กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

จะคุมกำเนิดอย่างไรถ้ายังไม่พร้อมมีลูก

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
จะคุมกำเนิดอย่างไรถ้ายังไม่พร้อมมีลูก

หากครอบครัวไหนยังไม่มีความพร้อมที่จะมีลูก การคุมกำเนิดจึงเป็นเรื่องที่ดีและเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการมีลูก 1 คนนั้นหมายถึงว่าสามีและภรรยานั้นต้องมีการเตรียมตัวทั้งเวลา เงินทองให้พร้อม เพื่อที่ลูกที่เกิดมาจะได้เป็นเด็กที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะหากไม่มีความพร้อมลูกที่เกิดมาก็อาจจะเป็นภาระให้กับพ่อแม่ หรืออาจจะส่งผลกระทบต่อสังคมได้ การคุมกำเนิดสำหรับครอบครัวที่คิดว่ายังไม่มีความพร้อมจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เราสามารถแบ่งการคุมกำเนิดออกเป็น 2 ฝ่าย คือ การคุมกำเนิดในฝ่ายชาย และคุมกำเนิดในฝ่ายหญิง

การคุมกำเนิดในฝ่ายชาย

ด้วยหลักการง่ายๆ ก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ อย่าให้ตัวอสุจิหลั่งเข้าไปในช่องคลอด โดยอาจจะปฏิบัติได้ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. ใส่ถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
    หากต้องการคุมกำเนิดแม้จะมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาของตนเองก็ตาม การสวมถุงยางทุกครั้งจะเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ได้ผลมากที่สุด โอกาสที่จะตั้งครรภ์ทั้งๆ ที่สวมถุงยางอนามัยมีโอกาสได้น้อยมากค่ะ จะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ถุงยางรั่ว หรือ นำถุงยางอนามัยที่มีเชื้ออสุจิออกจากช่องคลอดไม่ดี ทำให้เกิดการเล็ดลอดของน้ำอสุจิเข้าไปในช่องคลอดได้ โดยปกติอัตราความเป็นไปได้ที่ถุงยางอนามัยจะรั่วมีไม่ถึง 1% ค่ะ ยกเว้นว่าเก็บรักษาถุงยางไม่ดีหรือตอนสวมถุงยางทำไม่ถูกต้องทำให้ถุงยางฉีกขาด
  2. วิธีหลั่งน้ำอสุจิภายนอกช่องคลอด
    วิธีนี้เป็นความเข้าใจผิดของผู้ชายที่คิดว่าแค่หลั่งน้ำอสุจิภายนอกแล้วจะคุมกำเนิดได้ เพราะการหลั่งภายนอกยังมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์สูง เพราะว่าระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์อาจจะมีเชื้ออสุจิเล็ดลอดออกมาได้ แต่หากใช้วิธีนี้ร่วมกับการสวมถุงยางอนามัยจะทำให้โอกาสตั้งครรภ์ต่ำที่สุด

การคุมกำเนิดในฝ่ายหญิงมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน

  1. ทานยาคุมกำเนิด
    การทานยาคุมกำเนิดนั้นจะต้องทานต่อเนื่องทุกวันนะคะ หากลืมทาน 1 วัน เดือนนั้นทั้งเดือนก้จะคุมกำเนิดไม่ได้แล้วค่ะ
  2. ทานยาคุมกำเนิดชนิดทานครั้งเดียว
    ยานี้ในทางการแพทย์ไม่มแนะนำให้ใช้คุมกำเนิดเป็นประจำ แต่ให้ใช้ในกรณีที่มีความจำเป็นเท่านั้นค่ะ ยานี้จะสามารถหยุดการติดของไข่ที่ผสมแล้วบริเวณมดลูกได้ ควรทานยานี้ 1 เม็ดภายใน 1 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ และถ้ามีเพศสัมพันธ์อีกครั้งภายใน 3 ชั่วโมงถัดมา ควรกินยาอีก 1 เม็ดค่ะ ยานี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงคือ รอบการมีประจำเดือนเปลี่ยนไป และอาจเกิดเลือดออกกระปิดกระปอยนอกฤดูได้ ถ้ารับยานี้บ่อยๆ ดังนั้นจึงเป็นวิธีที่มีผลข้างเคียง
  3. ฉีดยาคุมกำเนิด
    ยาชนิดนี้จะมีตัวยาโปเจสเตอโรนผสมกับยาอื่นที่ทำให้ออกฤทธิ์นาน ฉีดครั้งหนึ่งจะออกฤทธิ์ 12 สัปดาห์ วันที่เหมาะสมที่จะฉีดคือ วันที่กำลังมีประจำเดือนมาวันแรกๆ หรือเพิ่งหมดประจำเดือนไปใหม่ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ตั้งครรภ์แน่ๆ ค่ะ อย่างไรก็ดี ยานี้มีผลข้างเคียงหากรับยานานๆ เพราะยานี้จะไปกดการทำงานของรังไข่และมดลูก จะทำให้ไม่มีการสร้างระดูตามปกติ มดลูกจะมีขนาดเล็กลง เมื่อฉีดหลายๆ เข็มอาจจะไม่มีระดู แต่เมื่อเลิกฉีดก็จะมีระดูตามปกติ แต่บางราย ประมาณ 6-9 เดือนหลังฉีดเข็มแรก อาจจะมีเลือดออกคล้ายระดูออกมาทางช่องคลอดเป็นๆ หายๆ ได้ค่ะ
  4. สวมถุงยางอนามัย (สำหรับผู้หญิง)
    ปัจจุบันนี้ได้มีบริษัทผลิตถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีสามารถป้องกันน้ำอสุจิเข้าสู่มดลูกได้ แต่การสวมอาจจะไม่สะดวกเหมือนกับถุงยางอนามัยของผู้ชาย

จะเห็นว่าการคุมกำเนิดที่ง่าย ปลอดภัย ประหยัดและเห็นผลที่สุดได้แก่ ให้ผู้ชายสวมถุงยางอนามัยร่วมกับการที่ฝ่ายชายหลั่งน้ำอสุจิภายนอกค่ะ นอกจากจะลดอัตราเสี่ยงในการตั้งครรภ์แล้วยังช่วยป้องกันโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น เริม หูด เป็นต้น


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Pick the Birth Control Method That’s Right for You. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/how-to-pick-the-birth-control-method-thats-right-for-you/)
How to Use Birth Control Pills Effectively. WebMD. (https://www.webmd.com/sex/birth-control/how-to-take-birth-control-pills#1)
How to Avoid Pregnancy, When to Take a Test, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/birth-control/how-to-avoid-pregnancy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อารมณ์แปรปรวน? บางทีคุณอาจจะกำลังตกไข่อยู่
อารมณ์แปรปรวน? บางทีคุณอาจจะกำลังตกไข่อยู่

ความต้องการทางเพศของผู้หญิง รอบประจำเดือน และการตั้งครรภ์

อ่านเพิ่ม