การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

การตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์มีความจำเป็นอย่างไร แพทย์จะตรวจอะไรบ้าง ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนไปตรวจ และมีค่าใช้จ่ายในการตรวจเท่าไร
เผยแพร่ครั้งแรก 28 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากการตั้งครรภ์มีความเสี่ยงและสิ่งที่ต้องพึงระวังหลายอย่างที่ต้องได้รับการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น การตรวจเลือด การตรวจระบบภายใน เป็นต้น การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ ไม่ใช่แค่หน้าที่ของว่าที่คุณแม่เพียงฝ่ายเดียว เพราะบางครั้งความผิดปกติก็อาจเกิดจากว่าที่คุณพ่อได้เช่นกันดังนั้น ทั้งผู้ชายและผู้หญิงจึงจำเป็นจะต้องตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ร่วมกันด้วย หรือที่เรียกกันว่า การตรวจร่างกายก่อนมีบุตร หรือการตรวจร่างกายก่อนแต่งงาน

รายการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง?

การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ โดยส่วนใหญ่จะครอบคลุมการตรวจสุขภาพและร่างกายทั้ง 3 ด้าน ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical Examination) หมายถึง การซักประวัติและตรวจสุขภาพโดยทั่วไป เพื่อดูว่าทั้งว่าที่คุณพ่อ - คุณแม่ มีความสมบูรณ์ของร่างกายมากน้อยเพียงใด โดยพิจารณาจากน้ำหนัก ส่วนสูง ประวัติการใช้ยา และดูระบบภายในร่างกายว่าทำงานปกติหรือไม่ เช่น การทำงานของระบบหายใจและหัวใจ การตรวจเต้านมและช่วงหน้าท้อง เป็นต้น
  2. ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC) ตรวจหมู่เลือด (ABO) และชนิดของหมู่เลือด (Rh) และความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ การเจาะเลือดเพื่อตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์นั้น นอกจากจะตรวจเพื่อให้รู้หมู่เลือด (ABO Group) ตรวจหาชนิดหมู่เลือด (Rh Group) และการตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count) แล้ว ยังเป็นการตรวจสอบดูด้วยว่า ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง มีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ หรือไม่ เช่น กลุ่มโรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสเอชไอวี หรือโรคที่เสี่ยงต่อการติดต่อทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย (โลหิตจาง) เนื่องจากการที่ฝ่าชายหรือฝ่ายหญิงมีโรคบางอย่าง อาจไม่สามารถปล่อยให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ หากไม่ได้รับการรักษา หรือคุมโรคให้สงบอย่างน้อย 6 เดือน
  3. ตรวจภายในสำหรับผู้หญิงและอาจมีการส่งต่อเพื่ออัลตราซาวด์ในบางเคส การตรวจภายในเป็นการตรวจสำหรับว่าที่คุณแม่โดยเฉพาะ เพื่อดูว่ามดลูกและรังไข่ทำงานปกติดีหรือไม่ หรือมีอาการผิดปกติใดๆ หรือไม่ เช่น เนื้องอก ช็อกโกแลตซีสต์ มะเร็งปากมดลูก ตลอดจนตรวจว่ามีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่ เช่น เชื้อซิฟิลิส
  4. การตรวจเพิ่มเติมสำหรับโรงพยาบาลบางแห่ง บางโรงพยาบาลจะให้บริการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ด้วย เช่น ตรวจดูความสมบูรณ์ของเชื้ออสุจิ เป็นต้น

ก่อนไปตรวจ ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

  • สวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือด และถอดง่าย เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจที่อาจต้องมีการเปลี่ยนชุดและถอดเสื้อชั้นในออก เช่น การเอกซเรย์ปอด หรือการตรวจภายใน
  • ควรงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1-2 วัน และควรงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ ระหว่างนี้สามารถจิบน้ำเปล่าได้เพื่อป้องกันอาการร่างกายขาดน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการนัดตรวจสุขภาพในช่วงมีประจำเดือน รวมถึงช่วงก่อนและหลังมีประจําเดือน 7 วัน เพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำในการตรวจปัสสาวะ หรือการตรวจมะเร็งเต้านม
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนให้ได้อย่างน้อย 6-7 ชั่วโมงก่อนไปตรวจสุขภาพ เพราะการพักผ่อนไม่เพียงพอสามารถทำให้ความดันต่ำผิดปกติ อุณหภูมิร่างกายสูงเกินปกติ จึงอาจทำให้ผลตรวจไม่แน่นอน

ราคาตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์จากโรงพยาบาลต่าง ๆ

ชื่อโรงพยาบาล ราคาสำหรับผู้ชาย (บาท) ราคาสำหรับผู้หญิง (บาท)

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

3,500

3,900

โรงพยาบาลพญาไท

3,800

5,400

โรงพยาบาลศิครินทร์

2,500

2,890

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

5,230

7,800

โรงพยาบาลเจ้าพระยา

3,500

4,000

หมายเหตุ ควรโทรศัพท์สอบถามค่าใช้จ่ายที่อาจมีการปรับขึ้น รวมถึงเงื่อนไขของการตรวจแต่ละประเภท เพื่อจะได้จัดเตรียมและวางแผนทางการเงินก่อนไปตรวจได้อย่างครอบคลุมที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลเจ้าพระยา,โปรแกรมตรวจก่อนแต่ง/ก่อนตั้งครรภ์(https://www.chaophya.com/2018/06/ตรวจก่อนแต่ง/)
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, แพ็กเกจตรวจก่อนตั้งครรภ์(https://www.bumrungrad.com/th/health-check-up-center-bangkok-thailand-jci-best/preconception-check-up-packages-female)
โรงพยาบาลศิครินทร์, โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน(http://www.sikarin.com/promotionandpackages/detail?sku=SK00005)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)