การย่างถือเป็นหนึ่งในวิธีทำอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุด เพราะเราไม่ต้องใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร ทำให้ลดการนำไขมันและแคลอรีเข้าสู่ร่างกาย แต่ทั้งนี้อาหารประเภทปิ้งย่างก็อาจแฝงไปด้วยอันตราย อาหารที่ยังไม่สุก หรือการเตรียมเนื้อไม่เหมาะสมสามารถทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ นอกจากนี้การทานส่วนที่ไหม้เกรียมบ่อยเกินไปก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งบางชนิด ซึ่งวันนี้เรามีหลากเคล็ดลับการย่างอาหารที่ปลอดภัยมาฝาก คราวนี้รับรองได้เลยว่าคุณจะได้เพลิดเพลินกับอาหารปิ้งย่างโดยไม่ต้องกังวลอีกต่อไป
เคล็ดลับการทำอาหารให้ปลอดภัย
ในแต่ละปี มีชาวอเมริกันกว่า 76 ล้านคนที่เป็นโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งมักเกิดจากการทานเนื้อ สัตว์ปีก และสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่ไม่สุก ทั้งนี้เราสามารถพบแบคทีเรียอย่าง E.coli และซาลโมเนลลาได้ทั่วไปในห้องครัว เนื้อวัว และเนื้อสัตว์ หากคุณไม่ทำอาหารโดยใช้อุณหภูมิที่สูงมากพอในการฆ่าแบคทีเรียหรือเชื้อโรคชนิดอื่นๆ มันก็จะไปตกค้างอยู่ในทางเดินอาหาร และทำให้มีอาการอาเจียน ปวดท้องเกร็ง และท้องเสีย อย่างไรก็ตาม โดยมากแล้วโรคอาหารเป็นพิษจะอยู่ในระดับเบา แต่มันก็สามารถรุนแรงพอที่จะทำให้คนกว่า 325,000 คนเข้าโรงพยาบาลในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม การป้องกันโรคอาหารเป็นพิษเริ่มได้จากการเตรียมอาหาร สำหรับเคล็ดลับที่เราอยากแนะนำมีดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
1)แยกอาหาร: คุณควรแยกเนื้อดิบออกจากผลไม้ ผัก และอาหารชนิดใดๆ ก็ตามที่ไม่ได้ตั้งใจว่าจะทำให้สุก เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ให้คุณหั่นเนื้อดิบโดยแยกจากอาหารชนิดอื่นๆ หลังจากนั้นให้คุณล้างเขียง จาน และภาชนะที่เนื้อดิบสัมผัสโดยใช้น้ำร้อนและสบู่
2)ทำความสะอาด: ให้คุณล้างมือด้วยน้ำอุ่นและสบู่อย่างน้อย 20 วินาทีก่อนเตรียมอาหารและหลังจากเตรียมเนื้อดิบ
3)เก็บในที่เย็น: ให้คุณเก็บเนื้อในตู้เย็นจนกว่าคุณจะนำมาย่าง หากมีเนื้อเหลือจากการย่าง ให้คุณเลือกว่าจะนำมันไปเก็บในที่อุ่น (140 องศาฟาเรนไฮต์หรือสูงกว่านี้) หรือนำไปแช่เย็นภายใน 2 ชั่วโมง หรือภายใน 1 ชั่วโมง ถ้าอุณหภูมิข้างนอกมากกว่า 90 องศาฟาเรนไฮต์
4)ปรุงอาหารให้ทั่ว: สีภายในของเนื้อไม่ได้ใช้เป็นแนวทางเพื่อบอกว่าเนื้อสุกเสมอไป หากคุณอยากมั่นใจว่าเนื้อสุกทั้งชิ้น ให้คุณใช้เทอร์โมมิเตอร์สอดเข้าไปในส่วนที่หนาที่สุดของเนื้อ และปรุงอาหารจนถึงอุณหภูมิดังนี้
- ไก่ทั้งตัว: 165 องศาฟาเรนไฮต์
- ไก่หรืออกไก่ไร้กระดูก: 165 องศาฟาเรนไฮต์
- ไก่บด: 165 องศาฟาเรนไฮต์
- แฮมเบอเกอร์หรือเนื้อวัวบด: 160 องศาฟาเรนไฮต์
- เนื้อย่างหรือสเต็คย่าง: สุกปนดิบ 145 องศาฟาเรนไฮต์ สุกปานกลาง 160 องศาฟาเรนไฮต์ สุกทั้งชิ้น 170 องศาฟาเรนไฮต์
- พอร์คช็อป เทนเดอร์ลอยน์ หรือเนื้อย่าง: 145 องศาฟาเรนไฮต์ โดยพัก 3 นาที
- หมูสับหรือเครื่องใน: 160 องศาฟาเรนไฮต์
- ปลา: 145 องศาฟาเรนไฮต์
- ฮอทดอค: 165 องศาฟาเรนไฮต์
ความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อย่างและโรคมะเร็ง
คุณอาจกังวลเกี่ยวกับการย่างเพราะคุณน่าจะเคยได้ยินมาว่าการทานเนื้อที่ไหม้เกรียมสามารถทำให้เสี่ยงต่อโรคมะเร็งบางชนิดเพิ่มขึ้น เมื่อย่างเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อสัตว์ปีก หรือปลาผ่านไฟหรือใช้อุณหภูมิที่สูงมาก โปรตีนในกล้ามเนื้อจะทำปฏิกิริยากับความร้อนจนเกิดสารประกอบที่เรียกว่า Heterocyclic Amines (HCAs) ซึ่งมีการแสดงให้เห็นว่า สารดังกล่าวสามารถทำให้ DNA ในเซลล์เปลี่ยนไป และนั่นก็จะนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งบางชนิด
นอกจากนี้เมื่อไขมันจากเนื้อหยดลงบนถ่าน มันก็จะจุดไฟและทำให้เกิดควันที่มีสารก่อมะเร็งอย่าง Polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) เมื่อควันเพิ่มขึ้น สารเคมีเหล่านี้ก็จะไปสะสมอยู่ภายในเนื้อ ซึ่งการได้รับสารเหล่านี้เข้าไปในร่างกายมีความเชื่อมโยงกับโรคมะเร็งบางชนิด
อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยที่พบความเชื่อมโยงระหว่างการทานเนื้อย่างกับการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะถ้าปรุงเนื้อจนสุกทั่วทั้งชิ้น นอกจากนี้มีงานวิจัยพบว่า การทานเนื้อที่ไหม้เกรียมเป็นประจำจะทำให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนเพิ่มขึ้น 60%
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าคุณไม่จำเป็นต้องเลิกทานอาหารย่างอย่างถาวร การย่างยังถือเป็นการปรุงอาหารที่ปลอดภัย เพียงแต่คุณต้องควบคุมการทานให้อยู่ในระดับปานกลางและทำตามวิธีที่ปลอดภัยดังนี้
- เลือกใช้เนื้อปลอดมันและหนัง นอกจากดีต่อสุขภาพมากขึ้นแล้ว มันก็ยังช่วยจำกัดการปะทุของไฟที่สามารถทำให้เนื้อไหม้เกรียม
- นำเนื้อไปอุ่นในไมโครเวฟ 2 นาทีก่อนนำไปย่าง ซึ่งมันสามารถลด HCAs ได้ประมาณ 90% นอกจากนี้ให้คุณซับเนื้อหลังนำออกมาจากไมโครเวฟเพื่อให้น้ำหยดลงไปในเตาถ่านน้อยลง
- ปรุงเนื้อให้นานขึ้นโดยใช้อุณหภูมิที่ต่ำลง (ต่ำกว่า 325 องศาฟาเรนไฮต์)
- ใช้กระดาษฟอยล์รองใต้เนื้อและเจาะรูให้ได้หลายรู การทำเช่นนี้สามารถช่วยลดน้ำที่จะหยดลงในเตาย่าง และช่วยให้ควันติดที่เนื้อน้อยลง
- ถ้าอยากให้ความร้อนและรอยไหม้บนเนื้อลดลง ให้คุณยกตะแกรงให้สูงขึ้น และย้ายถ่านไปยังด้านข้างของเตา
- พลิกเนื้อทุกนาที การทำเช่นนี้อย่างรวดเร็วจะช่วยป้องกันไม่ให้สาร HCAs ก่อตัวขึ้น
- ก่อนทานเนื้อย่าง ให้คุณตัดส่วนที่ไหม้เกรียม
- นำผักมาย่าง ซึ่งมันไม่ทำให้เกิดสาร HCAs อีกทั้งยังมีแคลอรีและไขมันต่ำ
- ล้างตะแกรงให้ทั่วหลังจากใช้แต่ละครั้งเพื่อกำจัดเศษเนื้อที่ไหม้เกรียม