“การหลั่งนอก” ฉบับรวบรัด เข้าใจง่าย

การหลั่งภายนอกคืออะไร ควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์มากที่สุด
เผยแพร่ครั้งแรก 23 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
“การหลั่งนอก” ฉบับรวบรัด เข้าใจง่าย

วิธีหลั่งภายนอก เป็นการคุมกำเนิดรูปแบบหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และยังคงเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัย และไม่ต้องรับประทานยาคุมกำเนิด แต่วิธีคุมกำเนิดนี้ไม่ได้ปลอดภัย 100 % และมีข้อเสียอื่นๆ อีกมากมาย

ประสิทธิภาพของวิธีหลั่งภายนอก

อัตราการล้มเหลวของวิธีการหลั่งภายนอกอยู่ที่ 27 % หมายความว่า จะมีผู้หญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจจากการใช้วิธีหลั่งภายนอก 27 จาก 100 คนต่อปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่ในกรณีที่ปฏิบัติวิธีหลั่งภายนอกถูกต้องจะมีอัตราล้มเหลวเพียง 4% ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก เพราะผู้ชายจะต้องถอนองคชาตออกจากช่องคลอดของผู้หญิงก่อนหลั่งน้ำเชื้อ และต้องพยายามทำให้น้ำเชื้อ (Cum) กับน้ำหล่อลื่น (Pre-Cum) ออกห่างจากช่องคลอดและปากช่องคลอดด้วย ซึ่งผู้ชายหลายคนไม่สามารถควบคุมในส่วนนี้ได้

การหลั่งภายนอกมักจะนำมาปฏิบัติกัน เพราะผู้ชายบางคนรู้สึกว่าการใส่ถุงยางอนามัยทำให้เกิดความไม่สบายตัว และรู้สึกว่าความพึงพอใจทางเพศลดลง ผลที่ตามมาก็อาจมีทั้งการตั้งครรภ์ และการได้รับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพราะฉะนั้นจึงควรเลือกใช้วิธีนี้กับคู่นอนที่ไว้ใจกันจริงๆ หรือผ่านการตรวจสุขภาพมาแล้วว่าไม่มีโรคติดต่อใดๆ ทั้งสิ้น

การหลั่งภายนอกจะมีประสิทธิภาพมากเมื่อใช้ร่วมกับวิธีคุมกำเนิดอื่นๆ เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น คุณควรพกยาคุมฉุกเฉินติดตัวไว้และให้คู่นอนรับประทานทันทีภายใน 72 ชั่วโมง กรณีที่คุณถอนองคชาติออกไม่ทัน หรือพบว่าน้ำเชื้อกระเด็นเข้าสู่บริเวณปากช่องคลอด เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์

หากต้องการคุมกำเนิดจริงๆ วิธีนี้ยังไม่ใช่วิธีที่ดีมากนัก และไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย

ที่มาของข้อมูล

Katherine Caroll, Clue, What’s up with pulling out? (https://helloclue.com/articles/sex/whats-up-with-pulling-out), 10 สิงหาคม 2016.


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Normal male sexual function: emphasis on orgasm and ejaculation. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4896089/)
Premature Ejaculation: Symptoms, Causes, Treatment, & Prevention. WebMD. (https://www.webmd.com/men/what-is-premature-ejaculation)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการคันและแสบในช่องคลอดไม่ใช่เรื่องปกติ
อาการคันและแสบในช่องคลอดไม่ใช่เรื่องปกติ

จุดซ่อนเร้นคือจุดสำคัญ ขอให้หมั่นสังเกตเพื่อแก้ไขก่อนที่อาการจะรุนแรงและยากต่อการรักษา

อ่านเพิ่ม