ก่อนจะทราบคำตอบว่าประจำเดือนมาช้าเกิดจากอะไร แค่ไหนถึงเรียกว่าประจำเดือนมาช้า ควรเข้าใจเรื่องกระบวนการเกิดรอบเดือนหรือประจำเดือนเสียก่อน
รอบประจำเดือนปกติของผู้หญิงนั้น เกิดจากการทำงานของต่อมใต้สมองบริเวณศีรษะ รังไข่ และมดลูกในอุ้งเชิงกราน ทำงานประสานงานกันอย่างสลับซับซ้อน ในแต่ละรอบของประจำเดือนจะมีการตกของไข่ที่รังไข่ และมีการสร้างฮอร์โมนอย่างเพียงพอที่จะช่วยพัฒนาเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาตัว พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิของไข่ที่ตกจากฝ่ายหญิง กับอสุจิจากฝ่ายชาย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
แต่ถ้ารอบเดือนใดไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น เยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวนั้นก็จะหลุดลอดออกมาเป็นประจำเดือน และเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการผลิตไข่อันสมบูรณ์ของรอบเดือนต่อๆ ไป
ตามคำจำกัดความของสหพันธ์สูตินรีเวชแพทย์ระหว่างชาติให้คำจัดความเกี่ยวกับประจำเดือนของผู้หญิง ดังนี้
- ความถี่ของรอบประจำเดือน
- ถี่ น้อยกว่า 24 วัน
- ปกติ 24-38 วัน
- ห่าง มากกว่า 38 วัน
- ระยะเวลาของรอบประจำเดือน
- นาน มากกว่า 8 วัน
- ปกติ 4-8 วัน
- สั้น น้อยกว่า 4 วัน
ในที่นี้จะกล่าวถึงภาวะผิดปกติของรอบประจำเดือนที่ห่างเกิน 38 วัน หรือประจำเดือนมาช้าเกินกำหนด
โดยการที่ประจำเดือนมาช้านั้น เราต้องทำการแยกจากภาวะประจำเดือนขาดจากการตั้งครรภ์เสียก่อน ซึ่งเอาจจะสำรวจเบื้องต้นจากการคุมกำเนิดของตัวเองว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด มีอาการที่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ เช่น อาการแพ้ท้อง
หรืออาจจะทำการตรวจปัสสาวะดูการตั้งครรภ์ด้วยตนเองก่อนที่บ้าน หรือถ้าไม่แน่ใจ สามารถเข้ารับการตรวจโดยการเจาะเลือดดูการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาช้า
หลังจากแน่ใจแล้วว่าไม่มีการตั้งครรภ์ สาเหตุอื่นๆ ที่สามารถทำให้ประจำเดือนมาช้าได้มีดังต่อไปนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ความเครียด ความเครียดอาจมีผลกระทบต่อการหลั่งของฮอร์โมนบางตัว ที่ทำให้การตกของไข่ผิดปกติ และมีผลกระทบทางอ้อมทำให้ผนังมดลูกผิดปกติ ตามมาด้วยภาวะประจำเดือนมาช้า
- น้ำหนักตัว ไม่ว่าจะน้อยไปหรือมากเกินไปก็มีผลกระทบกับประจำเดือนได้ รวมถึงผู้หญิงที่ออกกำลังกายหนักเกินไป เช่น วิ่งมาราธอน หรือผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวน้อยจากโรคเกี่ยวกับความผิดปกติในการกิน เช่น อะนอเร็กเซีย (Anorexia)
โดยมีการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่า 10 เปอร์เซนต์ไทล์ (Percentile) ทำให้ร่างกายเกิดภาวะการหยุดตกของไข่ และตามมาด้วยภาวะประจำเดือนมาช้า
- โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) เป็นสาเหตุให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน (Androgen) มากเกินไป ส่งผลทำให้สมดุลของฮอร์โมนที่มีผลต่อการผลิตและหลุดลอกของผนังมดลูกที่จะหลุดออกมาเป็นประจำทุกเดือนผิดปกติ ประจำเดือนจึงมาช้าได้เช่นกัน
- การหยุดใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) หรือโพรเจสติน (Progestin) ในผู้หญิงบางรายอาจเป็นสาเหตทำให้ไข่ไม่ตก และต้องใช้เวลานานถึงกว่า 6 เดือน ประจำเดือนถึงกลับสู่ภาวะปกติ
- โรคเรื้อรังบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน ก็มีผลกับรอบประจำเดือน เพราะการเปลี่ยนแปลงของน้ำตาลในเลือดมีผลกระทบกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน นอกจากนี้การคุมเบาหวานไม่ดีก็เป็นสาเหตุทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ
- โรคทางฮอร์โมนต่อมใต้สมองบางอย่าง เช่น โรคไทรอยด์ เป็นสาเหตุทำให้ประจำเดือนมาช้า หรือไม่มีประจำเดือน เนื่องจากโรคไทรอยด์มีผลกับระบบการเผาผลาญของร่างกาย ดังนั้นจึงกระทบกับฮอร์โมนด้วยเช่นกัน
- อายุ ในระยะก่อนเข้าสู่วัยทองจริงในผู้หญิง โดยอายุเฉลี่ยของคนไทยอยู่ที่ 45-55 ปี จะเป็นช่วงที่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายไม่คงที่ ซึ่งก็จะมีผลกระทบต่อประจำเดือนที่อาจจะมาช้าผิดปกติได้
ประจำเดือนมาช้า อันตรายหรือไม่?
ประจำเดือนมาช้านั้นอันตรายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดภาวะดังกล่าวว่าเกิดจากอะไร
อาการที่ควรจะไปพบแพทย์โดยทันที ได้แก่ หลังจากประจำเดือนมาช้าแล้วกลับมาเลือดออกปริมาณมากๆ มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ อาเจียน ปวดท้องมาก มีเลือดออกผิดปกติแม้เข้าสู่วัยทองแล้ว หรือไม่สบายใจ ก็ควรเข้าปรึกษาและพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษาต่อไป
แนวทางในการจัดการกับปัญหาประจำเดือนมาช้านั้นที่สำคัญคือเราเฝ้าระวังพบอาการแต่เนิ่นๆ ฉะนั้นผู้หญิงทุกคนควรจดบันทึกประจำเดือนด้วยตนเองว่าเข้าเกรณที่ประจำเดือนมาช้าแล้วหรือยัง ประกอบกับมั่นตรวจเช็คสุขภาพ ตรวจภายในประจำปีเป็นระยะ และถ้าสังเกตพบภาวะผิดปกติดังกล่าวข้างต้นก็ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรีบทำการตรวจหาสาเหตุเพื่อทำการรักษา
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android