กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ประเภทของประกันสุขภาพและวิธีการเลือกซื้อ

แนะนำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประกันสุขภาพ เลือกซื้ออย่างไรให้เหมาะกับตัวเองมากที่สุด
เผยแพร่ครั้งแรก 14 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ประเภทของประกันสุขภาพและวิธีการเลือกซื้อ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ประกันสุขภาพ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประกันแบบรายบุคคล และประกันแบบกลุ่ม
  • ประกันแบบรายบุคคล เป็นการประกันที่ทางบริษัทประกันจะต้องจ่ายค่าชดเชย ในยามที่ผู้ซื้อ หรือผู้เอาประกันขาดรายได้เป็นวัน เพราะไม่สามารถไปทำงานได้ตามปกติ หรือจ่ายชดเชยในกรณีที่ต้องนอนในโรงพยาบาล
  • ประกันแบบกลุ่ม เป็นการทำประกันที่นายจ้างจัดเป็นสวัสดิการให้แก่ลูกจ้าง โดยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยหลักเพียงฉบับเดียวแก่นายจ้างให้เป็นผู้ถือ และลูกจ้างเป็นผู้เอาประกันภัย
  • การคุ้มครองของประกันสุขภาพ ควรครอบคลุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ซึ่งได้แก่ ชดเชยค่าห้องพัก ค่ารักษาพยาบาล ค่าอาหาร รวมทั้งค่าบริการทางแพทย์ ค่าคลอดบุตร ค่าทำฟัน ค่ารักษาในกรณีเป็นผู้ป่วยนอก หรือค่าชดเชยเป็นรายวันเพราะสูญเสียรายได้ ในกรณีที่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

การซื้อประกันสุขภาพ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแบ่งเบาภาระให้แก่ผู้เอาประกัน นับเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรื่องค่าใช้จ่าย อันเนื่องมาจากโอกาสที่จะเกิดการเจ็บป่วยเมื่อมีอายุมากขึ้นได้เป็นอย่างดี

ประเภทของประกันสุขภาพ

1. ประกันแบบรายบุคคล 

เป็นการประกันที่ทางบริษัทประกันจะต้องจ่ายค่าชดเชย ในยามที่ผู้ซื้อ หรือผู้เอาประกันขาดรายได้เป็นวัน เพราะไม่สามารถไปทำงานได้ตามปกติ หรือจ่ายชดเชยในกรณีที่ต้องนอนในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นกรณีเจ็บป่วยด้วยโรคภัยหรือกรณีอุบัติเหตุเป็นบุคคลๆ ไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. ประกันแบบกลุ่ม 

เป็นการทำประกันที่นายจ้างจัดเป็นสวัสดิการให้แก่ลูกจ้าง โดยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยหลักเพียงฉบับเดียวแก่นายจ้างให้เป็นผู้ถือ และลูกจ้างเป็นผู้เอาประกันภัย 

โดยลูกจ้างจะได้รับ ใบรับรองการเอาประกันหรือบัตรประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุไว้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิ์นั่นเอง

การคุ้มครองของประกันสุขภาพ

มักมีการรับประกันครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทดแทนดังนี้

  1. ชดเชยค่าห้องพัก ค่ารักษาพยาบาล ค่าอาหาร รวมทั้งค่าบริการทางแพทย์ โดยครอบคลุมค่ารักษาฉุกเฉินในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
  2. ชดเชยค่าผ่าตัดในกรณีที่ต้องผ่าตัด รวมทั้งค่าที่ปรึกษาทางการแพทย์
  3. ค่าคลอดบุตร
  4. ค่าทำฟัน ในกรณีที่ต้องได้รับการดูแลจากทันตแพทย์
  5. ค่ารักษาในกรณีเป็นผู้ป่วยนอก ไม่ว่าจะเป็นคลินิก หน่วยพยาบาลหรือในโรงพยาบาล
  6. ค่าชดเชยจากการที่ต้องให้แพทย์และพยาบาลพิเศษมาดูแล
  7. จ่ายค่าชดเชยเป็นรายวันเพราะสูญเสียรายได้ ในกรณีที่ต้องนอนโรงพยาบาล
  8. คุ้มครองในกรณีผู้เอาประกันทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงต่อเนื่อง

วิธีการเลือกซื้อประกันสุขภาพ

1. ต้องพิจารณาว่ามีสวัสดิการใดบ้าง 

ต้องเข้าใจอีกอย่างหนึ่งว่า การประกันสุขภาพจะไม่ครอบคลุมในกรณีการเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการเสริมความงาม การทำศัลยกรรมต่างๆ รวมทั้งการทำหมันหรือการลดความอ้วน เพื่อจะได้ทราบว่าเราควรเลือกซื้อตัวใดเพิ่มเติมถึงจะเหมาะกับผู้เอาประกัน

2. เลือกซื้อประกันที่แยกค่าใช้จ่ายระบุชัดเจน 

ตัวอย่างเช่น ค่าห้อง ค่ารักษา วงเงินการผ่าตัด หรือค่าแพทย์ เพื่อจะได้ทราบค่าใช้จ่ายที่สามารถใช้ได้ในการนอนโรงพยาบาลแต่ละครั้ง หากใช้เกินไปกว่าวงเงินที่บริษัทประกันจ่าย ผู้เอาประกันจะต้องออกค่าใช้จ่ายส่วนต่างที่เหลือเอง

3. สามารถเลือกซื้อแบบเหมาจ่ายได้ 

เป็นการกำหนดว่า จะต้องนอนในห้องตามราคาที่ประกันจ่าย หากต้องการนอนห้องที่แพงกว่ากำหนด ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายส่วนต่างของค่าห้องเอง แต่ค่ารักษาพยาบาลเป็นการเหมาจ่าย บริษัทประกันจะต้องจ่ายชดเชยให้ทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นการประกันความเสี่ยงที่ค่อนข้างคุ้มค่าเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

4. เลือกใช้โรงพยาบาลที่ติดต่อกับบริษัทประกันโดยตรง 

เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการ

5. เลือกซื้อประกันที่ไม่แพงจนเกินไป 

การซื้อประกันสุขภาพเป็นการลด หรือแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในกรณีเจ็บป่วย หากเมื่อใดที่มีค่าใช้จ่ายเกินวงเงินประกัน ผู้เอาประกันก็จ่ายเฉพาะส่วนต่างที่เกินออกมาเท่านั้น 

แต่ถ้าต้องการประกันที่เมื่อครบสัญญาแล้วมีเงินออมคืนด้วย แบบนี้จึงควรพิจารณาซื้อชนิดที่เบี้ยสูงขึ้น

6. เลือกซื้อเบี้ยประกันที่ราคาถูก 

กรณีผู้เอาประกันที่ไม่ค่อยเจ็บป่วยบ่อยๆ แบบ Deductible คือ ผู้เอาประกันจะเป็นผู้จ่ายประกันส่วนแรก หากมีค่าใช้จ่ายเกินจากที่กำหนด บริษัทประกันจะเป็นผู้จ่ายในส่วนที่เหลือต่อไป

7. เลือกให้เหมาะสมกับความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน 

มีทั้งแบบรายเดือน ราย 6 เดือน หรือรายปี และมีแบบชำระออนไลน์ เช่น ตามร้านสะดวกซื้ออีกด้วย โดยพิจารณาจากรายได้ของผู้เอาประกันว่าสามารถสะดวกจ่ายแบบใดนั่นเอง

ทั้งนี้การคุ้มครองก็ต้องขึ้นอยู่กับรายละเอียดของเงื่อนไขในแต่ละบริษัทด้วย การคำนวณเบี้ยประกันนั้นจะนิยมใช้การคำนวณจากเพศ อายุ สุขภาพ อาชีพและการดำเนินชีวิตมาประกอบ เพื่อให้เหมาะสมกับความจำเป็นต่อสุขภาพ และรายได้ของแต่ละคน 

โดยบริษัทประกันจะจ่ายทดแทนให้ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงสูงสุดไม่เกินจากวงเงินที่เอาประกัน

การประกันสุขภาพจึงนับว่าเป็นการกระจายความเสี่ยง เสมือนเป็นหลักประกันว่าเราจะได้รับการดูแลที่ดีเพราะสามารถเบิกคืนจากบริษัทได้ และยังนำมาลดหย่อนภาษีในแต่ละปีได้อีกด้วย เป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเราได้อีกทางหนึ่งเลยทีเดียว

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ก่อนที่จะเลือกแผนประกันสุขภาพ
ก่อนที่จะเลือกแผนประกันสุขภาพ

สิ่งที่คุณควรรู้เมื่อกำลังมองหาประกันสุขภาพ

อ่านเพิ่ม
ประกันทุพพลภาพระยะสั้น (short-term disability insurance)
ประกันทุพพลภาพระยะสั้น (short-term disability insurance)

สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับประกันทุพพลภาพระยะสั้น

อ่านเพิ่ม