicular Unit Extration) เป็นการศัลยกรรมปลูกผมโดยแพทย์จะเจาะเอารากผมที่ท้ายทอยมาปลูกบริเวณที่ผมหลุดร่วง โดยจะปลูกทีละกอเป็นจุดเล็กๆ ทีละจุดอย่างละเอียด

4. การทำเลเซอร์ปลูกผม LLLT

เป็นการปลูกผมด้วยเลเซอร์ Low Level Laser Therapy (LLLT) เป็นการปลูกผมโดยใช้แสงคลื่นความถี่สีแดงเข้าไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของรากผม และสร้างความแข็งแรงให้กับรากผม

5. ใช้สมุนไพร

มีสมุนไพรหลายชนิดที่ช่วยบรรเทาอาการของโรคผมร่วงได้ ไม่ว่าจะเป็น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปลูกผม รักษาผมร่วงวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 484 บาท ลดสูงสุด 89%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ว่านหางจระเข้ (Alovera) ลองใช้เจล หรือแชมพูที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ดู เพราะสมุนไพรชนิดนี้มีประโยชน์ในการบำรุงหนังศีรษะที่เสีย ช่วยกำจัดไขมันที่อุดตันตามรูขุมขนซึ่งทำให้ผมไม่สามารถงอกขึ้นใหม่ได้
  • ขิง (Ginger) ผ่านการสกัดน้ำมันออกมาหมักบนหนังศีรษะ โดยขิงมีคุณสมัติช่วยป้องกันการเกิดรังเค ทำให้เส้นผมมีน้ำหนัก ทั้งยังบำรุงหนังศีรษะให้แข็งแรง ลดปริมาณของผมที่หลุดร่วงได้
  • น้ำจากหัวหอมดิบ ลองสกัดน้ำจากหัวหอมดิบแล้วนำมาหมักที่หนังศีรษะสัปดาห์ละ 2 ครั้งแล้วตามด้วยแชมพูปกติ เพราะหัวหอมมีสารซัลเฟอร์ที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด กระตุ้นการเกิดคอลลาเจนบนหนังศีรษะ และยังช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ดี
  • รากชะเอมเทศ (Licorice) มีส่วนช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับหนังศีรษะ ลดความคันระคายเคือง และช่วยเปิดรูขุมขนบนหนังศีรษะ ทำให้ผมร่วงน้อยลง
  • น้ำมันจากต้นโจโจ้บา (Jojoba) ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับรูขุมขน ทำให้เส้นผมที่งอกใหม่แข็งแรงสุขภาพดี และยังทำให้เซลล์ผมแบ่งตัวได้เร็วขึ้นด้วย

6. ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

วิถีชีวิตที่ผิดๆ มีส่วนทำให้เกิดโรคผมร่วงได้ นอกจากการรักษากับแพทย์ ผู้ป่วยเองก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตเพื่อสุขภาพมากขึ้น เพื่อบรรเทาโรคผมร่วงให้เบาลง เช่น

  • งดสูบบุหรี่และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดปริมาณสารพิษในร่างกายไม่ให้ไปทำลายเซลล์ และลดประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนเลือด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยบำรุงความแข็งแรงของเส้นผม เช่น ธาตุเหล็ก ไขมันโอเมก้า-3 โปรตีน
  • ดูแลโรคประจำตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย เพราะหลายโรคมีส่วนทำให้เกิดอาการผมร่วงได้ หรือหากมีอาการผมร่วงจากโรคดังกล่าว ให้รีบปรึกษาแพทย์ เช่น โรคเบาหวาน โรคแพ้ภูมิตนเอง โรคซิฟิลิส โรคเซลิแอค โรคไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด หรือหาวิธีลดความเครียดลง อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่หากคุณรู้สึกว่า ตนเองกำลังเผชิญภาวะเครียด ให้อยู่ในห่างจากปัจจัยทำให้เครียดดูบ้าง แล้วลองหากิจกรรมอื่นๆ ที่ตนเองชอบทำแทน หรือลองปรึกษาจิตแพทย์เพื่อจัดการกับภาวะเครียดได้
  • ลดการใช้สารเคมี และความร้อนต่อผม หากมีอาการผมร่วงจากการย้อมสีผม น้ำยาย้อมผม ให้หยุดใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นหันไปใช้แชมพูที่อ่อนโยนต่อผิวแทน หรือหากผมร่วงจากการใช้ไดร์เป่าผมเป็นเวลนานให้หันไปใช้วิธีเป่าผมด้วยพัดลมธรรมดาแทน เพื่อให้ผมได้ฟื้นฟูความแข็งแรงอีกครั้ง

หากไม่แน่ใจว่า คุณกำลังประสบภาวะผมร่วง หรือเป็นโรคผมร่วงหรือไม่ ปัจจุบันมีบริการปรึกษาแพทย์ผิวหนังและเส้นผมออนไลน์แล้ว ตอบโจทย์คนขี้อาย คนชอบความสะดวกสบาย และคนที่ไม่มีเวลาไปพบแพทย์ด้วยตนเอง 

วิธีนี้แพทย์จะสามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นได้ว่า สิ่งที่คุณเป็นอยู่นั้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาหรือไม่ หากจำเป็นต้องได้รับการรักษา ควรรักษาอย่างไร  

โรคผมร่วงเป็นโรคที่ไม่รักษายากเกินแก้ แต่อาจต้องใช้เวลา วินัย ความสม่ำเสมอ และวิธีรักษาที่ถูกทางเพื่อให้ผมกลับมาแข็งแรง ไม่หลุดร่วงเพิ่มขึ้นอีก อย่าลังเลที่จะปรึกษาแพทย์หากมีอาการผมร่วง เพื่อที่คุณจะได้รีบหาทางรักษาโรคนี้อย่างเหมาะสมโดยเร็ว

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปลูกผม รักษาผมร่วง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vary JC, Jr (November 2015). "Selected Disorders of Skin Appendages--Acne, Alopecia, Hyperhidrosis". The Medical Clinics of North America. 99 (6): 1195–211. doi:10.1016/j.mcna.2015.07.003. PMID 26476248.
McElwee, Kevin J.; Shapiro, Jerry (June 2012). "Promising therapies for treating and/or preventing androgenic alopecia". Skin Therapy Letter. 17 (6): 1–4. PMID 22735503.
รศ.นพ.ป่วน สุทธิพินิจธรรม, หัวจ๋า...ผมลาก่อน (https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=405), 16 พฤศจิกายน 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป