กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

การรับประทานปลาสำคัญต่อทารกในครรภ์แค่ไหน ปลาชนิดใดที่ควรรับประทาน และปลาชนิดใดที่ควรหลีกเลี่ยง

รับประทานปลาอย่างไร ให้ "ปลอดภัย" และ "ดี"ต่อครรภ์ เรามีคำตอบ
เผยแพร่ครั้งแรก 10 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 12 พ.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การรับประทานปลาสำคัญต่อทารกในครรภ์แค่ไหน ปลาชนิดใดที่ควรรับประทาน และปลาชนิดใดที่ควรหลีกเลี่ยง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สารอาหารหลักในเนื้อปลาคือ กรดไขมันโอเมก้า-3 สองชนิด ได้แก่ DHA และ EPA แต่สารอาหารเหล่านี้กลับพบได้น้อยมากในแหล่งอาหารอื่นๆ นอกจากนี้เนื้อปลายังมีไขมันอิ่มตัวต่ำ มีโปรตีน วิตามินดี และสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของทารกและครรภ์ที่สมบูรณ์อีกด้วย
  • งานวิจัยมากมายบ่งชี้ว่า การสัมผัสกับสารปรอทขณะตั้งครรภ์แม้ในปริมาณน้อยนิด ก็อาจทำให้พัฒนาการสมองและระบบประสาทของทารกผิดปกติ ได้ ด้วยเหตุนี้ผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่กำลังจะตั้งครรภ์และให้นมบุตร จึงต้องใส่ใจและระมัดระวังเรื่องการเลือกรับประทานปลามากเป็นพิเศษ
  • เมื่อเทียบข้อดีกับข้อเสียสำหรับการรับประทานปลาพบว่า มีข้อดีมากกว่าคุณแม่จึงยังควรรับประทานปลาอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ควรเลือกแหล่งและชนิดปลาที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารปรอทมากๆ เสีย
  • แนวทางการบริโภคอาหารจาก U.S. Dietary Guidelines 2015 แนะนำว่า ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรควรได้รับ EPA และ/หรือ DHA ปริมาณ 250 มิลลิกรัมต่อวัน จากการรับประทานปลาที่มีโอเมก้า-3 สูง ในปริมาณ 8 ออนซ์ต่อสัปดาห์
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพและฝากครรภ์

ผู้หญิงหลายคนที่วางแผนจะตั้งครรภ์อาจสงสัยว่า "ควรรับประทานปลาดีหรือไม่" คำตอบคือ “ควรรับประทานปลา” แต่สำคัญคือ ควรจะเลือกแหล่งและชนิดของปลาให้ดีก่อนนำมารับประทาน

การศึกษามากมายพบว่า ปลาอุดมด้วยสารอาหารที่สำคัญต่อพัฒนาการของทารกในระยะแรก ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า สารอาหารหลักในเนื้อปลาคือ กรดไขมันโอเมก้า-3 สองชนิด ได้แก่ DHA และ EPA แต่สารอาหารเหล่านี้กลับพบได้น้อยมากในแหล่งอาหารอื่นๆ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้เนื้อปลายังมีไขมันอิ่มตัวต่ำ มีโปรตีน วิตามินดี และสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของทารกและครรภ์ที่สมบูรณ์อีกด้วย

ร่างกายเราสามารถเก็บสะสมโอเมก้า-3 ไว้ได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ดังนั้นผู้หญิงที่คิดว่า อยากมีลูกจึงสามารถสะสมโอเมก้า-3 ไว้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้มีโอเมก้า-3 เพียงพอในตอนตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตาม คุณอาจเคยได้ยินมาว่า เนื้อปลานั้นมีสารปนเปื้อนอยู่มาก เช่น สารปรอท ซึ่งเป็นอันตรายต่อพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทของทารก เนื่องจากสารปรอทสามารถสะสมในร่างกายได้และแม้จะลดการบริโภคลงก็ยังต้องใช้เวลานานในการกำจัดมันออกไป 

ดังนั้นผู้หญิงจึงต้องระมัดระวังและพยายามไม่สัมผัสกับสารปรอทก่อนการตั้งครรภ์

สารปรอทปนเปื้อนอยู่ในเนื้อปลาได้อย่างไร?

สารปรอทบางส่วนมาจากแหล่งธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟ ไฟป่า บางส่วนก็แพร่กระจายจากสิ่งก่อสร้าง เช่น โรงไฟฟ้า โรงงานผลิตปูน และแหล่งผลิตสารเคมี หรือแหล่งอุตสาหกรรมบางประเภท 

นอกจากนี้ยังมีการนำสารปรอทมาใช้ในการผลิตเทอร์โมมิเตอร์ เทอร์โมสตัต หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ มานาน และเมื่อสิ่งของเหล่านี้ถูกทิ้งเป็นขยะ สารปรอทก็สามารถแพร่ออกมาได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เมื่อสารปรอทปนเปื้อนในแหล่งน้ำ แบคทีเรียจะเปลี่ยนปรอทให้อยู่ในรูปเมทิลเมอร์คิวรี (Methymercury) เมทิลเมอร์คิวรีสามารถแทรกซึมเข้าสู่ตัวปลาผ่านทางผิวหนังและเมื่อกินอาหารในน้ำเข้าไป เมทิลเมอร์คิวรีจะเข้าจับกับโปรตีนในเนื้อปลา แม้เนื้อปลาจะผ่านการปรุงด้วยความร้อนก็ไม่สามารถกำจัดออกได้

หากรับสารปรอทมากเกินไป จะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง?

ร่างกายสามารถดูดซึมสารปรอทจากเนื้อปลาได้อย่างรวดเร็วและสะสมไว้ได้นานหลายเดือน อีกทั้งหากตั้งครรภ์ สารปรอทก็สามารถแพร่ผ่านรกไปสู่เด็กได้

งานวิจัยมากมายบ่งชี้ว่า การสัมผัสกับสารปรอทขณะตั้งครรภ์แม้ในปริมาณน้อยนิด ก็อาจทำให้พัฒนาการสมองและระบบประสาทของทารกผิดปกติ เช่น ส่งผลต่อทักษะในการเรียนรู้ ความจำ สมาธิ ทักษะด้านภาษา การเคลื่อนไหวร่างกาย การมองเห็นของทารก

ทารกในครรภ์ เด็กแรกเกิด และเด็กเล็ก เป็นช่วงวัยที่เสี่ยงต่ออันตรายจากสารปรอทมากที่สุด ด้วยเหตุนี้ผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่กำลังจะตั้งครรภ์และให้นมบุตร จึงต้องใส่ใจและระมัดระวังเรื่องการเลือกรับประทานปลามากเป็นพิเศษ

ทำไมเราจึงไม่งดรับประทานปลาไปเลย?

แม้ว่า ในปลาอาจมีปรอทซึ่งเป็นสารอันตราย แต่คุณแม่ก็ไม่ควรงดรับประทานปลาโดยสิ้นเชิง เนื่องจากปลาคือ แหล่งสารอาหารที่ดีและสำคัญมาก

ในงานวิจัยที่ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างชาวเดนมาร์กพบว่า เด็กๆ ที่แม่รับประทานปลาในปริมาณมากระหว่างตั้งครรภ์ (เฉลี่ย 14 ออนซ์ต่อสัปดาห์) จะมีทักษะการเรียนรู้และการเคลื่อนไหวร่างกายที่ดีกว่าในช่วงวัย 6 เดือน และ 18 เดือน เมื่อเทียบกับเด็กคนอื่นๆ ที่แม่รับประทานปลาน้อยกว่า 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ส่วนเด็กๆ ที่แม่รับประทานปลาปริมาณน้อยมากระหว่างตั้งครรภ์ ก็เป็นกลุ่มที่มีคะแนนด้านพัฒนาการต่ำที่สุดด้วย

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นๆ อีกระบุว่า การรับประทานปลาระหว่างตั้งครรภ์อาจช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หลังคลอดด้วย 

ดังนั้นเมื่อเทียบข้อดีข้อเสีย คุณแม่จึงยังควรรับประทานปลาอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ควรเลือกแหล่งและชนิดปลาที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารปรอทมากๆ เสีย

ควรรับประทานปลาชนิดใดดีที่สุด?

ตัวเลือกที่ดี ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาเทราต์ ปลากะตัก (ปลาแอนโชวี่) ปลาเฮร์ริง ปลาซาร์ดีน ปลาแชด ตัวอย่างเช่น การรับประทานปลาแซลมอน 8 ออนซ์ ปลาเรนโบว์เทราต์ 12 ออนซ์ หรือปลาซาร์ดีน 16 ออนซ์ต่อสัปดาห์ ร่างกายจะได้รับโอเมก้า-3 อย่างเพียงพอ และรับสารปรอทในปริมาณน้อยที่สุด

ปลาชนิดใดที่ควรหลีกเลี่ยง?

องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) และสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) แนะนำว่า ผู้หญิงที่อยู่ในวัยมีบุตรได้และเด็กเล็ก ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานปลาที่มีสารปรอทสูง 4 ชนิด ได้แก่ ปลากระโทงดาบ (ปลาฉนาก) ปลาฉลาม ปลาอินทรี และปลาไทล์จากอ่าวเม็กซิโก

ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอื่นๆ ยังระบุว่า มีปลาอีกหลายชนิดที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ควรเลี่ยงการรับประทานปลาทูน่าทั้งสดและแช่แข็ง ปลากะพงลาย ปลากะพงแดง ปลาหิมะ ปลากระโทงสีน้ำเงิน ปลาสำลีน้ำลึก (ปลาฮามาจิ) 

ปลาทูน่ากระป๋อง อันตรายหรือไม่?

มีข้อถกเถียงกันมากมายเกี่ยวกับทูน่ากระป๋อง สำหรับแนวทางขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกานั้นระบุว่า ผู้หญิงที่จะตั้งครรภ์สามารถรับประทานทูน่ากระป๋อง (Light tuna) ได้ แต่ควรจำกัดการรับประทานปลาทูน่าครีบขาว (Albacore หรือ White Tuna) ซึ่งมีปริมาณสารปรอทสูง ให้เหลือเพียง 6 ออนซ์ต่อสัปดาห์เท่านั้น

จากแนวทางการบริโภคอาหารของมหาวิทยาลัย Purdue แนะนำว่า การรับประทานทูน่ากระป๋องปริมาณ 12 ออนซ์ต่อสัปดาห์นั้นไม่มีปัญหา แต่สำหรับทูน่าครีบขาว ให้จำกัดการรับประทานเหลือเพียง 4 ออนซ์ต่อสัปดาห์เท่านั้น

ส่วนที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยในอาหารและนักวิทยาศาสตร์จากสหพันธ์ผู้บริโภค (Consumers Union) แนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานทูน่ากระป๋องโดยสิ้นเชิง เนื่องจากทูน่ากระป๋องเป็นแหล่งอาหารหนึ่งที่ปนเปื้อนสารปรอทมากที่สุด 

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่ให้ผลว่า ทั้งปลาทูน่าครีบขาวและปลาทูน่าสายพันธุ์อื่นก็อาจมีสารปรอทในปริมาณสูงเช่นกัน ดังนั้นผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือตั้งใจจะตั้งครรภ์จึงไม่ควรเสี่ยงรับประทาน

ปลาที่จับจากแหล่งน้ำในท้องถิ่นอันตรายหรือไม่?

เพื่อความปลอดภัย ผู้บริโภคควรดูคำแนะนำจากหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่ที่ตัวเองอยู่ เพื่อตรวจสอบว่า ปลาชนิดใดควรหลีกเลี่ยงและปลาแต่ละชนิดสามารถรับประทานได้มากแค่ไหนจึงจะไม่เป็นอันตราย 

แต่หากไม่สามารถหาคำแนะนำจากหน่วยงานดังกล่าวได้ ก็ควรจำกัดการบริโภคปลาจากแหล่งน้ำในท้องถิ่นให้เหลือ 6 ออนซ์ต่อสัปดาห์ และหลีกเลี่ยงการรับประทานปลาชนิดอื่นเพิ่มเติมในสัปดาห์นั้น

ควรรับประทานอาหารเสริมโอเมก้า-3 หรือไม่?

หากคุณไม่รับประทานปลา หรือไม่สามารถหาแหล่งปลาสดปลอดสารพิษได้ ก็อาจเลือกรับโอเมก้า-3 เพิ่มเติมจากอาหารเสริมได้ มีงานวิจัยบางชิ้นพบว่า อาหารเสริมโอเมก้า-3 ที่คุณแม่รับประทานระหว่างตั้งครรภ์นั้นมีประโยชน์ต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของทารกอยู่บ้าง แต่งานวิจัยส่วนใหญ่ยังไม่พบประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญ

ในอาหารเสริมโอเมก้า-3 นั้นมี EPA และ DHA ครบถ้วน และปราศจากสารปรอท แม้อาหารเสริมบางตัวอาจประกอบด้วยน้ำมันปลา แต่สารปรอทนั้นไม่ได้ถูกสะสมในเนื้อเยื่อไขมัน จึงไม่ต้องกังวลว่าจะมีปรอทปนเปื้อนมาในน้ำมันด้วย

ข้อควรระวัง: ผู้หญิงบางคนอาจเปลี่ยนมารับประทานน้ำมันตับปลาเป็นเป็นแหล่งโอเมก้า-3 ทดแทน ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมาก เนื่องจากในน้ำมันตับปลามีวิตามินเอสูง ซึ่งอาจเป็นพิษได้หากรับมากเกินไป สิ่งที่ควรระวังอีกข้อหนึ่งคือ เราไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า น้ำมันนั้นผ่านการกรองเพื่อกำจัดสารพิษอื่นๆ ออกหรือไม่

ควรได้รับโอเมก้า-3 มากเพียงใดในแต่ละวัน?

แนวทางการบริโภคอาหารจาก U.S. Dietary Guidelines 2015 แนะนำว่า ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรควรได้รับ EPA และ/หรือ DHA ปริมาณ 250 มิลลิกรัมต่อวัน จากการรับประทานปลาที่มีโอเมก้า-3 สูง ในปริมาณ 8 ออนซ์ต่อสัปดาห์

จะทราบได้อย่างไรว่า ในร่างกายมีสารปรอทมากน้อยเพียงใด?

หากคุณรับประทานปลาบ่อยกว่าคำแนะนำ และรู้สึกกังวล ก็สามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อขอรับการตรวจได้ การทดสอบหาสารปรอทในเลือด หรือในเส้นผมนั้นทำได้ไม่ยาก แต่การทดสอบเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในแผนการตรวจสุขภาพทั่วไป 

การปฏิบัติตามแนวทางและคำแนะนำเกี่ยวกับปริมาณและชนิดของปลาที่ควรบริโภค จะช่วยรักษาระดับสารปรอทในร่างกายให้อยู่ในช่วงที่ปลอดภัย 

หากพบว่า ระดับสารปรอทในร่างกายคุณสูงกว่าค่าปกติ ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักกำหนดอาหาร ก็อาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหาร

การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาสำคัญของผู้หญิงทุกคน เพื่อให้ทุกนาทีที่ผ่านไปในช่วงเวลานี้มีคุฯค่า ผู้หญิงทุกคนเมื่อตรวจพบว่า ตั้งครรภ์ ควรรีบฝากครรภ์กับสถานพยาบาลที่มั่นใจได้มาตรฐานและปลอดภัย เพื่อให้ครรภ์อยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดจนกว่าจะครบกำหนดคลอด  

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพและฝากครรภ์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
NHS (National Health Service), Should pregnant and breastfeeding women avoid some types of fish? (https://www.nhs.uk/common-health-questions/pregnancy/should-pregnant-and-breastfeeding-women-avoid-some-types-of-fish/), 20 December 2019.
Verywell Family, Is It Safe for Pregnant Women to Eat Fish? (https://www.verywellfamily.com/is-it-safe-for-pregnant-women-to-eat-fish-2507630), 21 December 2019.
Medical News Today, Can you eat crab when pregnant? What to know (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322137), 20 December 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม