หัวล้านเกิดจากอะไร รักษาได้หรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 9 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
หัวล้านเกิดจากอะไร รักษาได้หรือไม่?

ในปัจจุบัน ปัญหาหัวล้านเป็นปัญหาที่พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งก็สร้างความกังวลให้กับผู้คนส่วนใหญ่เป็นอย่างมากกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะมันสามารถที่จะบั่นทอนความมั่นใจของคนเราได้มากทีเดียว แถมยังทำให้ภาพลักษณ์โดยรวมดูแย่ลงไปอีกด้วย ซึ่งวันนี้เราก็ได้รวบรวมถึงสาเหตุที่ทำให้หัวล้านและวิธีการแก้ปัญหามาฝากกัน ซึ่งจะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

หัวล้านจากกรรมพันธุ์

นอกจากโรคติดต่อทางกรรมพันธุ์ ยีนส์ สีผิวรูปร่างและลักษณะอื่นๆ ทางพันธุกรรม หัวล้านก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ติดต่อได้ทางพันธุกรรมเช่นกัน โดยจะถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานแบบเป็นทอดๆ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะหัวล้านเสมอไป ซึ่งหัวล้านที่เกิดจากกรรมพันธ์นั้น เป็นเพราะร่างกายได้รับฮอร์โมน DHT มากเกินไป โดยฮอร์โมนตัวนี้ถ้ามีในปริมาณที่พอเหมาะก็จะเป็นผลดี แต่หากมีในปริมาณที่มากเกินไปก็จะก่อให้เกิดผลเสียตามมาได้ ซึ่งจะทำให้รากผมฝ่อเล็กลง และค่อยๆหลุดร่วงออกมามากขึ้น จนผมบางและหัวล้านในที่สุด นอกจากนี้ก็อาจไปรบกวนการทำงานของต่อมไขมันบนหนังศีรษะ จนทำให้ผมมันมากกว่าปกติและเกิดการอุดตันของรูขุมขนได้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หัวล้านในผู้หญิง

สำหรับหัวล้านในผู้หญิง ก็อาจเกิดได้จาก 3 สาเหตุใหญ่ๆ คือ กรรมพันธุ์ ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดประมาณ 90% เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ประมาณ 10% เช่น ภาวะคลอดบุตรและวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น และสาเหตุสุดท้ายก็คือการมีหน้าผากกว้างหรือหน้าผากสูงตั้งแต่กำเนิดนั่นเอง โดยอาการหัวล้านในผู้หญิง จะมีทั้งแบบผมร่วงและค่อยๆบางจนโล้นไปทั้งศีรษะ และแบบผมร่วงและค่อยๆโล้นเป็นหย่อม  อย่างไรก็ตามอาการผมร่วงในผู้หญิงก็จะพบได้น้อยกว่าผู้ชายมากทีเดียว

หัวล้านเป็นหย่อมๆ

หัวล้านเป็นหย่อมๆ ก็คืออาการหัวล้านที่ไม่ได้ล้านไปทั้งศีรษะ แต่ล้านเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งบนศีรษะเท่านั้น ซึ่งก็เป็นปัญหาหัวล้านที่พบบ่อยมาก โดยอาการนี้ผมมักจะร่วงไปโดยไม่รู้ตัว และไม่มีอาการเจ็บ คัน หรืออาการใดๆ แสดงให้รู้ทั้งสิ้น ซึ่งส่วนใหญ่กว่าจะรู้ตัวผมก็บางมากจนเกือบล้านไปเสียแล้ว

สาเหตุของอาการหัวล้านเป็นหย่อมๆ

สาเหตุที่ทำให้หัวล้านเป็นหย่อมๆ ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะมีส่วนมาจากการที่ ภูมิคุ้มกันของผิวหนังเกิดความแปรปรวน และมีเซลล์อักเสบมาล้อมอยู่บริเวณรากผมส่วนหนึ่งบนศีรษะ จากนั้นเส้นผมบริเวณดังกล่าวก็จะหลุดร่วงออกไปจนล้านในที่สุด และยังไปยับยั้งการเติบโตของเส้นผม จึงทำให้ผมไม่สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้อีกด้วย

วิธีการนับเส้นผม ว่าร่วงกี่เส้นแต่ละวัน แปลว่าอะไร รุนแรงแค่ไหน

การนับเส้นผมจะทำให้เรารู้ว่าผมร่วงตามปกติหรือไม่ และกำลังเข้าข่ายผมร่วงมากกว่าปกติซึ่งเป็นสัญญาณของหัวล้านหรือเปล่า โดยปกติแล้วเส้นผมของคนเราจะมีอัตราการร่วงอยู่ที่วันละ 100 เส้น และหากเป็นวันที่สระผม ก็จะร่วงประมาณ 200 เส้นนั่นเอง แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าในแต่ละวันมีผมร่วงมากน้อยเท่าไหร่ มีวิธีการนับเส้นผมดังนี้

การนับเส้นผม

การนับเส้นผมที่ร่วงในแต่ละวันให้นับแบบ 5 ครั้งต่อวัน ซึ่งก็คือช่วงเวลาเช้า สาย บ่าย เย็นและก่อนนอนนั่นเอง โดยวิธีการนับ ให้ใช้หวีหวีผมที่ศีรษะทั้ง 4 ด้าน จากนั้นก็นำเส้นผมทั้งหมดที่ร่วงติดหวีมาเก็บรวบรวมใส่เก็บไว้ในถุงพลาสติก ทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่องจนครบสัปดาห์ แล้วจึงเอาเส้นผมที่เก็บไว้ออกมานับ ซึ่งหากเฉลี่ยแล้วพบว่าผมร่วงเกินจาก 100 เส้นต่อวัน ก็แสดงว่าคุณกำลังเป็นโรคผมร่วงและมีโอกาสที่จะหัวล้านเป็นหย่อมๆ แน่นอน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผมร่วงผิดปกติ รุนแรงแค่ไหน

เมื่อพบว่าเส้นผมร่วงผิดปกติ ถือว่ามีความรุนแรงในระดับหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยเชียว เพราะนอกจากจะนำไปสู่หัวล้านเป็นหย่อมๆ ได้แล้ว ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายบางอย่างได้อีกด้วย เช่น โรคตับ โรคโลหิตจางและโรคไต เป็นต้น เพราะฉะนั้นหากพบผมร่วงกว่าปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงจะดีกว่า

สมุนไพรรักษาผมร่วง ป้องกันหัวล้าน

อาการหัวล้านจะต้องป้องกันตั้งแต่แรกเริ่มคือในระยะที่ผมเริ่มร่วงและยังไม่ล้านมากนัก โดยทำได้ด้วยการกระตุ้นให้เส้นผมงอกขึ้นมาใหม่และเสริมความแข็งแรงให้กับรากผมนั่นเอง ซึ่งก็มีสมุนไพรที่จะช่วยรักษาอาการผมร่วงและป้องกันหัวล้านได้ดีดังนี้

1น้ำมันพร้าว

น้ำมันมะพร้าวมีส่วนช่วยในการบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะให้มีความแข็งแรง พร้อมช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผมได้ดี รวมถึงช่วยกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผม จึงสามารถป้องกันหัวล้านได้ในระดับหนึ่ง แถมมีความปลอดภัยสูงอีกด้วย โดยให้นำน้ำมันมะพร้าวมาชโลมให้ทั่วเส้นผม จากนั้นนำผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาดๆ แล้วนำมาโพกให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาที เสร็จแล้วให้ล้างออกแล้วสระผมตามปกติ ทำบ่อยๆ เท่านี้เส้นผมก็จะมีความเงางามและขาดหลุดร่วงน้อยลง

2ใบฝรั่ง

ใบฝรั่ง มีส่วนช่วยในการกระตุ้นให้เส้นผมเจริญเติบโตและลดการหลุดร่วง รวมถึงช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเส้นผมได้อย่างดีเยี่ยม โดยให้นำใบฝรั่งประมาณ 1 กำมือมาต้มในน้ำ 20 นาที จากนั้นปล่อยตั้งทิ้งไว้จนน้ำที่ต้มเย็นลง แล้วนำน้ำใบฝรั่งมานวดให้ทั่วเส้นผมและหนังศีรษะ หมักทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง แล้วล้างออกให้สะอาด ทำได้บ่อยครั้งตามต้องการ

3ขิง

ขิง มีสรรพคุณในการรักษาอาการผมร่วงที่เป็นสาเหตุของหัวล้าน และยังมีสรรพคุณดีๆ อีกมากมาย โดยให้นำขิงแก่ประมาณฝ่ามือ 1 แง่ง มาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำมาตำให้ละเอียดแล้วห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ เสร็จแล้วให้นำน้ำประมาณครึ่งหม้อไปตั้งไฟ นำผ้าขาวบางขึงไว้ที่ปากหม้อ เมื่อน้ำเดือดก็ให้นำลูกประคบมาวางบนผ้าขาวบางประมาณ 5 นาที แล้วนำไปประคบให้ทั่วบริเวณที่ผมร่วง ให้ทำแบบนี้วันละสองครั้ง ครั้งละครึ่งชั่วโมง จะทำให้เส้นผมกลับมาเงางามและหนาดกเหมือนเดิม

รักษาผมร่วงที่ศิริราช

การรักษาผมร่วงที่ศิริราช อาจารย์หมอได้กล่าวว่าไม่มีวิธีไหนที่จะทำให้ผมขึ้นแล้วคงอยู่อย่างถาวร โดยในคนที่หัวล้านนั้น ถึงแม้จะทำการรักษาจนเส้นผมกลับมาหนาดกดำเหมือนเดิมแล้ว แต่เมื่อหยุดการรักษาผมก็จะค่อยๆ ร่วงและหัวล้านเหมือนเดิม จึงสรุปได้ว่าการรักษาผมร่วงนั้นต้องทำอย่างต่อเนื่องไปโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการกินหรือการทายาก็ตาม ซึ่งก็ขอแนะนำให้ทำการรักษากับแพทย์เกี่ยวกับโรคผิวหนังโดยตรง โดยแพทย์จะพิจารณา ทำการวินิจฉัยและจัดยาที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

หัวล้านสามารถรักษาได้ หากรักษาอย่างถูกวิธีและทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็อาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานพอสมควร และที่สำคัญต้องรักษาอย่างต่อเนื่องไปโดยตลอดเลยทีเดียว

บทความที่เกี่ยวข้อง
การฉีด PRP ผม แก้ปัญหาผมบาง นวัตกรรมเสริมหล่อผู้ชาย


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alopecia areata. (n.d.) (https://www.naaf.org/alopecia-areata)
Symptoms: Coronary heart disease (2017). (https://www.nhs.uk/conditions/coronary-heart-disease/symptoms/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)