ประจำเดือนครั้งแรก จะเกิดขึ้นเมื่อใด?

การมีประจำเดือนครั้งแรกของเด็กผู้หญิง มักเกิดขึ้นในช่วงอายุ 12-15 ปี ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น กรรมพันธุ์ พฤติกรรม และสภาพแวดล้อมต่างๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประจำเดือนครั้งแรก จะเกิดขึ้นเมื่อใด?

เมื่อเด็กผู้หญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลายอย่าง เช่น เริ่มมีหน้าอก มีขนขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ มีส่วนสูงที่เพิ่มมากขึ้น และจะเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ซึ่งถือได้ว่าเป็นกระบวนการพัฒนาลำดับท้ายๆ ก่อนจะเข้าสู่การเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว

เวลาเฉลี่ยของเด็กผู้หญิงที่ประจำเดือนมาครั้งแรก คืออายุเท่าไร?

ปกติแล้ว เด็กผู้หญิงมักจะมีประจำเดือนครั้งแรกหลังเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ไปแล้วประมาณ 2 ปี ซึ่งอายุเฉลี่ยของเด็กสาวที่จะประสบกับประจำเดือนครั้งแรกอยู่ที่ 12-13 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นก่อนหรือล่าช้ากว่านั้นได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง รวมถึงเรื่องของเชื้อชาติด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

จากสถิติพบว่า อายุเฉลี่ยของเด็กผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการบริโภคอาหาร สุขอนามัย และอื่นๆ เช่นเดียวกับอายุเฉลี่ยของเด็กผู้หญิงช่วงเริ่มต้นของวัยเจริญพันธุ์ (การมีหน้าอก) ก็เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งก็ยังหาเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

เหตุใดเด็กผู้หญิงจึงไม่มีประจำเดือนตอนอายุเท่ากัน?

ปัจจัยที่ทำให้เด็กผู้หญิงแต่ละคนมีประจำเดือนครั้งแรกไม่เท่ากัน คือพันธุกรรม พฤติกรรม และสภาพแวดล้อมของบุคคลนั้นๆ โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือปัจจัยด้านพันธุกรรม ซึ่งมีส่วนประมาณ 60-80% ส่วนปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ สามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้

  • การมีประจำเดือนครั้งแรกเร็ว : นอกจากพันธุกรรมแล้ว อาหารก็มีบทบาทต่อการมีประจำเดือนครั้งแรกเช่นกัน โดยผู้ที่มีดัชนีมวลกายสูง (body mass index (BMI)) ผู้ที่ชอบทานโปรตีนจากสัตว์ และผู้ชอบดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือน้ำตาลสูง จะมีโอกาสที่ประจำเดือนครั้งแรกจะมาเร็ว

การสัมผัสถูกสารเคมีตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือตั้งแต่ช่วงที่เป็นทารก เช่น สาร DDT หรือยาฆ่าแมลงบางประเภท ก็มีส่วนทำให้มีประจำเดือนครั้งแรกมาเร็วกว่ากำหนดเช่นกัน DDT และสารเคมีกำจัดแมลงรบกวนบางประเภท

  • การมีประจำเดือนครั้งแรกช้า : มักจะเกิดกับผู้ที่ชอบออกกำลังกายความเข้มข้นเป็นประจำ โดยเฉพาะกีฬาที่เสริมสร้างขนาดของร่างกายอย่างบัลเล่ห์ ยิมนาสติก หรือวิ่งระยะไกล และอาจพบได้ในผู้ที่มีรูปร่างผอมหรือมี BMI ต่ำ ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรมหรือภาวะทางการแพทย์ต่าง ๆ เช่น โรคอะโนเร็กเซีย หรือภาวะทางระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ บางครั้งอาจพบว่าประจำเดือนครั้งแรกล่าช้าเกิดจากการสัมผัสสารพิษตามธรรมชาติ เช่น ปรอท เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หากมีอายุ 15 ปีขึ้นไปแล้ว ยังไม่มีประจำเดือน แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งอาจจะเกิดจากภาวะทางการแพทย์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจเกิดจากการหลั่งฮอร์โมนที่ไม่ปกติของร่างกาย

ที่มาของข้อมูล

Anna Druet, When does menstruation begin? (https://helloclue.com/articles/life-stages/when-does-menstruation-begin), 8 กุมภาพันธ์ 2017.


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Starting your periods. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/periods/starting-periods/)
5 Common Questions About a Girl's First Periods. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/menstruation-and-first-periods-3520911)
Menstruation Definition, Symptoms, Pain Relief & Remedies. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/menstruation/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ปวดท้องประจำเดือน (Menstrual Cramps)
ปวดท้องประจำเดือน (Menstrual Cramps)

เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ทำอย่างไรให้ "วันนั้นของเดือน" ไม่ใช่วันทุกข์อีกต่อไป

อ่านเพิ่ม
เปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด และประสิทธิภาพ
เปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด และประสิทธิภาพ

ตารางเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิดในรูปแบบต่างๆ มีประสิทธิภาพในการป้องกันอย่างไร ราคาเท่าไหร่ ใช้งานง่ายหรือยาก อ่านเลย!

อ่านเพิ่ม
ประจำเดือนไม่มา มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง
ประจำเดือนไม่มา มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง

ไม่ใช่แค่เครียด แต่อาจมีความผิดปกติร้ายแรงเกิดขึ้นภายในร่างกายคุณ ต้องหมั่นตรวจเช็ก

อ่านเพิ่ม