อยู่ไส้เลื่อน (Hernia) คือ การที่ผนังของกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ หรือเยื่อหุ้มเซลล์เปิดออก หรืออ่อนแอ ทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของอวัยวะภายในอาจโผล่ออกมาจากบริเวณที่เปิดอยู่ได้
ไส้เลื่อนมีหลายชนิดและไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ไม่ว่าจะอยู่วัยไหน หรือเป็นเพศอะไร ก็สามารถเป็นไส้เลื่อนได้ แต่อย่ากังวลเพราะไส้เลื่อนสามารถป้องกันได้
ผ่าตัดไส้เลื่อน วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 57,000 บาท ลดสูงสุด 6,550 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ไส้เลื่อนคืออะไร
ไส้เลื่อนคือ การที่ผนังของกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ หรือเยื่อหุ้มเซลล์เปิดออก หรืออ่อนแอ ซึ่งปกติแล้วผนังดังกล่าวจะทำหน้าที่รองรับ หรือห่อหุ้มอวัยวะภายในเอาไว้
แต่หากผนังของกล้ามเนื้อที่เปิดออกเป็นแผลขนาดใหญ่ อาจทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของอวัยวะภายโผล่ออกมาจากบริเวณที่เปิดอยู่ได้นั่นเอง
ไส้เลื่อนสามารถเกิดขึ้นได้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณท้องน้อย ขาหนีบ หรือต้นขาส่วนบน บริเวณสะดือ และบริเวณที่เคยเข้ารับการผ่าตัด
สาเหตุการเกิดไส้เลื่อน
ไส้เลื่อนเกิดขึ้นบ่อยในเด็กทารกและเด็กเล็ก ระยะเวลาการเกิดไส้เลื่อนอาจใช้เวลานาน หรืออาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลันก็ได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดไส้เลื่อนนั้น
สาเหตุหลักมาจากการที่ผนังกล้ามเนื้ออ่อนแอและตึงในเวลาเดียวกัน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผนังกล้ามเนื้ออ่อนแอและตึงในเวลาเดียวกันนั้นมีอยู่หลายปัจจัย
นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ เป็นโรคถุงลมโป่งพอง อ้วน ตั้งครรภ์ ล้างไตทางหน้าท้อง มีการผ่าตัดทางหน้าท้อง จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นไส้เลื่อนสูงกว่าคนปกติ
ผ่าตัดไส้เลื่อน วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 57,000 บาท ลดสูงสุด 6,550 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ลักษณะอาการตึงของกล้ามเนื้อที่อาจทำให้ไส้เลื่อนแสดงอาการออกมาได้
- ความอ้วน หรือการเพิ่มน้ำหนักอย่างฉับพลัน
- การยกของหนัก
- มีอาการท้องเสีย หรือท้องผูก
- ไอ หรือจามบ่อยๆ
- การตั้งครรภ์
ลักษณะอาการตึงของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นเอง อาจไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการไส้เลื่อน แต่หากอาการตึงและอ่อนแอของกล้ามเนื้อเกิดขึ้นพร้อมกันก็จะส่งผลทำให้เกิดไส้เลื่อนได้
ส่วนวัยรุ่นที่เป็นไส้เลื่อนซึ่งเกิดจากผนังกล้ามเนื้อ หรือเนื้อเยื่อภายในท้องน้อยอ่อนแอ มักเป็นมาตั้งแต่เกิด (Congenital defect) ในกรณีนี้การตึงของกล้ามเนื้อไม่ได้เป็นสาเหตุของไส้เลื่อน และเมื่อเกิดอาการจะรู้สึกเจ็บมาก
ชนิดของไส้เลื่อน
1. ไส้เลื่อนตรงขาหนีบ (Inguinal hernia)
ไส้เลื่อนตรงขาหนีบมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง กว่า 70% ของการเป็นไส้เลื่อนทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการเป็นไส้เลื่อนตรงขาหนีบ
ไส้เลื่อนตรงขาหนีบหมายความว่า มีส่วนของลำไส้ยื่นออกมาทางผนังกล้ามเนื้อภายในช่องท้องส่วนล่าง ใกล้กับบริเวณขาหนีบ เรียกบริเวณนั้นว่า "ช่องขาหนีบ (Inguinal canal)"
ในผู้ชาย ช่องขาหนีบเป็นทางเดินระหว่างช่องท้องน้อย และถุงอัณฑะ ผ่านสายที่เรียกว่า "สายโยงลูกอัณฑะ" ส่วนผู้หญิง ช่องขาหนีบจะเป็นทางเดินสำหรับเอ็นยึดให้มดลูกอยู่กับที่
การเป็นไส้เลื่อนในกลุ่มเด็กวัยรุ่น ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของช่องขาหนีบแต่กำเนิด เพราะแทนที่มันจะปิดแน่น กลับพบว่า มีช่องว่างภายในช่องขาหนีบ ส่งผลให้ส่วนของลำไส้โผล่ออกมาได้นั่นเอง
ผ่าตัดไส้เลื่อน วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 57,000 บาท ลดสูงสุด 6,550 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หากคุณเป็นไส้เลื่อนขาหนีบอาจสังเกตเห็นว่า มีเนื้อนูนขึ้นมาบริเวณต้นขาส่วนบนที่ติดกับขาหนีบ
ลักษณะอาการไส้เลื่อนตรงขาหนีบ
- อาการในเด็กผู้ชาย ส่วนของลำไส้ที่ยื่นออกมาอาจเลื่อนเข้าไปยังถุงอัณฑะได้ ทำให้เกิดอาการปวด บวม
- อาการอื่นๆ ของไส้เลื่อนตรงขาหนีบ ได้แก่ ปวดมากเวลาไอ ยกของ หรือก้มตัวลง
วิธีการรักษาไส้เลื่อนตรงขาหนีบ
เมื่อเป็นไส้เลื่อนตรงขาหนีบ แพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อซ่อมแซมปิดช่องที่ส่วนของลำไส้ยื่นออกมา
2. ไส้เลื่อนที่สะดือ (Umbilical hernia)
ไส้เลื่อนที่สะดือพบได้บ่อยในทารกแรกคลอดและทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน โดยเกิดขึ้นเมื่อส่วนของลำไส้โผล่ออกจากผนังช่องท้องน้อยบริเวณที่ติดกับสะดือ
เด็กทารกที่เป็นไส้เลื่อนชนิดนี้จะสังเกตได้ว่า มีเนื้อนูนบริเวณสะดือในขณะที่ร้องไห้
ไส้เลื่อนที่สะดือแตกต่างจากไส้เลื่อนชนิดอื่นๆ เพราะเป็นไส้เลื่อนชนิดที่สามารถหายได้ด้วยตัวเอง โดยปกติแล้ว อาการจะหายไปเมื่อทารกอายุ 1 ขวบ แต่หากไส้เลื่อนไม่หายไปภายในเวลาดังกล่าว แพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัด
3. ไส้เลื่อนตรงหน้าท้องเหนือสะดือ (Epigastric hernia)
ไส้เลื่อนตรงหน้าท้องเหนือสะดือคือ ลักษณะที่ส่วนของลำไส้เลื่อนโผล่ผ่านกล้ามเนื้อช่องท้อง ออกมาบริเวณระหว่างสะดือและหน้าอก ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดกับผู้ชาย คิดเป็น 75% ของผู้เป็นไส้เลื่อนชนิดนี้ทั้งหมด
ผู้ที่เป็นไส้เลื่อนตรงหน้าท้องเหนือสะดือจะสังเกตได้ว่า มีก้อนเนื้อนูนขึ้นมาบริเวณดังกล่าว ซึ่งแพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัดซ่อมแซมกล้ามเนื้อช่องท้องที่มีปัญหา
4. ไส้เลื่อนที่เกิดหลังการผ่าตัด (Incisional hernia)
ผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดในช่องท้องมีโอกาสเป็นไส้เลื่อนชนิดนี้ได้ สาเหตุเกิดจากการที่ส่วนของลำไส้เลื่อนออกมาบริเวณแผลผ่าตัด
สำหรับกรณีนี้การผ่าตัดส่งผลให้เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อบริเวณช่องท้องอ่อนแอ ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดอีกครั้ง เพื่อรักษาไส้เลื่อนที่เกิดขึ้น
5. ไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal hernia)
ไส้เลื่อนชนิดนี้จะเกิดขึ้นบริเวณปากกระบังลมส่วนที่หลอดอาหารเชื่อมกับกระเพาะอาหาร เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณปากกระบังลมอ่อนแอ ส่วนของอวัยวะภายในที่อยู่เหนือกระเพาะอาหารจะเลื่อนนูนผ่านกระบังลมออกมา
ไส้เลื่อนกระบังลมเป็นชนิดที่พบได้บ่อย หากมีไส้เลื่อนเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยจะไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมา และแตกต่างจากไส้เลื่อนชนิดอื่นๆ ตรงที่ไม่นูนออกมาให้สังเกตเห็นได้
แต่ผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนกลางอก มีอาการจุกเสียดแน่นท้อง และปวดหน้าอก
วิธีรักษาไส้เลื่อนกระบังลม
แพทย์จะรักษาด้วยการให้รับประทานยาและแนะนำให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร บางกรณีอาจต้องได้รับการผ่าตัดร่วมด้วย
6. ไส้เลื่อนทางช่องเส้นเลือดเฟเมอรอล (Femoral hernia)
ไส้เลื่อนชนิดนี้จะเกิดขึ้นใต้ต่อเส้นเอ็นบริเวณขาหนีบ อาจแยกออกได้ยากจากไส้เลื่อนขาหนีบ การรักษาควรทำการผ่าตัด เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนจากอวัยวะที่อยู่ต่ำลงไป มีโอกาสขาดเลือดสูง
การวินิจฉัยโรคไส้เลื่อน
แพทย์มักพบผู้ป่วยเป็นไส้เลื่อนในช่วงตรวจสุขภาพประจำปี โดยมีแนวทางการวินิจฉัยดังนี้
สำหรับผู้ชาย: จะได้รับการตรวจไส้เลื่อนพร้อมกับการตรวจลูกอัณฑะ โดยแพทย์จะใช้นิ้วมือวางไว้บริเวณส่วนบนของถุงอัณฑะ และขอให้คุณไอ ซึ่งแพทย์จะรู้สึกได้หากมีอาการไส้เลื่อน
สำหรับผู้หญิง: จะมีโอกาสเป็นไส้เลื่อนได้เมื่อตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคอ้วน แพทย์สามารถตรวจหาไส้เลื่อนในเด็กผู้หญิงได้ด้วยการกดมือเบาๆ ลงบนอวัยวะที่ต้องการตรวจ หรือสังเกตอาการที่อาจเป็นสัญญาณของไส้เลื่อนในระหว่างการตรวจ
ไส้เลื่อนกระบังลมอาจวินิจฉัยได้ยากเนื่องจากเกิดการเคลื่อนของอวัยในช่องท้องเข้าไปในช่องกระบังลม จึงไม่สามารถตรวจเจอได้จากภายนอก อาจต้องอาศัยการส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อช่วยในการวินิจฉัย
การรักษาไส้เลื่อน
- หากสังเกตพบว่า มีเนื้อนูน หรือโปนขึ้นมา บริเวณขาหนีบ ท้องน้อย ถุงอัณฑะ หรือต้นขา จำเป็นต้องพบแพทย์ทันที เพราะบางครั้งไส้เลื่อนอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงระดับรุนแรงได้
- ไส้เลื่อนบางชนิด เช่น ไส้เลื่อนตรงขาหนีบ ไส้เลื่อนที่สะดือ ไส้เลื่อนตรงหน้าท้องเหนือสะดือ และไส้เลื่อนที่เกิดหลังผ่าตัด แพทย์จะสามารถตรวจพบได้จากการสัมผัสบริเวณที่สงสัย เพื่อหาก้อนเนื้อที่นูนขึ้นมา
- ไส้เลื่อนที่สะดือหากเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่จะไม่สามารถหายได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษา หากปล่อยทิ้งไว้ ไส้เลื่อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และอาการปวดจะรุนแรงมากขึ้น
- บางกรณีที่เกิดกับไส้เลื่อนกระบังลม ส่วนของลำไส้อาจติดคาอยู่บริเวณกระบังลม ซึ่งต้องได้รับการผ่าตัดโดยด่วนเพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนของลำไส้ที่ติดอยู่ขาดเลือดหล่อเลี้ยง เกิดการติดเชื้อ หรือเนื้อเยื่อถูกบีบอัดจนกลายเป็นเนื้อเยื่อตายได้
- หากคุณเคยผ่าตัดไส้เลื่อนมาแล้วและสังเกตเห็นรอยแดง หรือรู้สึกไม่สบายบริเวณแผลผ่าตัด จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่จะต้องได้รับการรักษาต่อไป
การป้องกันการเกิดไส้เลื่อน
- มีน้ำหนักตัวที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- รับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืชต่างๆ เป็นประจำ เพราะอาหารเหล่านี้นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ยังมีใยอาหารที่ช่วยป้องกันอาการท้องผูก และลดอาการอ่อนเพลียได้
- ระมัดระวังเรื่องการยกน้ำหนัก หรือยกของหนักไม่ให้เกินตัว
- พบแพทย์เมื่อมีอาการป่วย หากไอบ่อยๆ จากอาการหวัด หรือจามบ่อยๆ เนื่องจากโรคภูมิแพ้ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับอาการไอ หรือโรคภูมิแพ้ เพื่อขอรับยาบรรเทาอาการ
- เลิกสูบบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่อาจทำให้ไอรุนแรง การไอนี่เองที่อาจทำให้กล้ามเนื้อช่องท้องหดตัว ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นไส้เลื่อนสูงมาก
จะเห็นได้ว่า ไส้เลื่อนมิใช่โรคจำเพาะสำหรับเพศใดเพศหนึ่ง หรือวัยใดวัยหนึ่ง ดังนั้นสิ่งสำคัญคือหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองและเด็กเล็กในความดูแล
หากมีแนวโน้มน่าสงสัยว่า อาจเป็นไส้เลื่อนได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป
ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android