ผลของการได้รับยาหลอก

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ผลของการได้รับยาหลอก

สมองสามารถทำให้ร่างกายเชื่อว่าการได้รับยาหลอกนั้นเป็นความจริง ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า placebo effect เราอาจจะสามารถรักษาตัวเองได้ด้วยความคิด

ความคิดของคนเราอาจกลายเป็นเครื่องมือในการรักษาที่ทรงพลังได้เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะสม ดังเช่นในปรากฏการณ์ที่เรียกว่า placebo effect ซึ่งสมองเกิดการทำให้ร่างกายเชื่อว่าการรักษาหลอกที่ได้รับนั้นเป็นการรักษาของจริงและทำให้เกิดการกระตุ้นกระบวนการรักษาภายในร่างกายตามมา ซึ่งหากปรากฏการณ์นี้นั้นเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่เหมาะสมแล้วก็อาจจะกลายเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

Placebo effect นั้นเป็นอะไรที่มากกว่าแค่การคิดแง่บวก หรือการเชื่อว่าการรักษาที่ได้รับนั้นจะมีประสิทธิภาพ เพราะในความจริงแล้วมันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมองและร่างกายให้แข็งแรงยิ่งขึ้นและรวมไปถึงการที่พวกมันทำงานร่วมกัน ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้ทำให้ระดับ cholesterol หรือเนื้องอกมีขนาดเล็กลง แต่จะไปส่งผลกับอาการที่ควบคุมโดยสมองเช่นการรับความเจ็บปวด ดังนั้นมันจึงอาจทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้แต่ไม่ได้รักษาที่ตัวโรคโดยตรง วิธีนี้จึงมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อใช้ในการรักษาอาการเจ็บปวด, ภาวะนอนไม่หลับที่เกี่ยวข้องกับความเครียด และผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งเช่นอ่อนเพลียหรือคลื่นไส้

ล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จ?

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา placebo effect นั้นถือว่าเป็นสัญญาณของความล้มเหลว ในงานวิจัยทางการแพทย์มีการใช้ยาหลอกเพื่อวัดประสิทธิภาพของยาและการรักษา ตัวอย่างเช่น มีการให้ยาและการรักษากับผู้ป่วยกลุ่มหนึ่ง ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งจะได้ยาหลอกที่พวกเขาเข้าใจว่าเป็นยาจริง วิธีการนี้ทำให้นักวิจัยสามารถวัดการทำงานของยาดังกล่าวได้โดยการเปรียบเทียบผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม หากทั้งสองกลุ่มมีผลลัพธ์ที่เหมือนกัน ก็แสดงว่ายาดังกล่าวนั้นไม่มีประสิทธิภาพ

แต่ใรช่วงมีกี่ปีมานี้ ผู้เชี่ยวชาญได้ระบุว่าการที่มีผลการรักษาเท่ากับการใช้ยาหลอกนั้นไม่ได้หมายความว่ายาดังกล่าวนั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียว แต่อาจมีผลทางด้านอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับยา ปัจจุบันยังไม่ทราบว่า placebo effect นั้นทำงานอย่างไร แต่เชื่อว่าเกี่ยวกับปฏิกิริยาภายในสมองตั้งแต่การเพิ่มสารสื่อประสาทที่ทำให้รู้สึกดีเช่น endorphins และ dopamine ไปจนถึงการเพิ่มการทำงานของสมองบางส่วนที่เกี่ยวข้แงกับอารมณ์และการรับรู้ความรู้สึกตัว ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลในการรักษาได้เพราะเป็นวิธีการที่สมองบอกกับร่างกายว่าควรทำอย่างไรจึงจะรู้สึกดีขึ้น อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยทั่วไปแต่ต้องมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่นๆ ที่เหมาะสมเช่นการไปนัดตรวจติดตามกับแพทย์ การได้รับยาหรือการได้รับการรักษาซึ่งล้วนส่งผลต่อการที่ร่างกายรับรู้อาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากคุณเองกำลังรู้สึกว่าได้รับการดูแลและความสนใจ

การใช้ placebo effect กับตัวเอง

ปรากฏการณ์นี้มักมีประสิทธิภาพเนื่องจากพวกเราเองนั้นไม่เคยรู้ตัวว่ากำลังเกิดขึ้น 

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Translational Medicine ได้ทำการทดสอบการตอบสนองของผู้ป่วยต่อยาไมเกรน โดยการให้ผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 ได้รับยาที่เขียนชื่อยา กลุ่มที่ 2 เขียนว่ายาหลอก และกลุ่มที่สามไม่ได้รับยา นักวิจัยพบว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกนั้นมีประสิทธิภาพในการรักษาคิดเป็น 50% ของกลุ่มที่ได้รับยาจริง ทำให้นักวิจัยเชื่อว่าปฏิกิริยาดังกล่าวนั้นอาจเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายรับรู้ว่ามีการรับประทานยา แม้ว่าพวกเขาจะรู้ว่านั่นอาจจะไม่ใช่ยาจริงๆ ก็ตามแต่ร่างกายก็ยังกระตุ้นให้สมองคิดว่าร่างกายกำลังได้รับการรักษา นอกจากการกินยาแล้ว อีกวิธีหนึ่งที่คุณอาจกระตุ้นให้ร่างกายเกิด placebo effect ได้ก็คือการใช้ชีวิตแบบที่ดีต่อสุขภาพเช่นการกินอาหารที่เหมาะสม, ออกกำลังกาย เล่นโยคะ ใช้เวลาเข้าสังคมอย่างเหมาะสมเป็นต้น เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยประคับประคองร่างกายและอารมณ์ของคุณและทำให้คุณรู้สึกมีความสุขซึ่งอาจทำให้เกิดการรักษาตามมา

งานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2016 ได้ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในสมองในระหว่างที่เกิด placebo effect ขึ้นโดยการใช้การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สมองในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังจากโรคข้ออักเสบที่เข่าซึ่งได้รับยาหลอก นักวิจัยพบว่าผู้ที่รู้สึกว่าอาการปวดลดลงนั้นมีการทำงานที่ตรงกลางของสมองส่วนหน้ามากกว่าผู้ที่มีอาการปวดเท่าเดิม


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The power of the placebo effect. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/mental-health/the-power-of-the-placebo-effect)
How the Placebo Effect Works in Psychology. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/what-is-the-placebo-effect-2795466)
Placebos: The power of the placebo effect. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/306437)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)