การวินิจฉัยโรคลมชัก

เผยแพร่ครั้งแรก 1 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การวินิจฉัยโรคลมชัก

โรคลมชักเป็นโรคที่โดยทั่วไปถือว่ามีความยากที่จะวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นโรคลมชักจนกว่าจะมีอาการชักมากกว่า 1 ครั้ง โดยแพทย์จะซักถามถึงลักษณะของอาการชักที่เกิดขึ้นจากคุณหรือจากผู้พบเห็นเหตุการณ์ ร่วมกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) และการตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

โรคลมชักวินิจฉัยได้ยากเป็นเพราะมีหลายโรคที่ทำให้เกิดอาการคล้ายโรคลมชัก เช่น ปวดศีรษะไมเกรน และอาการแพนิค (panic attacks)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากคุณมีอาการชัก คุณจะถูกส่งต่อไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคลมชัก โดยทั่วไปคือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท (neurologist) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคที่ส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาทของร่างกาย

การอธิบายลักษณะอาการชักที่เป็น

ส่วนหนึ่งที่สำคัญที่สุดซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวินิจฉัยโรคลมชักคือข้อมูลเกี่ยวกับอาการชักที่คุณเป็น

แพทย์จะทำการสอบถามคุณว่าคุณจำอะไรได้บ้าง และมีอาการอะไรบ้างที่คุณเป็นก่อนเกิดอาการชัก เช่น ความรู้สึกแปลกๆ ก่อนมีอาการชัก หรือ คุณมีอาการเตือนของอาการชักหรือไม่ (warning signs) นอกจากนี้อาจเป็นประโยชน์ที่จะสอบถามกับผู้ที่พบเห็นอาการชักของคุณ และสอบถามพวกเขาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้นว่าเขาเห็นอะไรระหว่างที่คุณมีอาการชัก โดยเฉพาะถ้าคุณไม่สามารถจดจำอะไรได้ระหว่างที่คุณกำลังชัก

แพทย์จะสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ และประวัติส่วนบุคคลของคุณ รวมถึงยาที่คุณกำลังใช้ ประวัติการใช้สารเสพติด และการดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

แพทย์อาจให้การวินิจฉัยโรคลมชักให้กับคุณได้จากข้อมูลที่คุณให้ แต่ก็อาจมีการตรวจเพิ่มเติมด้วย เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalogram หรือ EEG) หรือการตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (magnetic resonance imaging (MRI) scan)

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลการตรวจดังกล่าวข้างต้นจะไม่พบความผิดปกติใด แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่คุณจะเป็นโรคลมชัก โดยที่ตรวจไม่พบความผิดปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram (EEG))

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง หรือ EEG test จะสามารถตรวจพบกิจกรรมที่ผิดปกติของสมองที่สัมพันธ์กับโรคลมชัก โดยการวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (electrical activity) ผ่านขั้วไฟฟ้าที่วางไว้บนหนังศีรษะของคุณ

ในระหว่างการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง คุณอาจได้รับการขอให้หายใจลึกๆ หรือหลับตาและอาจถูกขอให้มองไปที่แสงไฟกระพริบ การตรวจนี้จะถูกหยุดลงทันทีหากดูเหมือนว่าแสงไฟกระพริบจะกระตุ้นให้คุณมีอาการชัก

ในบางกรณีการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองจะทำในขณะที่คุณนอนหลับ (sleep EEG) หรือคุณอาจได้รับอุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองขนาดเล็กแบบพกพาเพื่อวัดคลื่นไฟฟ้าสมองตลอดเวลา 24 ชั่วโมง (ambulatory EEG)

การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (magnetic resonance imaging (MRI) scan)

การตรวจ MRI คือชนิดของการตรวจสแกนชนิดหนึ่งที่ใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุเพื่อช่วยในการสร้างภาพของสิ่งที่อยู่ภายในสมอง

การตรวจ MRI จะมีประโยชน์ในกรณีผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคลมชัก เพราะการตรวจนี้มักตรวจพบความผิดปกติที่เป็นสาเหตุของโรคลมชักได้ เช่น  ความผิดปกติทางโครงสร้างของสมอง หรือ การมีเนื้องอกในสมอง เป็นต้น

การตรวจด้วยเครื่อง MRI ตัวเครื่องจะเป็นลักษณะของอุโมงค์และคุณจะต้องนอนลงและเข้าไปในอุโมงค์ดังกล่าวระหว่างการตรวจ

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/epilepsy#diagnosis


42 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Epilepsy - Diagnosis. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/epilepsy/diagnosis/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) สำหรับโรคลมชัก
อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) สำหรับโรคลมชัก

คำอธิบายของอาหารคีโตเจนิกและตัวอย่างรายการอาหาร

อ่านเพิ่ม
ข้อมูลโรคลมชักสำหรับผู้ชาย
ข้อมูลโรคลมชักสำหรับผู้ชาย

ข้อมูลโรคลมชักสำหรับผู้ชาย

อ่านเพิ่ม