ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

อย่าตัดสินด้วยตัวของคุณเอง หากคุณสงสัยว่าคุณอาจจะเป็นโรคนี้ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิตในชั่วโมงแรกหลังเป็น ดังนั้นการนั่งรอหลายๆ ชั่วโมงก่อนตัดสินใจไปพบแพทย์นั้นจึงอาจเป็นอันตรายได้ หากคุณมีอาการต่อไปนี้ให้ไปพบแพทย์ทันที แน่นหน้าอก: ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่มักรู้สึกแน่นที่กลางหน้าอกนานหลายนาที หรือเป็นแล้วหายแล้วกลับมาเป็นอีก มันอาจจะให้ความรู้สึกเหมือนถูกอะไรทับ ถูกบีบ แน่น หรือปวดได้ มีอาการปวดที่ร่างกายส่วนบน: ปวดที่แขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง, หลัง, คอ, ขากรรไกรหรือท้องล้วนแต่เป็นอาการที่บ่งบอกว่าอาจจะเป็นปัญหาได้ทั้งสิ้น หายใจลำบาก: อาการนี้อาจเกิดร่วมกับอาการแน่นหน้าอกหรือไม่ก็ได้ อาการอื่นๆ : ให้สังเกตอาการของร่งากายที่คุณอาจจะไม่เคยมีมาก่อนเช่นเหงื่อออกในอากาศเย็น คลื่นไส้ เวียนหัว อ่อนเพลียอย่างรุนแรง หรือรู้สึกจะเป็นลม

ฉันจะต้องรู้สึกเหมือนมีของหนักทับที่หน้าอกหรือไม่

อาจจะหรืออาจจะไม่ก็ได้ เวลาที่หัวใจขาดเลือด การไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจนั้นจะเกิดปัญหาและกล้ามเนื้อหัวใจจะเริ่มตาย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก แต่บางครั้งก็อาจจะไม่ โดยเฉพาะในผู้หญิง โรคนี้ส่วนใหญ่มักจะมีอาการเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และเริ่มจากการเจ็บหรือแน่นเพียงเล็กน้อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ฉันสามารถเป็นโรคนี้โดยไม่รู้ตัวได้หรือไม่?

ได้และถึงแม้ว่าจะสามารถพบได้ในผู้ป่วยทุกคนแต่ก็พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นจะมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคนี้โดยไม่รู้ตัวมากที่สุด คุณอาจจะไม่มีอาการแน่นหน้าอกที่มักจะพบในโรคนี้เลย แต่คุณอาจจะรู้สึกคลื่นไส้ หายใจลำบากหรือเป็นลม

มีช่วงเวลาไหนที่จะมีแนวโน้มในการเกิดโรคนี้เพิ่มขึ้นหรือไม่?

โรคนี้สามารถเกิดขึ้นในเวลาไหนก็ได้ แต่มักจะพบได้บ่อยที่สุดในช่วงเช้า และการเสียชีวิตจากโรคนี้ก็พบได้บ่อยกว่าในตอนเช้าเช่นกัน

ฉันควรจะทำอย่างไรหากสงสัยว่ากำลังเป็นโรคนี้

ให้ไปพบแพทย์ทันทีและอย่าตื่นเต้น ก่อนที่จะนั่งหรือนอนนิ่งๆ และเคี้ยวยาแอสไพรินขนาด 300 มิลลิกรัม 1 เม็ดอย่างช้าๆ แอสไพรินจะช่วยลดความเสียหายที่เกิดที่หัวใจหรือลดการเกิดลิ่มเลือดได้โดยการทำลายเกล็ดเลือดนั้นไม่เกาะกลุ่มกัน อย่ากินหรือดื่มอะไรก็ตามและอย่าลืมโทรบอกญาติหรือเพื่อนให้มาอยู่เป็นเพื่อนคุณที่โรงพยาบาล

ฉันจะพบกับอะไรบ้างที่โรงพยาบาล

แพทย์จะต้องมีการติดเครื่องติดตามการเต้นของหัวใจและเปิดเส้นเลือด คุณจะได้รับออกซิเจนและยาแก้ปวดในขณะที่ทำการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่ามีความผิดปกติที่แสดงว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่ นอกจากนั้นยังจะมีการเจาะเลือดเพื่อไปดูว่ากล้ามเนื้อหัวใจนั้นถูกทำลายหรือไม่และอาจมีการตรวจซ้ำที่ 12 ชั่วโมงหลังจากเวลาที่สงสัยว่าเริ่มมีอาการ การตรวจนี้เป็นการวัดระดับเอนไซม์ที่เรียกว่า troponin ซึ่งจะปล่อยออกมาในเลือดหากกล้ามเนื้อหัวใจนั้นถูกทำลายหรือกำลังจะตาย การรักษาอื่นๆ นั้นจะขึ้นกับอาการและความรุนแรงของการขาดเลือดของคุณ

ฉันจะต้องผ่าตัดหรือไม่

หากคุณมาถึงโรงพยาบาลได้เร็ว แพทย์อาจจะพยายามเปิดเส้นเลือดด้วยการทำ coronary angioplasty ซึ่งเป็นการสอดท่อขนาดเล็กที่มีลูกโป่งอยู่ที่หัวจากขาหนีบไปยังเส้นเลือดหัวใจก่อนที่จะทำการฉีดสีหาตำแหน่งที่มีการอุดตัน ก่อนจะเป่าลูกโป่งเพื่อใส่ขดลวดถ่างขยายเส้นเลือดแดงที่อุดตันและป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันขึ้นอีกในอนาคต ขดลวดบางอันอาจจะมีการหลั่งยาออกมาเพื่อช่วยป้องกันการอุดตันในเส้นเลือด

ฉันสามารถออกกำลังกายหลังจากที่เป็นโรคนี้ได้หรือไม่

การออกกำลังกายนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดในครั้งต่อไป แต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพูดคุยถึงวิธีการออกกำลังกายที่ปลอดภัยสำหรับคุณ แพทย์อาจแนะนำการออกกำลังกายที่ดีต่อหัวใจเช่นการเดิน วิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยานหรือว่ายน้ำเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหัวใจ อย่าเริ่มออกกำลังกายเองก่อนที่แพทย์จะอนุญาต

ฉันจะสามารถมีเพศสัมพันธ์หลังจากที่เป็นโรคนี้ได้หรือไม่

เมื่อแพทย์บอกว่าคุณสามารถออกกำลังกายในระดับที่ปานกลางได้แล้ว คุณก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ คนส่วนใหญ่มักจะสามารถเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้หลังจากที่มีอาการผ่านไปแล้ว 2-3 สัปดาห์ แต่อย่าลืมถามแพทย์ก่อนเสมอและแจ้งแพทย์หากคุณมีอาการแน่นหน้าอกหรือใจสั่น


36 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Silent Ischemia and Ischemic Heart Disease. American Heart Association. (https://www.heart.org/en/health-topics/heart-attack/about-heart-attacks/silent-ischemia-and-ischemic-heart-disease)
Ischemic Heart Disease - Cardiovascular Disability. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK209964/)
Ischemic Cardiomyopathy: Symptoms, Causes, and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/ischemic-cardiomyopathy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)