อาการแสบร้อนกลางอกที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์อาจทำให้คุณวิตกกังวลว่าจะอันตรายกับตัวคุณและลูกน้อยหรือไม่ สาเหตุและที่มาของอาการที่พบได้บ่อยนี้คืออะไร เรียนรู้ได้จากในบทความ
การแสบร้อนกลางอกระหว่างตั้งครรภ์มักจะเกิดขึ้นในตำแหน่งใกล้หัวใจ อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้มีสาเหตุมาจากหัวใจ หรือระบบไหลเวียนโลหิตแต่อย่างใด (อย่างไรก็ตาม ก็มีอาการบางอย่างที่คล้ายคลึงกับอาการหัวใจวาย หรือโรคหัวใจได้เช่นกัน)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการแสบร้อนกลางอก เกิดจากการระคายเคืองของหลอดอาหาร ที่เกิดจากกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหาร และเป็นอาการไม่สบายที่พบได้บ่อยในช่วงการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสที่สามใกล้คลอด และมักเกิดจากมดลูกที่กำลังเติบโตและใหญ่ขึ้นนั้นทำให้เกิดแรงกดลงบนกระเพาะอาหาร
โดยปกติ อวัยวะที่เรียกว่ากล้ามเนื้อหูรูดบริเวณด้านล่างหลอดอาหาร หรือย่อว่า LES จะทำงานร่วมกับ แรงโน้มถ่วงเพื่อช่วยให้กรดในกระเพาะอาหารกักอยู่ในบริเวณกระเพาะอาหารเท่านั้น กล้ามเนื้อหูรูดนี้จะอยู่ที่หลอดอาหารก่อนถึงกระเพาะอาหารพอดี - อยู่ในระดับเดียวกันกับขอบล่างของกระดูกซี่โครง และเอียงมาทางซ้ายเล็กน้อยจากแนวกึ่งกลางตัว ในสภาวะทั่วไป กล้ามเนื้อหูรูดจะเปิดเพื่อให้อาหารเข้าไปในกระเพาะอาหารได้ หรือเปิดเพื่อให้สามารถเรอเอาอากาศส่วนเกินออกมาได้ แล้วปิดตัวลงอีกครั้ง แต่ถ้ากล้ามเนื้อหูรูดส่วนนี้ เปิดบ่อยเกินไป หรือปิดไม่แน่นสนิทพอ กรดในกระเพาะอาหารสามารถย้อนลาม หรือซึมเข้าไปในหลอดอาหาร และทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกขึ้นได้
อาการแสบร้อนกลางอกเป็นครั้งคราวนั้นไม่เป็นภาวะอันตราย แต่อาการแสบร้อนกลางอกเรื้อรัง หรือเป็นอยู่นาน สามารถบ่งบอกถึงปัญหาร้ายแรงขึ้นกว่านั้น เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือโรคกรดไหลย้อนหรือที่เรียกว่า GERD อาการแสบร้อนกลางอกเกิดขึ้นเป็นประจำทุกวันใน 10% ของประชากรปกติ และ 50% ของประชากรที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ และสามารถเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว น่ารำคาญในอีก 30% ของประชากรทั่วๆ ไป
อาการของอาการแสบร้อนกลางอกในระหว่างตั้งครรภ์:
อาการแสบร้อนกลางอกที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ :
- รู้สึกแสบร้อนที่หน้าอก ในตำแหน่งติดกับกระดูกบริเวณกลางอก (sternum) ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร และกินเวลาไม่กี่นาที หรือจนถึงหลายชั่วโมง
- ปวดทรวงอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการงอตัว การนอนราบ หรือหลังรับประทานอาหาร
- แสบร้อนในลำคอ - หรือรู้สึกว่ามีของเหลวร้อน เปรี้ยว หรือรสเค็มไหลขึ้นมาที่ด้านหลังของลำคอ
- เรอบ่อย
- ไอเรื้อรัง
- เสียงแหบ
- หายใจไม่ออก มีเสียงวี้ด หรือมีอาการคล้ายหอบหืด