กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ไขมันในเลือดสูง ทำอย่างไรดี?

วิธีดูตัวเลขแสดงภาวะไขมันในเลือดสูงแบบคร่าวๆ และวิธีปฏิบัติเพื่อลดไขมันในเลือด
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ไขมันในเลือดสูง ทำอย่างไรดี?

ผู้มีไขมันในเลือดสูง หมายถึง ผู้ที่รับการตรวจแล้วพบว่าระดับไขมันในเลือดสูงกว่าค่าปกติที่ถูกกำหนดขึ้น ซึ่งค่าปกตินี้ได้มาโดย การเก็บข้อมูลทางสถิติจากระดับไขมันในเลือดของบุคคลทั่วไป โดยพบว่า เมื่อมีค่าเกินระดับหนึ่งแล้ว บุคคลนั้นจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น โรคนี้มักพบในคนเชื้อชาติตะวันตกมากกว่าเอเชีย และพบในคนที่อาศัยในเขตเมืองมากกว่าชนบท สำหรับในประเทศไทย มีแนวโน้มที่จะตรวจพบโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต การเข้าถึงการตรวจสุขภาพที่มากขึ้น และการบริโภคอาหาร

ไขมันในเลือดสูงดูจากค่าผลเลือดใดได้บ้าง?

  1. ระดับคอเลสเตอรอล (Total cholesterol) สูงกว่า 200 มก./ดล.
    คอเลสเตอรอลที่วัดได้จากเลือด ถูกนำมาเป็นตัวแทนของคอเลสเตอรอลทั้งหมดของร่างกายเพื่อใช้ในการวินิจฉัย ทางการแพทย์แบ่งชนิดของคอเลสเตอรอลไว้ตามความหนาแน่น
  2. ระดับไขมันชนิดเลว (LDL-C) สูงกว่า 130 มก./ดล.
    ไขมันชนิดเลว (LDL-C) มีความหนาแน่นต่ำ เป็นคอเลสเตอรอลที่ไปสะสมตามผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง ซึ่งเป็นสาเหตุในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และหลอดเลือดสมองตีบ
  3. ระดับไขมันชนิดดี (HDL-C) ต่ำกว่า 40 มก./ดล.
    ไขมันชนิดดี (HDL-C) มีความหนาแน่นสูง ทำหน้าที่นำไขมันไปทำลายที่ตับ ช่วยลดการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ หากมีจำนวนน้อยเกินไปส่ง ผลเสียต่อร่างกายได้
  4. ระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) สูงกว่า 150 มก./ดล.
    ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันสะสมในร่างกาย หากพบว่ามีมากเกินไป นั่นแสดงว่าจำเป็นต้องลดน้ำหนัก จำกัดการรับประทานอาหาร ของหวานและแอลกอฮอล์

สาเหตุของการเกิดไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูงเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค กิจวัตรประจำวัน และพันธุกรรม ภาวะไขมันในเลือดสูงจะดำเนินไปเรื่อยๆ โดยไม่มีอาการ ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะส่งผลเสียก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) และโรคหัวใจขาดเลือดตามมาได้ นอกจากนี้ในงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคเหล่านี้สูง ควรได้รับยาช่วยลดระดับไขมันชนิดเลวโดยเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีการดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อตรวจพบไขมันในเลือดสูง

เมื่อตรวจพบไขมันในเลือดสูง สามารถปฏิบัติตัวเพื่อให้สุขภาพดีขึ้น ดังนี้

  1. หากสูบบุหรี่อยู่ ควรเลิกสูบบุหรี่
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยการวิ่ง เดินเร็ว สามารถช่วยลดปริมาณไขมันในเลือด และเพิ่มระดับของ HDL ได้อย่างดี โดยควรออกกำลังกายอย่างต่ำครั้งละ 20-30 นาที สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
  3. สังเกตความเจ็บป่วยของตนเอง และไม่ละเลยการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ เพื่อหาโรคประจำตัวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจดูค่าการทำงานของไต
  4. ในผู้มีน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนัก
  5. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดพฤติกรรมการบริโภคอาหารมากเกินควร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวจำนวนมากเป็นส่วนประกอบ เช่น ขนมปัง โดนัท คุกกี้ เค้ก

เมื่่อสงสัยว่าอาจมีไขมันในเลือดสูง หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือด แนะนำให้งดน้ำงดอาหาร 8 ชั่วโมงเพือไปเจาะเลือดให้แพทย์ช่วยวินิจฉัย ทั้งนี้ การดูแลตนเองเมื่อตรวจพบไขมันในเลือดสูงไม่ใด้หวังเพียงเพื่อลดระดับไขมันที่ตรวจได้เท่านั้น แต่รวมไปถึงการดูแลตนเองเพื่อลดการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดด้วย

เป้าหมายในการลดระดับไขมันในเลือดของแต่ละบุคคลไม่จำเป็นต้องเท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงในการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล หากมีความเสี่ยงมากหรือมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องหลายโรค อาจจะต้องลดระดับไขมันในเลือดให้ต่ำกว่าผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง
การตรวจไขมันในเลือด บอกโรคได้ !


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
แนวทางการดูแลรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ, นพ.ธเนศ แก่นสาร ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว (https://med.mahidol.ac.th/fammed/th/postgrad/guideline_DLP), 7 สิงหาคม 2562
ไขมันในเลือดสูงป้องกันได้ (http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/844/Dyslipidemia), 6 สิงหาคม 2562
ความรู้เรื่องภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ พีระ สมบัติดี พิมพ์ครั้งที่ 1 ขอนแก่น หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 2558

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

การรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมอาจเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ

อ่านเพิ่ม
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล

สำรวจความหมาย และปริมาณดัชนีน้ำตาลในอาหารต่างๆ

อ่านเพิ่ม