ผู้ป่วยหลายคนมักจะถามว่าขอตรวจระดับวิตามินดีได้หรือไม่? พวกเขาอาจมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคกระดูกพรุน หรือตัวเองอาจจะเป็นเอง ส่วนมากพวกเขาอยากรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรถึงจะทำให้กระดูกนั้นแข็งแรงขึ้น วิตามินดีนั้นจำเป็นต่อการมีกระดูกที่แข็งแรงแต่การตรวจวัดระดับวิตามินดีในเลือดนั้นยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในวงการแพทย์
การระบุระดับที่เหมาะสมของวิตามินดีนั้นเป็นเรื่องที่ยาก
แล้วระดับวิตามินดีเท่าไหร่ถึงเรียกว่าต่ำและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนหรือหัก? (เรากำลังพูดถึงระดับของ 25-hydroxy-vitamin D ในเลือดซึ่งมักจะวัดในหน่วยนาโนกรัมต่อมิลลิลิตร)
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เมื่อปี 2010 Institute of Medicine (IOM) ได้ออกรายงานเกี่ยวกับการทดสอบข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยสรุปก็คือพวกเขาประมาณว่าระดับวิตามินดีที่ 20 ng/mL หรือสูงกว่านั้นเพียงพอต่อการมีสุขภาพของกระดูกที่ดี และหากต่ำกว่า 20 จะถือว่ามีภาวะขาดวิตามินดี
ในชีวิตจริงส่วนใหญ่นั้น การพบระดับวิตามินดีที่ต่ำกว่า 20 นั้นเป็นเรื่องที่พบได้ไม่บ่อย และเมื่อพบก็จะบอกพวกเขาว่าขาดวิตามินดีและต้องได้รับวิตามินดีเสริมอย่างเร่งด่วนรวมถึงในระยะยาว ส่วนมากผู้ป่วยมักจะมีระดับวิตามินดีอยู่ระหว่าง 20-40
แต่ในปี 2011 สมาคมโรคเบาหวานก็ได้มีการออกรายงานเพื่อโต้แย้งรายงานดังกล่าว โดยสรุปว่า อย่างน้อยเราควรจะต้องมีวิตามินดี 30 ng/mL และเนื่องจากการทดสอบในแต่ละเครื่องนั้นอาจจะต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่ามีวิตามินดีในปริมาณที่เพียงพอ ควรมีวิตามินดีอยู่ระหว่าง 40-60 ng/mL ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
ความคิดเห็นล่าสุดเกี่ยวกับระดับวิตามินดีที่เหมาะสมนั้นมาจากบทความที่ชื่อว่า “การขาดวิตามินดีนั้นเป็นโรคระบาดระดับโลกจริงหรือ?” ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine ในบทความนี้ผู้ที่มีส่วนร่วมในการเขียนรายงานของ IOM นั้นได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าน่าจะยอมรับการมีวิตามินดีในเลือดที่ต่ำกว่า 20 แต่ไม่ควรใช้ค่านี้ในการวินิจฉัยว่ามีการขาดวิตามินดี พวกเขาคิดว่าในปัจจุบันกำลังมีการคัดกรองภาวะขาดวิตามินดีที่มากเกินไปและทำให้เกิดการรักษาที่ไม่จำเป็นขึ้นในผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรง
พวกเขาเสนอว่าการวินิจฉัยภาวะการขาดวิตามินดีนั้นควรมีวิตามินดีในระดับที่ต่ำกว่า 12.5 ng/mL ข้อมูลดังกล่าวนั้นได้จากการข้อมูลแบบสอบถามทางโภชนาการขนาดใหญ่ และการตั้งเกณฑ์การวินิจฉัยที่ 12.5 ng/mL นั้นจะกำจัดปัญหาที่กล่าวว่าการขาดวิตามินดีนั้นกำลังเป็นปัญหาระดับโลกได้อย่างแน่นอน
แต่หลังจากนั้นก็มีบทความและความคิดเห็นอื่นๆ ที่ทั้งออกมาโต้แย้งและสนับสนุนงานวิจัยและแนวทางการรักษาอื่นๆ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
บางคนเน้นที่ว่าเราจะสามารถระบุภาวะขาดวิตามินดีได้อย่างไร? และมันคืออะไร?
ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งเห็นด้วยกับผู้เขียนบทความในวารสาร NEJM ว่าในปัจจุบันนั้นมีการคัดกรองภาวะการขาดวิตามินดีที่มากเกินไป และทำให้มีการรักษาที่ไม่จำเป็นเกิดขึ้นในผู้ที่สามารถได้รับวิตามินดีจากอาหารและแสงแดดอย่างเพียงพอ และเราไม่จำเป็นต้องทำการตรวจระดับวิตามินดีในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง
ยิ่งไปกว่านั้นการที่มีวิตามินดีสูงนั้นก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อมนุษย์แต่อย่างใด วิติมนดีนั้นพบได้ค่อนข้างน้อยในอาหารแต่เราสามารถได้รับจากแสงแดด แต่คนที่อยู่ในบริเวณที่ได้รับแสงแดดมากนั้นก็มีสีผิวที่คลำขึ้น ดังนั้นหากวิตามินดีนั้นจำเป็นสำหรับมนุษย์ ทำไมร่างกายเราถึงมีวิวัฒนาการแบบนั้น
แล้วใครที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจภาวะขาดวิตามินดี?
งานวิจัยล่าสุดที่ทำการศึกษาผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน 2000 คนและติดตามต่อเนื่อง 10 ปีพบว่าการมีระดับวิตามินดีที่ต่ำว่า 20 นั้นมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกหักเองเล็กน้อย ก่อนที่จะสรุปว่าเนื่องจากการที่วิตามินดีนั้นพบได้น้อยในอาหารและแนะนำให้รับประทานวิตามินดีเสริมในผู้หญิงวัยกลางคนที่มีระดับวิตามินดีน้อยกว่า 20 ng/mL
ในผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนหรือกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักนั้นควรมีระดับวิตามินดีที่มากกว่า 20 แต่ในบุคคลทั่วไปที่สุขภาพแข็งแรงนั้นควรมีระดับวิตามินดีที่สูงกว่า 15 หรืออาจจะต่ำได้ถึง 10 ng/mL
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากยังแนะนำให้ทำการตรวจวัดระดับวิตามินดีในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการขาดวิตามินดี เช่นผู้ที่เป็นโรค anorexia nervosa, ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดกระเพาะลดความอ้วน ผู้ที่มีปัญหาในการดูดซึมอาหารเช่นโรคเซลิแอค หรือผู้ที่มีผิวหนังสีเข้มหรือได้รับแสงแดดในปริมาณน้อย ประชากรบางกลุ่มควรมีระดับวิตามินดีที่สูงกว่า 20 ng/mL เช่นผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะกระดูกบาง และกระดูกพรุนหรือโรคทางกระดูกอื่นๆ เช่นเดียวกับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ซึ่งควรได้รับการตรวจและให้การรักษาตามความเหมาะสม