วิธีการแช่เท้าในน้ำส้มสายชู

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีการแช่เท้าในน้ำส้มสายชู

เราใช้งานเท้าของเราหนักมากในแต่ละวัน เท้าต้องรับน้ำหนักร่างกายของเราตลอดทั้งวันและมักจะด้วยการใส่รองเท้าที่ไม่สบาย ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่มีหลายคนเกิดตุ่มน้ำ มีอาการปวดที่เท้า มีกลิ่นเท้า หรือมีการติดเชื้อราที่เท้า แต่มีวิธีการง่ายๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

ทำไมต้องน้ำส้มสายชู

น้ำส้มสายชูนั้นเป็นกรด acetic ที่เจือจางและไม่เป็นอันตราย เรามีการนำมาใช้ทำอาหารและมันก็สะอาดและยังสามารถช่วยรักษาเท้าของเราได้อีกด้วย งานวิจัยหนึ่งพบว่าน้ำส้มสายชูนั้นมีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อราที่มีประสิทธิภาพมากกว่าสารรักษาสภาพอาหารอื่นๆ และยังปลอดภัยเพียงพอที่จะรับประทาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คำเตือน คุณควรหลีกเลี่ยงวิธีนี้หากคุณเป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นควรจะให้แพทย์รักษาอาการเกี่ยวกับเท้าที่เป็น

สำหรับการติดเชื้อราที่เท้า

การติดเชื้อราที่เท้านั้นมักจะเกิดที่นิ้วโป้ง โดยทำให้นิ้วโป้งนั้นแดงและผิวหนังลอก และมักจะทำให้เกิดอาการคันและแสบ

ในรายที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถใช้การแช่เท้าในน้ำส้มสายชูได้ ฤทธิ์ฆ่าเชื้อราในน้ำส้มสายชูจะดีต่อผู้ที่มีภาวะนี้ ให้แช่เท้าวันละ 10-15 นาทีลงน้ำอ่างน้ำที่ใส่น้ำส้มสายชูจนกระทั่งการติดเชื้อนั้นหายไป มันอาจจะต้องใช้เวลา 2-3 สัปดาห์หรือนานกว่านั้นก่อนที่จะเริ่มเห็นผล แต่การที่อาการดีขึ้นนั้นก็แสดงว่าคุณได้ทำการรักษาการติดเชื้อรามานานเพียงพอเช่นกัน

หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง หรือลุกลามไปทั่วเท้า ควรไปพบแพทย์ หากคุณสังเกตว่าเท้าของคุณนั้นแห้งและแตกมากขึ้น คุณอาจจะลดการแช่เท้าเหลือเพียงสัปดาห์ละ 2 ครั้งแทนวันละครั้ง

สำหรับผู้ที่มีกลิ่นเท้า

น้ำส้มสายชูสามารถกำจัดเชื้อที่เท้าได้ซึ่งจะช่วยกำจัดหรือลดกลิ่นเท้าได้

ก่อนที่จะแช่เท้า ให้ล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ก่อนแช่ลงในน้ำส้มสายชู

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกเหนือจากการแช่เท้าแล้ว การเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตันั้นก็เป็นเรื่องสำคัญในการรักษากลิ่นเท้าเช่นกัน เช่นการเปลี่ยนมาใส่ลองเท้าที่ทำจากหนังหรือผ้าใบ เพื่อให้เท้าได้สัมผัสกับอากาศมากขึ้นแทนที่จะใช้รองเท้าที่ทำจากพลาสติก และใส่ถุงเท้าที่ทำจากคอตตอนหรือขนสัตว์ เวลาที่อยู่ภายในบ้านอาจจะเดินเท้าเปล่าเป็นต้น

คำแนะนำแบบสั้นๆ

  • ใส่ถุงเท้าที่ทำจากคอตตอนหรือขนสัตว์ที่ระบายอากาศได้ดี
  • ใส่รองเท้าผ้าใบหรือหนังซึ่งจะทำให้ระบายอากาศได้
  • เดินเท้าเปล่าเวลาอยู่บ้าน

สำหรับหูด

น้ำส้มสายชูนั้นมีฤทธิ์ผลัดเซลล์ผิวอ่อนๆ ดังนั้นจึงสามารถนำมาใช้รักษาตาปลาและหูดได้ หลังจากแช่ คุณอาจจะใช้หินช่วยขัดผิวเพื่อกำจัดเซลล์ผิวที่แข็ง หรืออาจจะใช้น้ำส้มสายชูทาที่บริเวณที่มีอาการโดยตรงโดยใช้สำลีก็ได้

สำหรับอาการเท้าแห้ง

การแช่เท้าในน้ำส้มสายชูนั้นจะช่วยลดอาการเท้าแตกและแห้งได้ โดยให้ใช้น้ำเย็น เนื่องจากน้ำร้อนนั้นจะทำให้ผิวหนังยิ่งแห้ง แช่เท้าทุกคืน ก่อนทาครีมเพิ่มความชุ่มชื้นและใส่ถุงเท้า การแช่เท้าบ่อยเกินไปหรือนานเกินไปอาจจะยิ่งทำให้เท้ายิ่งแห้งได้ ดังนั้นควรแช่ให้เหมาะสม

การผสมน้ำส้มสายชูสำหรับการแช่เท้า

น้ำส้มสายชูนั้นจะไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายที่เท้า แต่คุณก็ควรจะเจือจางมันก่อนนำมาแช่เท้า โดยให้ใช้น้ำส้มสายชู 1ส่วนต่อน้ำ 2 ส่วน

เวลาที่แช่นั้นอาจจะมีกลิ่นแรง และกลิ่นดังกล่าวนั้นจะค่อยๆ หายไปเมื่อน้ำส้มสายชูนั้นแห้งไป หรือคุณอาจจะใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อเปลี่ยนกลิ่นก็ได้

สรุป

น้ำส้มสายชูนั้นเป็นวิธีการรักษาโรคเกี่ยวกับเท้าที่ไม่แพงและทำได้ง่าย และการแช่เท้าหลังจากวันที่ยาวนานนั้นก็ทำให้คุณผ่อนคลายเช่นกัน


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Make a Vinegar Foot Soak. Healthline. (https://www.healthline.com/health/how-to-make-a-vinegar-foot-soak)
How to make a vinegar foot soak: Tips, benefits, and risks. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323751)
4 Ways You Can Avoid Stinky Feet. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/4-sure-fire-ways-you-can-avoid-stinky-feet/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
การติดเชื้อราที่เล็บเท้า
การติดเชื้อราที่เล็บเท้า

คุณมีเล็บเท้าที่หนาและเป็นสีเหลืองหรือไม่?

อ่านเพิ่ม
ข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
ข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

อ่านเพิ่ม