ปัญหาสูญเสียการได้ยิน แก้ไขได้จริงหรือ?

เผยแพร่ครั้งแรก 8 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ปัญหาสูญเสียการได้ยิน แก้ไขได้จริงหรือ?

หูเป็นอวัยวะที่ช่วยให้เราได้ยินเสียง และเป็นหนึ่งในอวัยวะที่มีผลต่อการสื่อสาร ในบางครั้งหูของเราก็อาจเกิดปัญหาได้เช่นกัน และหนึ่งในปัญหาที่พบได้มากคือ การสูญเสียการได้ยินนั่นเอง ซึ่งปัญหานี้มีทั้งแบบที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด หรือสามารถรักษาได้ เราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

ขี้หู: รักษาได้

ขี้หูช่วยทำความสะอาดและปกป้องหู ซึ่งโดยปกติแล้ว หูของคุณจะกำจัดขี้หูด้วยตัวเอง หากคุณใช้ไม้พันก้านสำลี มันอาจดันให้ขี้หูเข้าไปลึกมากกว่าเดิม ทำให้ขี้หูสะสมและติดอยู่ภายใน ส่งผลให้ยากต่อการได้ยินเสียง อย่างไรก็ตาม คุณสามารถกำจัดขี้หูโดยหยดน้ำมันมินิรอลหรือเบบี้ออยล์ลงในหูเพื่อให้ขี้หูออกมาเอง หรือคุณจะใช้ยาหยอดหูเพื่อให้ขี้หูนุ่มลงก็ได้ค่ะ หากวิธีดังกล่าวไม่ได้ผล  คุณก็อาจไปพบแพทย์ ซึ่งเขาสามารถนำขี้หูออกมาได้อย่างปลอดภัยโดยใช้เครื่องมือแพทย์ หรืออาจล้างขี้หูด้วยน้ำหรือน้ำเกลือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หูติดเชื้อ: รักษาได้

หากหูติดเชื้อ คุณอาจสังเกตว่าตัวเองสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยราวกับคุณกำลังใส่ที่อุดหู ทั้งนี้การติดเชื้อมักเกิดขึ้นเมื่อของเหลวในหูไปติดอยู่ภายในหูชั้นกลาง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าของเหลวทำให้แบคทีเรียเติบโตได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ไวรัสก็สามารถทำให้คุณสูญเสียการได้ยินเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อที่หูบางประเภทจะหายไปเอง หรือแพทย์อาจรักษาโดยให้คุณทานยาปฏิชีวนะ

ประสาทหูเสื่อมแบบฉับพลัน: รักษาได้

ภาวะดังกล่าวทำให้คุณสูญเสียการได้ยินทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งมักเกิดขึ้นที่หูข้างเดียวในทันทีหรือเกิดนานกว่า 2-3วัน คนกว่าครึ่งที่ประสบภาวะดังกล่าวจะกลับมาได้ยินเสียงเอง แต่ในบางครั้งมันก็ไม่กลับมาเป็นปกติอย่างสมบูรณ์ ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ และสามารถรักษาโดยใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์หรือฉีดยา

การสูญเสียการได้ยินที่สืบเนื่องจากอายุ: รักษาไม่ได้

เมื่อเราอายุมาก การสูญเสียการได้ยินนับว่าเป็นเรื่องทั่วไป เพราะมันเกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยที่คุณไม่ทันสังเกตเห็นความแตกต่างตั้งแต่ต้น คุณอาจเริ่มรู้ตัวเมื่อคุณมีปัญหากับการได้ยินเสียงคนพูดในโทรศัพท์ หรือคุณร้องขอให้คนอื่นพูดซ้ำอีกรอบ ส่วนมากแล้วภาวะดังกล่าวเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติในหูชั้นในเมื่อคุณมีอายุมากขึ้น นอกจากนี้การฟังเสียงดังมาตลอดชีวิตอย่างการฟังเพลงโดยใส่หูฟังก็สามารถทำให้การได้ยินมีปัญหา เมื่อเสียงทำให้เส้นขนในหูที่ช่วยให้คุณได้ยินเสียหาย มันก็จะไม่งอกขึ้นมาใหม่ แต่การใช้เครื่องช่วยฟังก็พอจะช่วยให้คุณได้ยินชัดขึ้น

อย่างไรก็ตาม การสูญเสียการได้ยินสามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณได้ไม่มากก็น้อย ดังนั้นหากคุณมีปัญหากับการได้ยิน คุณก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อที่จะได้หาวิธีรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ที่มา: https://www.webmd.com/healthy-...

 


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Deafness and hearing loss. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/deafness-and-hearing-loss)
Deafness and hearing loss: Causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/249285)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สูญเสียการได้ยิน (Hearing loss)
สูญเสียการได้ยิน (Hearing loss)

อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษาภาวะสูญเสียการได้ยิน

อ่านเพิ่ม
ใส่หูฟังนานๆ ทำให้สูญเสียการได้ยินหรือไม่?
ใส่หูฟังนานๆ ทำให้สูญเสียการได้ยินหรือไม่?

ใส่หูฟัง ควรเปิดเพลงดังแค่ไหน ฟังนานแค่ไหนถึงจะพอดี ไม่เป็นอันตรายต่อหูของคุณ

อ่านเพิ่ม