คิดบวก ทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต การทำงาน และการเรียน

คิดบวก ไม่ใช่พรสวรรค์ แต่เป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนได้ เริ่มต้นจากยอมรับและเห็นคุณค่าในตัวเอง
เผยแพร่ครั้งแรก 1 มิ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
คิดบวก ทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต การทำงาน และการเรียน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การคิดบวก (Positive thinking) เป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต การเรียน และการทำงาน สามารถฝึกฝนได้โดยเริ่มต้นจากการพูดคุยหรือให้กำลังใจกับตัวเองในทุกทุกวัน และมองโลกในเชิงบวก
  • ผู้ที่ไม่สามารถคิดบวกได้จะไม่สามารถจัดการกับความเครียดหรือความรู้สึกในเชิงลบได้ดีพอ ทำให้เกิดภาวะเครียดเรื้อรังได้ และเมื่อร่างกายตกอยู่ภายใต้ความเครียดเป็นระยะเวลานานก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายด้าน
  • ตัวอย่างผลเสียหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากภาวะเครียดเรื้อรัง เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง อ่อนเพลีย อาการของโรคประจำตัวรุนแรงขึ้น ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน
  • การฝึกเป็นคนคิดบวกจะต้องใช้เวลา ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ภายในวันเดียว คุณจะต้องฝึกคิดบวกเป็นประจำเพื่อให้สมองเกิดความเคยชินกับการคิดบวกจนกลายเป็นคนมองโลกในแง่ดี
  • ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถคิดบวกได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง หากคุณไม่สามารถจัดการกับความเครียดหรือความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้ การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจทำให้มองเห็นสาเหตุได้ชัดขึ้น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาแพทย์

การคิดบวก (Positive thinking) เป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต การเรียน และการทำงาน

ผู้ที่ไม่มีทักษะในการคิดบวก มองโลกในแง่ลบ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า คนคิดลบ (Negative people) มักเป็นคนที่รู้สึกเครียดและหงุดหงิดง่ายไม่ว่าจะเจอกับเรื่องอะไรก็ตาม ทำให้ดูเป็นคนที่ไม่น่าเข้าใกล้ อีกทั้งความเครียดเรื้อรังยังส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและใจอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การคิดบวกเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนได้ โดยเริ่มต้นจากปรับความคิดของตัวเอง มองหาข้อดีของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต เพียงเท่านี้คุณก็จะกลายเป็นคนคิดบวก (Positive people) ได้ไม่ยาก

ทำไมเราควรเป็นคนคิดบวก?

การคิดบวก เป็นหนึ่งในวิธีการจัดการความเครียด รวมไปถึงความรู้สึกเชิงลบต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพ

ผู้ที่ไม่สามารถคิดบวกได้จะไม่สามารถจัดการกับความเครียดหรือความรู้สึกในเชิงลบได้ดีพอ ทำให้เกิดภาวะเครียดเรื้อรังได้ และเมื่อร่างกายตกอยู่ภายใต้ความเครียดเป็นระยะเวลานานก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายด้าน

ตัวอย่างผลเสียหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากภาวะเครียดเรื้อรัง

คนที่ไม่คิดบวก มีความเครียด สามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ เช่น

  • ปวดศีรษะ ปวดหลัง อ่อนเพลีย เนื่องจากต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือที่เรียกว่า ฮอร์โมนความเครียดออกมาเป็นจำนวนมาก
  • อาการของโรคประจำตัวรุนแรงขึ้น เช่น อาการช็อกในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากฮอร์โมนคอร์ติซอลไปกระตุ้นให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นหรือลดต่ำลงอย่างผิดปกติ
  • ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เนื่องจากความเครียดเรื้อรังไปกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ลดจำนวนการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิด ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสหรือเกิดการอักเสบได้ง่ายขึ้น
  • เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน เพราะความเครียดทำให้นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้รู้สึกหิวบ่อย รับประทานอาหารปริมาณมากขึ้นนั่นเอง

ผลเสียเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดจากภาวะความเครียดเรื้อรังเท่านั้น ซึ่งการเป็นคนคิดบวกจะช่วยให้คุณจัดการกับความเครียดได้ดีขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิต การเรียน และการทำงานดีขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

จะเริ่มต้นฝึกเป็นคนคิดบวกได้อย่างไร?

การฝึกเป็นคนคิดบวก สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการพูดคุยหรือให้กำลังใจกับตัวเองในทุกทุกวัน และมองโลกในเชิงบวก เคล็ดลับต่อไปนี้เป็นแนวทางในการเริ่มต้นฝึกให้สมองคิดในแง่บวกได้ง่ายขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. เริ่มต้นจากการยอมรับตัวเอง

ความทุกข์ส่วนมากมักเกิดจากการที่เราไม่ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น ซึ่งการที่คุณมองไม่เห็นคุณค่า ข้อดี หรือจุดแข็งของตัวเอง จะทำให้เป็นคนขาดความมั่นใจ ฝังใจว่าตัวเองไม่สามารถทำอะไรสำเร็จได้ จนกลายเป็นคนคิดลบไปโดยปริยาย

หากคุณไม่รู้จะเริ่มต้นยอมรับตัวเองอย่างไร มีหลายบททดสอบที่ช่วยให้คุณเห็นข้อดีข้อเสียของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การทำ SWOT มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ตัวเอง ดังนี้

  • S - Strengths จุดแข็ง เช่น สามารถสื่อสารกับคนแปลกหน้า จัดสรรการทำงานได้ดี หรือจริงจังกับการทำงาน
  • W - Weakness จุดอ่อนของตัวเอง เช่น เฉื่อยชา ไม่กล้าแสดงออก หรือขี้หลงขี้ลืม
  • O - Opportunities โอกาสในชีวิต เช่น ครอบครัวให้การสนับสนุน ได้รับโอกาสเข้าทำงาน หรือได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอเวลา
  • T - Threats อุปสรรคในชีวิต เช่น วิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (New normal) ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน เศรษฐกิจ หรือการเดินทาง

การทำ SWOT เป็นวิธีวิเคราะห์ตัวเองง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวมเกี่ยวกับตัวเองชัดเจนขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจุดแข็งที่สามารถนำมาใช้ในการทำงาน จุดอ่อนที่ต้องปรับปรุง รวมไปถึงโอกาสในชีวิต ซึ่งจะช่วยให้เห็นคุณค่าและยอมรับในตัวเองได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

2. ให้ความสำคัญกับข้อดีของสิ่งที่ทำ

การมองเห็นข้อดีของสิ่งที่ทำและให้ความสำคัญกับสิ่งนั้นจะช่วยให้รู้สึกดีต่อสิ่งที่กำลังทำมากยิ่งขึ้น และทำให้มีกำลังใจในการทำงานมากขึ้นตามไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น

  • มองเห็นประโยชน์ของการทำงานที่ทำให้ได้พัฒนาศักยภาพของตัวเอง และมีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
  • มองเห็นประโยชน์ของคำติชมที่ทำให้ได้รู้ข้อผิดพลาดของงาน เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนาและแก้ไขในงานชิ้นต่อไป

แต่หากคุณคิดเกี่ยวกับงานในแง่ลบเพียงอย่างเดียว เช่น งานหนัก งานยาก หรือเอาแต่คิดว่าตัวเองไม่สามารถทำงานได้สำเร็จ จะทำให้ไม่สนุกกับการทำงาน และการคิดลบเป็นประจำจะทำให้สมองเกิดความเคยชินจนกลายเป็นคนที่มีนิสัยคิดลบได้

3. แบ่งปันพลังงานบวกให้กับคนรอบข้าง

การแบ่งปันพลังงานบวก ไม่ว่าจะคำอวยพรหรือคำขอบคุณอย่างจริงใจให้กับคนรอบข้างที่พบเจอ ไม่ว่าจะเป็นการที่เขาเข้ามาช่วยเหลือเรา หรือเราเข้าไปช่วยเหลือเขา ถือเป็นหนึ่งในเคล็ดลับที่ช่วยให้สมองคิดบวกได้ง่ายขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การรู้จักขอบคุณผู้อื่นจะทำให้คุณมองเห็นสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นกับในชีวิต เช่น ขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่ช่วยเหลือ ขอบคุณพ่อแม่ที่ให้กำเนิด หรือแม้กระทั่งขอบคุณตัวเองที่ยังมีชีวิตอยู่
  • การรู้จักช่วยเหลือผู้อื่นจะทำให้คุณเห็นคุณค่าของตัวเองมากขึ้น เช่น หลีกทางให้ผู้ที่กำลังเร่งรีบ หรือให้ความช่วยเหลือที่ผู้ที่กำลังหลงทาง

ข้อดีของการแบ่งปันพลังงานบวกให้กับผู้อื่น คือ คุณเรียนรู้ที่จะสร้างพลังงานบวกได้ด้วยตัวเอง และส่งต่อให้ผู้อื่นผ่านความปรารถนาดี ซึ่งถือเป็นการพลังงานบวกเช่นเดียวกัน การทำสิ่งนี้เป็นประจำก็จะช่วยให้สมองเคยชินกับการคิดบวกได้ไม่ยาก

4. ใช้เวลาอยู่กับคนคิดบวก

เมื่อคุณอยู่ใกล้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นระยะเวลานาน คุณย่อมได้รับอิทธิพลบางอย่างมาจากเขาโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะพลังงานด้านลบหรือบวก

ตัวอย่างเช่น เวลาที่ในห้องเรียนหรือในงานเลี้ยงมีคนที่อารมณ์ไม่ดีมากๆ ที่แสดงกิริยาออกมาอย่างชัดเจน ก็ย่อมทำให้คนอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เขารู้สึกอึดอัดตามไปด้วย การอยู่ใกล้กับคนที่คิดบวกก็เช่นกัน

เมื่อคุณอยู่ในภาพแวดล้อมที่มีแต่คนคิดบวก คุณก็จะได้รับอิทธิพลจากการคิดบวกโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นมุมมองที่มีต่อเหตุการณ์ที่เจอเหมือนกัน การแก้ปัญหา จนไปถึงแนวคิดการใช้ชีวิตบางอย่างที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตัวเองได้

5. ให้กำลังใจตัวเองในทุกๆ วัน

ในทุกเช้ายามตื่นนอนและทุกคืนก่อนนอน อย่าลืมพูดสิ่งดีๆ หรือให้กำลังใจตัวเอง

ใครหลายคนมักมองข้ามสิ่งนี้ ชอบตัดสินตัวเองในด้านลบอยู่เสมอ ซึ่งนั่นส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในตัวเองมาก จนอาจทำให้รู้สึกไม่อยากทำงานหรือเรียนหนังสือ เพราะการคิดในแง่ลบจะทำให้รู้สึกต่อต้านต่อสิ่งนั้นโดยไม่รู้ตัว

ลองปรับเปลี่ยนความคิดของตัวเอง ฝึกพูดสิ่งดีๆ กับตัวเองในทุกทุกวัน เช่น วันนี้ฉันเก่งมากที่สามารถทำงานเสร็จทันเวลา วันนี้ฉันเก่งมากที่เรียนภาษาอังกฤษครบ 1 ชั่วโมง

การพูดดีๆ กับตัวเองทุกวันจะส่งผลให้มีมุมมองที่ดีต่อตัวเองมากขึ้น ทำให้การคิดบวกทำได้ง่ายขึ้นตามไปด้วย

6. รู้จักปฏิเสธในสิ่งที่ไม่อยากทำ

คนเราไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจได้ การที่คุณแบกรับทุกเรื่องมากเกินไปจะทำให้รู้สึกว่าสิ่งนั้นเป็นภาระ เกิดความเครียด และกลายเป็นคนคิดลบได้ในที่สุด

การไม่กล้าปฏิเสธในสิ่งที่ไม่อยากทำก็เหมือนกับการไม่เคารพตัวเอง เป็นการทำร้ายตัวโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะเรื่องที่ไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์แต่อย่างใด เช่น การทำงานหรือทำการบ้านให้ผู้อื่น

คุณควรรู้จักปฏิเสธสิ่งที่ไม่อยากทำ แสดงเหตุผลที่ทำให้ไม่อยากทำสิ่งนั้น แต่หากการปฏิเสธนำพามาซึ่งการทะเลาะเบาะแว้ง คนๆ นั้นก็อาจเป็นหนึ่งในคนคิดลบ ไม่มีเหตุผล ซึ่งการหลีกเลี่ยงบุคคลเหล่านั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุด

การจดบันทึกเรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้นในทุกๆ วัน อาจช่วยเรื่องคิดบวกได้

หลังจากที่เริ่มต้นฝึกเป็นคนคิดบวกแล้ว อย่าลืมจดบันทึกเรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้นในทุกวัน จะทำให้การฝึกคิดบวกเป็นรูปธรรมมากขึ้น ช่วยให้สมองจดจำกิจกรรมที่ทำ รวมไปถึงข้อดีของการคิดบวกได้อย่างชัดเจน

อีกทั้งในวันที่รู้สึกท้อ การนำบันทึกเหล่านี้มาเปิดอ่านก็อาจช่วยเป็นกำลังใจให้คุณก้าวข้ามอุปสรรคไปได้

การฝึกเป็นคนคิดบวกจะต้องใช้เวลา ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ภายในวันเดียว คุณจะต้องฝึกคิดบวกเป็นประจำเพื่อให้สมองเกิดความเคยชินกับการคิดบวกจนกลายเป็นคนมองโลกในแง่ดี

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถคิดบวกได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง หากคุณไม่สามารถจัดการกับความเครียดหรือความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้ การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจทำให้มองเห็นสาเหตุได้ชัดขึ้น รวมถึงได้รับคำแนะนำหรือวิธีการจัดการอารมณ์ที่เหมาะสำหรับตัวคุณโดยเฉพาะ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาแพทย์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นายอานนท์ ฉัตรทอง นักวิชาการสาธารณสุข กองสุขภาพจิตสังคม, ความสุข...สร้างได้ทุกวัน (คิดบวก...ชีวิตบวก) (http://www.prdmh.com/สาระสุขภาพจิต/สาระน่ารู้สุขภาพจิต/377-ความสุข-สร้างได้ทุกวัน-คิดบวก-ชีวิตบวก.html).
Adrienne Santos-Longhurst, Benefits of thinkink positively, and how to do it (https://www.healthline.com/health/how-to-think-positive), 21 February 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
ตะคริว เกิดจากอะไร ป้องกัน และรักษาอย่างไรให้หายไวที่สุด
ตะคริว เกิดจากอะไร ป้องกัน และรักษาอย่างไรให้หายไวที่สุด

ตะคริวเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีป้องกันหรือไม่ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องรักษาอย่างไรให้หายไวที่สุด

อ่านเพิ่ม