วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

โรคหนองในผู้ชาย เกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร

รวมข้อมูลโรคหนองในผู้ชาย มีสาเหตุมาจากอะไร อาการเป็นอย่างไร ทั้งโรคหนองในแท้และโรคหนองในเทียม
เผยแพร่ครั้งแรก 13 ส.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคหนองในผู้ชาย เกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคหนองในคือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในสารคัดหลั่ง สามารถพบได้ทั้งในอวัยวะเพศชายและหญิง แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ โรคหนองในแท้ และโรคหนองในเทียม
  • โรคหนองในสามารถติดต่อกันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก และยังสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ แต่ไม่สามารถติดต่อผ่านการกอดจูบ หรือใช้สิ่งของร่วมกันได้
  • อาการของโรคหนองในในผู้ชายทั้ง 2 ชนิด อาการหลักๆ คือ เจ็บลูกอัณฑะ มีมูกสีเหลือง หรือมูกสีเขียวไหลออกมาจากอวัยวะเพศ เจ็บแสบอวัยวะเพศขณะปัสสาวะ 
  • เชื้อหนองในสามารถสร้างอาการอักเสบบริเวณอวัยวะอื่นที่สารคัดหลั่งปนเปื้อนจนติดเชื้อได้ เช่น บริเวณดวงตา ในลำคอ ท่อปัสสาวะ จนทำให้เกิดอาการตาอักเสบ ตาแดง เจ็บคอ ไอเรื้อรัง มีไข้สูงได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคหนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย หากไม่รีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะทำให้ระบบสืบพันธุ์ในร่างกายเกิดความผิดปกติ และส่งผลข้างเคียงมากมายตามมา

ในบทความนี้เราจะพูดถึงโรคหนองในที่เกิดขึ้นในผู้ชายว่า มีอาการเป็นอย่างไร และมีวิธีรักษาได้อย่างไรบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของโรคหนองใน

โรคหนองในคือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infection: STI) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในสารคัดหลั่งที่พบได้ทั้งในอวัยวะเพศหญิง และชาย รวมถึงบริเวณทวารหนัก ปากมดลูก และท่อปัสสาวะ

ดังนั้นโรคหนองในจึงติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการสอดใส่อวัยวะเพศ หรือการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก อีกทั้งเชื้อโรคหนองในยังสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกได้หากคลอดผ่านวิธีธรรมชาติ 

การคลอดวิธีธรรมชาติเป็นโอกาสทำให้เชื้อหนองในบริเวณช่องคลอดมารดาปนเปื้อนไปที่เยื่อบุตาของทารกขณะคลอดได้

อย่างไรก็ตาม เชื้อหนองในนั้นไม่สามารถติดต่อกันผ่านการกอดจูบ หรือการใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกันได้

ประเภทของโรคหนองใน

  • โรคหนองในแท้ (Gonorrhea) เป็นชนิดของโรคหนองในซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียไนซ์ซีเรีย โกโนเรียอี (Neisseria gonorrhoeae) โดยเชื้อดังกล่าวเป็นเชื้อแบคทีเรียที่เติบโตได้ดีในอวัยวะซึ่งมีความอุ่นและชื้น เช่น ดวงตา ลำคอ ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด และทวารหนัก

  • โรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis: NSU) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียคลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อกันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์เช่นกัน

อาการของโรคหนองในผู้ชาย

โรคหนองในที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยชายทั้งหนองในแท้และหนองในเทียม อาการมีดังต่อไปนี้

1. อาการโรคหนองในแท้ในผู้ชาย

อาการโรคหนองในแท้มักไม่แสดงออกมาในช่วงแรกหลังจากติดเชื้อ ดังนั้นผู้ป่วยชายจึงอาจไม่รู้ตัวว่า ตนเองกำลังติดเชื้ออยู่ อย่างไรก็ตาม อาการโรคหนองในแท้ในผู้ป่วยบางรายก็อาจแสดงออกมาหลังจากติดเชื้อแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการเริ่มต้นของโรคหนองในแท้จะได้แก่

  • เจ็บแสบคอ
  • รู้สึกเจ็บ หรือแสบอวัยวะเพศขณะปัสสาวะ
  • มักปวดปัสสาวะกะทันหัน
  • มีของเหลว หรือมูกสีเหลือง สีเขียวคล้ายน้ำหนองไหลออกมาจากอวัยวะเพศ
  • ปลายอวัยวะเพศมีผื่น หรือรอยปื้นแดงขึ้น รวมกับมีอาการคันระคายเคือง
  • เจ็บลูกอัณฑะ

หากมีอาการเหล่านี้แล้วผู้ป่วยยังไม่รีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัย ก็อาจเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนอีกมากมายซึ่งทำให้อาการบริเวณระบบสืบพันธุ์ และท่อปัสสาวะแย่ลงกว่าเดิม

นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคหนองในแท้ยังมักติดเชื้อโรคหนองในเทียมร่วมด้วย การรักษาโรคหนองในแท้ให้หายจึงอาจต้องรักษาโรคหนองในเทียมควบคู่ไปด้วย

2. อาการโรคหนองในเทียมในผู้ชาย

ระยะเวลาที่โรคหนองในเทียมแสดงออกมาจะไม่แตกต่างไปจากโรคหนองในแท้ นั่นคือ อาการจะไม่แสดงออกมาในช่วงแรก จนเมื่อผ่านไปประมาณ 1-3 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ อาการของโรคจึงจะเริ่มแสดงออกมา ได้แก่

  • รู้สึกเจ็บแสบ เหมือนแสบแผลไฟไหม้ระหว่างปัสสาวะ
  • มีของเหลว หรือมูกสีเหลือง หรือสีเขียวไหลออกมาจากอวัยวะเพศ
  • ปวดเจ็บช่องท้องส่วนล่าง
  • เจ็บลูกอัณฑะ

หากเกิดอาการเหล่านี้แล้วผู้ป่วยยังไม่รีบไปเข้ารับการรักษา อวัยวะเพศผู้ป่วยอาจมีของเหลว มูกใสสีเหลือง หรือสีเขียว หรือเกิดภาวะเลือดออกที่อวัยวะเพศมากขึ้นอีก

นอกจากอาการที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ หากผู้ป่วยติดเชื้อหนองในเทียมติดเชื้อที่ดวงตา หรือในลำคอ ก็จะมีอาการแสดงออกมาด้วยเช่นกัน เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ตาแดง
  • ตาบวม
  • คันระคายเคือง
  • มีน้ำหนองไหลออกมาจากดวงตา
  • มีอาการไวต่อแสง
  • เจ็บคอ
  • คอแห้ง
  • มีไข้สูง
  • ไอเรื้อรัง

นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคหนองในยังสามารถเกิดอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ได้อีก เพราะเชื้อหนองในได้ไปสร้างอาการอักเสบที่บริเวณอวัยวะอื่นๆ อีก เช่น ตาอักเสบ อัณฑะอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ มีอาการปัสสาวะขัด

บางครั้งการไปพบแพทย์ด้วยปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะเพศ มีความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับอวัยวะเพศ หรือโรคทางเพศสัมพันธ์อาจเป็นเรื่องน่าอาย 

แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีดีๆ เข้ามาช่วยแล้วโดยเฉพาะการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (วีดีโอคอล) เพื่อรับคำปรึกษาเบื้องต้นก่อน โดยที่ยังไม่ต้องเดินทางไปพบคุณหมอจริงๆ นั่นเอง 

การรักษาโรคหนองในในผู้ชาย

แพทย์มักรักษาโรคหนองในทั้ง 2 ชนิดด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ ร่วมกับยาปฏิชีวนะชนิดฉีดคือ ยาอะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) ร่วมกับ เซฟไตรอะโซน (Certriaxone) 

การที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะทั้งสองอย่างร่วมกันเนื่องจากพบอุบัติการณ์เชื้อดื้อยาสูงในปัจจุบัน

นอกจากนี้ผู้ป่วยยังควรให้คู่นอนเข้ารับการตรวจและรักษาไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นคู่นอนเพศหญิง หรือเพศชายก็ตาม และควรงดมีเพศสัมพันธ์ไปจนกว่าอาการของโรคจะดีขึ้น

โดยปกติอาการโรคหนองในจะดีขึ้นหลังจากรักษาไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ผู้ป่วยก็ยังต้องเข้ารับการตรวจกับแพทย์ตามนัดทุกครั้งจนกว่าแพทย์จะยืนยันว่า อาการของโรคหายสนิทดีแล้ว รวมถึงอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ต้องดีขึ้นด้วย

วิธีป้องกันโรคหนองในผู้ชาย

การป้องกันตนเองระหว่างมีเพศสัมพันธ์คือ หัวใจหลักที่สามารถป้องกันโรคหนองในแท้ และหนองในเทียมได้ 

ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ผู้ชายทุกคนควรสวมถุงยางอนามัยที่มีมาตรฐานทุกครั้งและต้องสวมอย่างถูกวิธีด้วย รวมถึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอน บ่อยๆ หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์เสริมทางเพศ และการมีเพศสัมพันธ์ทางปากเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

นอกจากนี้ถึงแม้คุณจะระมัดระวังเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศแล้ว แต่ก็ยังควรเข้ารับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ปีละ 1 ครั้ง และหากรู้สึกว่า ตนเองมีอาการ หรือมีความเสี่ยงติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อขอรับการวินิจฉัยทันที

หลายคนอาจรู้สึกสนุก หรือพึงพอใจกับพฤติกรรมทางเพศของตนเอง และอาจคิดว่า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ใช่โรคที่ติดกันได้ง่ายๆ บางคนอาจเชื่อใจในตัวคนรักของตนเองจนไม่ได้ป้องกันดีพอ 

นี่เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ปริมาณผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้นทุกวัน

คุณจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่าประมาท หรือใช้ความเชื่อใจเป็นตัวตัดสินซึ่งนั่นอาจทำให้คุณเสี่ยงติดเชื้อมากกว่าเดิม 

เพราะเมื่อเกิดการติดเชื้อแล้ว นั่นอาจหมายถึงการรักษาที่กินระยะเวลายาวนาน ทั้งรักษาตัวโรคเอง และภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้น หรืออาจหมายถึงการเพิ่มโอกาสติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆ ง่ายกว่าคนทั่วไป เช่น การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคเอดส์ 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
World Health Organisation, Emergence of multi-drug resistant Neisseria gonorrhoeae (PDF) (Report)2012 (https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/70603/WHO_RHR_11.14_eng.pdf;jsessionid=2949D4280FA62685C083BF3507AF6B0B?sequence=1), 18 September 2020.
Unemo, M (21 August 2015). "Current and future antimicrobial treatment of gonorrhoea – the rapidly evolving Neisseria gonorrhoeae continues to challenge". BMC Infectious Diseases. 15: 364. doi:10.1186/s12879-015-1029-2. PMC 4546108. PMID 26293005
Jill Seladi-Schulman, Everything You Need to Know About Chlamydia Infection (https://www.healthline.com/health/std/chlamydia#pictures), 13 August 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคเริมที่ปาก โรคผิวหนังที่ติดต่อได้หากไม่ระวัง
โรคเริมที่ปาก โรคผิวหนังที่ติดต่อได้หากไม่ระวัง

สาเหตุและวิธีป้องกันของโรคเริมที่ปาก การรักษาที่ถูกต้องหากเป็นเริมที่ปาก

อ่านเพิ่ม
8 สิ่งที่ควรรู้ก่อนมีเซ็กส์ทางรูทวาร
8 สิ่งที่ควรรู้ก่อนมีเซ็กส์ทางรูทวาร

ก่อนมีเพศสัมพันธ์ทางรูทวาร ควรรู้ข้อมูลอะไรบ้าง

อ่านเพิ่ม