การส่องกล้องโพรงมดลูก

เผยแพร่ครั้งแรก 29 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
การส่องกล้องโพรงมดลูก

การส่องกล้องโพรงมดลูกเป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบภายในมดลูกจะมีการใช้กล้องส่องฮิสเทโรสโคปที่มีขนาดลำกล้องแคบที่มีไฟฉายและกล้องถ่ายอยู่ที่ปลายสุด โดยภาพที่จับจะแสดงขึ้นมาบนจอเพื่อให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญสามารถมองเห็นภายในมดลูกของคุณได้

กล้องฮิสเทโรสโคปจะเคลื่อนผ่านช่องคลอดของคุณเข้าไปยังคอมดลูก (ทางเข้าส่วนมดลูก) ทำให้กรรมวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องตัดหรือสร้างรอยกรีดบนผิวหนังของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

จะมีการดำเนินการส่องกล้องโพรงมดลูกเมื่อไร?

การส่องกล้องโพรงมดลูกสามารถใช้เพื่อ:

ตรวจสอบอาการและปัญหาภายใน อย่างเช่นมีประจำเดือนไม่ปกติ มีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างผิดปกติ มีเลือดออกหลังประจำเดือนหมด ปวดเชิงกราน แท้งบุตรซ้ำ ๆ หรือมีภาวะตั้งครรภ์ยาก เป็นต้น

วินิจฉัยภาวะต่าง ๆ อย่างเช่นตรวจเนื้องอกภายในมดลูก รักษาภาวะปัญหาต่าง ๆ อย่างเช่นการกำจัดเนื้องอกหรือฝีในมดลูก

เพื่อถอดห่วงอนามัย (IUDs) และตรวจสอบภาวะพังผืดในมดลูก (เนื้อเยื่อแผลที่ทำให้ประจำเดือนขาดและลดโอกาสการตั้งครรภ์ลง) เมื่อก่อนมักมีการใช้กระบวนการที่เรียกว่าการขูดมดลูก (D&C) เพื่อตรวจสอบและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เติบโตภายในมดลูกออก แต่ ณ ปัจจุบันกรรมวิธีส่องกล้องตรวจมดลูกก็ได้เข้ามาแทน

เกิดอะไรขึ้นระหว่างการส่องกล้องโพรงมดลูก?

การส่องกล้องมดลูกมักดำเนินการเป็นการรักษาผู้ป่วยนอก หรือตามเคสรายวัน ทำให้ผู้รับการตรวจไม่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลอาจไม่ต้องใช้ยาสลบ แต่อาจมีการใช้ยาชาในบางกรณี โดยยาสลบอาจถูกใช้ก็ต่อเมื่อคุณต้องได้รับการรักษา หรือคุณต้องการไม่รู้สึกตัวขณะที่แพทย์ดำเนินการตรวจ

ระหว่างการส่องกล้องโพรงมดลูก:คุณต้องนอนราบลงบนเตียงโดยยกขาของคุณบนขารอง และจะมีผ้าห่มคลุมช่วงล่างของคุณไว้ อาจมีการใช้เครื่องมือที่เรียกว่าปากเป็ดสอดเข้าช่องคลอดของคุณเพื่ออ้าช่องคลอดออก (เครื่องมือเดียวกับที่ใช้ในการทดสอบคัดกรองมะเร็งปากมดลูก) ซึ่งในบางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กล้องส่องโพรงมดลูกจะค่อย ๆ เคลื่อนเข้าไปยังมดลูกของคุณ และจะมีการฉีดของเหลวเข้าไปข้างในเบา ๆ เพื่อทำให้แพทย์มองเห็นภาพภายในชัดเจนขึ้น

กล้องจะส่งภาพกลับมาบนหน้าจอทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปรกติที่มี การส่องกล้องโพรงมดลูกจะดำเนินการประมาณ 30 นาที ในบางครั้งอาจใช้เวลาน้อยกว่านั้นหากทำเพื่อวินิจฉัยอาการหรือสภาวะ คุณสามารถกลับบ้านได้หลังเสร็จสิ้นกระบวนการ โดยอาจมีความรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อยคล้ายกับปวดประจำเดือน ซึ่งไม่ควรรุนแรงเกินรับไหว

การฟื้นตัวหลังส่องกล้องโพรงมดลูก

หลังกระบวนการผู้หญิงส่วนมากจะรู้สึกเป็นปรกติและสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ หากมีการใช้ยาสลบเพื่อดำเนินการ คุณควรหยุดพักฟื้นประมาณสองถึงสามวัน ในขณะที่คุณกำลังพักฟื้นอยู่นั้นคุณสามารถดื่มหรือรับประทานอาหารได้ทันที คุณอาจมีอาการปวดท้อง คล้ายกับปวดประจำเดือน และอาจมีเลือดซึมออกช่องคลอดเป็นเวลาไม่กี่วัน ซึ่งเป็นภาวะปกติที่ไม่ต้องกังวลอะไรนอกเสียจากว่าอาการเลือดออกมีมากเกินไป งดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาไม่กี่สัปดาห์ หรือจนกว่าเลือดจะหยุดซึมออก เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ แพทย์และพยาบาลของคุณจะสรุปผลการตรวจจากการดำเนินการส่องกล้องให้ก่อนที่คุณจะออกจากโรงพยาบาล

ความเสี่ยงจากการส่องกล้องโพรงมดลูก

กระบวนการส่องกล้องโพรงมดลูกมีความปลอดภัยอย่างมาก แต่ก็เช่นเดียวกับกระบวนการทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นเป็นธรรมดา โดยความเสี่ยงจะมีโอกาสสูงขึ้นกับผู้หญิงที่ทำการรักษาไปพร้อมกับกระบวนการส่องกล้อง

ความเสี่ยงหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอดกล้องตรวจโพรงมดลูกคือ การบาดเจ็บที่มดลูกจากอุบัติเหตุขณะดำเนินการ: ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้รับการตรวจ และในกรณีที่หายากยิ่งกว่าคือต้องมีการผ่าตัดรักษาขึ้น การบาดเจ็บที่ปากมดลูกจากอุบัติเหตุขณะดำเนินการ: เป็นเหตุการณ์ที่หายากเช่นกัน และมักรักษาได้ง่าย ๆ การเสียเลือดมากระหว่างหรือหลังจากดำเนินการ: มักเกิดขึ้นกับกรณีที่ใช้ยาสลบกับคนไข้ และมักรักษาได้ด้วยการใช้ยา หรือการรักษาอื่น ในกรณีที่รุนแรงอาจต้องมีการตัดมดลูกออก (ซึ่งหายากมาก)

การติดเชื้อที่มดลูก: จะทำให้มีของเสียขับออกจากช่องคลอดซึ่งมีกลิ่นรุนแรง อาจมีไข้สูงและเลือดออกรุนแรงร่วมด้วย ภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สลบ: ผู้หญิงประมาณ 1 ใน 200 คนที่เข้ารับการตรวจส่องกล้องโพรงมดลูกที่ไม่ใช้ยาชาหรือยาสลบจะสลบระหว่างดำเนินการตรวจ

โดยการส่องกล้องโพรงมดลูกมักดำเนินการก็ต่อเมื่อผลประโยชน์ที่จะได้รับมีมากกว่าความเสี่ยง ซึ่งส่วนมากแพทย์จะแนะนำให้ทำกัน

การเตรียมตัวเข้ารับการตรวจด้วยวิธีส่องกล้องโพรงมดลูก

ช่วงเวลาไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ก่อนเข้ารับการตรวจ คุณจะถูกแนะนำให้เข้ารับการตรวจต่าง ๆ เพื่อรับรองการเข้าตรวจมดลูก: อย่างเช่นการตรวจเลือด และการตรวจการตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถทำได้ประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนวันนัดตรวจโพรงมดลูก

ใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดทุกโอกาสเพราะว่าการส่องกล้องโพรงมดลูกจะไม่สามารถดำเนินการได้หากคุณตั้งครรภ์

หยุดสูบบุหรี่หากคุณจำเป็นต้องใช้ยาชา การสูบบุหรี่จะทำให้ความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหลังการใช้ยาชาเพิ่มขึ้นถ้าคุณมีเนื้องอกในมดลูก คุณอาจได้รับยาที่ทำให้ก้อนเนื้อนั้นเล็กลงก่อน

การเลือกใช้ยาชา

การส่องกล้องโพรงมดลูกมักไม่ค่อยใช้ยาชากับคนไข้เนื่องจากกระบวนการนี้รวดเร็วและไม่ได้สร้างรอยกรีดหรือตัดเข้าผิวหนังของคุณแต่อย่างใด

อีกทั้งกระบวนการยังไม่สร้างความเจ็บปวด เพียงแต่จะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวหรือปวดท้องคล้ายกับปวดประจำเดือนเท่านั้น การใช้ยาแก้ปวดล่วงหน้าเวลาตรวจหนึ่งชั่วโมงจะช่วยลดอาการปวดทั้งหลายได้ (อย่างเช่นยาอิบูโพรเฟน หรือพาราเซตตามอล)

ในบางครั้งจะมีการป้ายยาชาเฉพาะจุดกับปากมดลูกเพื่อดำเนินการ แต่หากเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนมากกว่า อย่างมีการผ่าเนื้องอกในมดลูกด้วย อาจต้องมีการใช้ยาสลบเข้ามาช่วย

ในวันที่ต้องเข้ารับการส่องกล้องโพรงมดลูก

หากคุณต้องได้รับยาสลบ แพทย์จะให้คุณงดรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำก่อนไม่กี่ชั่วโมง โดยจดหมายแจ้งกำหนดการจะระบุเช่นนี้ไว้ล่วงหน้า หากคุณไม่ต้องใช้ยาสลบ หรือใช้แค่ยาชาเฉพาะที่ คุณก็สามารถดื่มหรือรับประทานอาหารได้ตามปรกติ ควรสวมเสื้อผ้าที่ใส่สบายและรัดจนเกินไป เนื่องจากคุณต้องทำการเปลื้องเสื้อผ้าส่วนล่างออก และเปลี่ยนเป็นเสื้อคลุมยาวแทน คุณสามารถพาเพื่อนหรือครอบครัวมาเป็นกำลังใจได้ แต่กระหว่างกระบวนการส่องกล้อง แพทย์จะไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไป

ขั้นตอนการส่องกล้องโพรงมดลูก

การส่องกล้องโพรงมดลูกมักใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 30 นาที โดยระหว่างกระบวนการนั้น คุณต้องนอนราบลงบนเตียงตรวจ โดยยกขาขึ้นที่วาง โดยจะมีผ้าห่มคลุมช่วงล่างของคุณเอาไว้ จะมีการใช้เครื่องมือปากเป็ดเพื่อถ่างช่องคลอดของคุณออก ซึ่งในบางกรณีก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือนี้ช่วยช่องคลอดและปากมดลูกจะถูกทำความสะอาดด้วยสารละลายกำจัดเชื้อโรค กล้องฮิสเทโรสโคป (อุปกรณ์ท่อยาวเรียวที่ติดไฟฉายและกล้องเอาไว้) จะถูกสอดเข้าไปยังมดลูก โดยคุณอาจรู้สึกไม่สบายหรือปวดท้องขณะที่กล้องเคลื่อนผ่านปากมดลูกไป ของเหลวที่ทำให้แพทย์มองเห็นภายในชัดเจนขึ้นจะถูกฉีดเข้าไปผ่านท่อของกล้อง กล้องจะส่งภาพภายในกลับมาบนจอทำให้แพทย์และพยาบาลสามารถมองเห็นความผิดปรกติที่มีได้ในบางกรณีอาจมีการขลิบเอาตัวอย่างชิ้นเนื้อมดลูกขนาดเล็กออกมาเพื่อการทดสอบอื่น ๆ ต่อไป

ถ้าแพทย์ตรวจพบภาวะอย่างฝีหรือเนื้องอกในมดลูก แพทย์จะใช้เครื่องมือผ่าตัดที่สามารถเคลื่อนผ่านกล้องฮิสเทโรสโคปเข้าไปจัดการ

หลังกระบวนการส่องกล้องโพรงมดลูก

คุณสามารถกลับบ้านได้หลังจากเสร็จกระบวนการทุกอย่างแล้ว แต่หากคุณถูกให้ยาสลบ แพทย์จะให้คุณพักฟื้นที่โรงพยาบาลเป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อน

แพทย์หรือพยาบาลจะเป็นผู้ชี้แจงผลที่พบต่าง ๆ ก่อนที่คุณจะกลับบ้าน แต่หากมีการตัดชิ้นเนื้อตรวจ ผลการตรวจมักจะได้หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์

คุณสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปรกติภายในวันเดียวกับที่ตรวจ หรือในวันต่อมาหากมีการใช้ยาชาระหว่างการตรวจภายใน ถ้าคุณได้รับยาสลบ ควรพักผ่อนต่อประมาณหนึ่งหรือสองวัน

การพักฟื้น

คุณสามารถกลับบ้านภายในวันเดียวกับที่รับการตรวจโพรงมดลูก แต่หากคุณได้รับยาสลบ คุณต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลก่อนไม่กี่ชั่วโมง หรือจนกว่ายาจะหมดฤทธิ์

หากไม่ได้รับยาสลบ หรือได้เพียงแค่ยาชา คุณก็สามารถขับรถกลับบ้านได้ แต่หากคุณได้รับยาระงับความรู้สึก คุณจะไม่สามารถขับรถได้ภายในเวลา 24 ชั่วโมง ดังนั้นคุณควรพาบุคคลที่สามมาดูแลคุณในกรณีเช่นนี้

ในขณะที่คุณกำลังพักฟื้นร่างกาย คุณอาจประสบอาการดังนี้:

  • ปวดท้อง คล้ายปวดประจำเดือน: ซึ่งอาการนี้ควรจะหายไปภายในเวลาไม่กี่วัน โดยคุณสามารถใช้ยาแก้ปวดอย่างอิบูโพรเฟนหรือพาราเซตตามอลบรรเทาอาการได้
  • มีเลือดออกเล็กน้อย: อาจกินเวลาประมาณหนึ่งอาทิตย์หรือมากกว่า ควรใช้ผ้าอนามัยแบบผืนแทนการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดจนกว่าจะถึงประจำเดือนครั้งหน้าของคุณเพื่อลดความเสี่ยงที่ปากมดลูกหรือช่องคลอดของคุณจะติดเชื้อลง

ผลข้างเคียงเหล่านี้นับว่าเป็นภาวะปรกติที่ไม่จำเป็นต้องกังวลมาก แต่หากภาวะเหล่านี้รุนแรงเกินไปให้คุณรับปรึกษาแพทย์ในทันที

การกลับไปทำกิจกรรมตามปกติ

ผู้หญิงที่เข้ารับการตรวจประเภทนี้สามารถกลับไปทำกิจกรรมทั่วไปได้ บางคนอาจเลือกกลับไปทำงานในวันถัดไปก็ได้

อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องผ่านการรักษาระหว่างกระบวนการตรวจส่องกล้องอย่างการผ่าตัดเนื้องอกในมดลูก หรือจะมีการใช้ยาสลบกับคุณ ก็ควรเตรียมวันพักฟื้นไว้จะเป็นการดีที่สุด

หากจำเป็น แพทย์หรือศัลยแพทย์จะแนะนำกิจกรรมต่าง ๆ ที่คุณควรหลีกเลี่ยงไว้ ซึ่งมักมีดังนี้:

  • คุณสามารถดื่มหรือทานอาหารได้ตามปรกติ แต่หากคุณรู้สึกไม่ดีหลังจากการรับยาระงับประสาทก็ควรทานอาหารมื้อเบา ๆ ก่อน
  • คุณควรอาบน้ำภายในวันเดียวกับที่ตรวจ หรืออาบน้ำภายในวันถัดไป
  • คุณควรงดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์ หรือจนกว่าเลือดจะหยุดซึมออก เพื่อป้องกันภาวะติดเชื้อต่าง ๆ

การรับผลการตรวจ

แพทย์หรือพยาบาลของคุณจะเป็นผู้ชี้แจงผลการตรวจที่พบระหว่างการส่องกล้องโพรงมดลูก และอาจชี้แจงถึงกระบวนการรักษาต่อไปตามกรณี

หากมีการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อภายในมดลูกไปตรวจ ผลการทดสอบอาจจะได้หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์ ทางโรงพยาบาลส่งผลการตรวจไปยังบ้านของคุณหรือไปยังแพทย์เข้าของไข้ไปตามกรณี

ต้องอย่าลืมว่าคุณต้องรับทราบแนวทางการรับผลการตรวจก่อนที่คุณจะกลับบ้าน

สถานการณ์ที่ต้องติดต่อปรึกษาแพทย์

ให้ติดต่อแพทย์เจ้าของไข้หรือโรงพยาบาลหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้:

  • มีอาการเจ็บปวดรุนแรงที่ไม่ลดลงแม้จะทานยาแก้ปวดแล้ว
  • มีเลือดออกรุนแรงจนทำให้คุณต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยครั้ง
  • มีเลือดสีแดงสดหรือมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ออกมา
  • มีของเสียกลิ่นแรงขับออกจากช่องคลอด
  • มีไข้สูง (สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส)

อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะติดเชื้อได้


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hysterectomy - laparoscopic - discharge. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000276.htm)
Hysterectomy - How it's performed. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/hysterectomy/what-happens/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป