กินเนื้อทำให้เป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นหรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กินเนื้อทำให้เป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นหรือไม่?

งานวิจัยพบว่าอย่างไร?

หน่วยงานที่ทำการรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่างๆ ได้ทำการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างการรับประทานเนื้อสัตว์และโรคมะเร็ง ได้สรุปว่าทุกๆ การรับประทานเนื้อแดงขนาด 3 ออนซ์ในแต่ละวันจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้และทวารหนัก (และในบางกรณีรวมถึงมะเร็งตับอ่อนและต่อมลูกหมาก) 17% สำหรับการรับประทานเนื้อแปรรูปทุกๆ 1.5 ออนซ์ทุกวัน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้และทวารหนัก 18% 

เนื้อแดง (เช่นเนื้อวัว, เนื้อแกะ เนื้อหมู เนื้อแพะ) นั้นอยู่ในกลุ่มที่อาจจะเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ในขณะที่เนื้อแปรรูป (เช่นเบคอน, ไส้กรอก, ฮอทดอก) นั้นอยู่ในกลุ่มที่เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ โดยการแบ่งกลุ่มนี้จแบ่งตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พบความเชื่อมโยงในการเกิดโรคมะเร็ง แต่ไม่ใช่ความเสี่ยงในการเกิดโรคนั้นจริงๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ถ้าฉันกินเนื้อสัตว์ ฉันจะเป็นโรคมะเร็ง?

คุณไม่จำเป็นต้องเลิกกินเบคอน ไข่ หรือชีส เพราะยังไม่ได้มีการกำหนดระดับที่สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย แต่เชื่อว่าควรอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นมันจึงไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเลิกกินเนื้อสัตว์ทั้งหมดแต่อย่างใด แพทย์บางคนอาจจะแนะนำให้รับประทานเนื้อแปรรูปไม่เกินวันละ 1-2 ครั้ง และเนื้อสัตว์ไม่เกิน 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์

มีเนื้อชนิดใดที่ปลอดภัยมากกว่าชนิดอื่นๆ หรือไม่?

เนื้อที่ไม่ติดมันนั้นเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดไม่ว่าคุณจะรับประทานเนื้อชนิดใดก็ตาม ไขมันสัตว์นั้นมีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวและ cholesterol มากกว่าซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีความเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคหัวใจ, เบาหวานและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เวลาที่คุณเลือกซื้อเนื้อบด ให้เลือกชนิดที่มีสัดส่วนของไขมันต่ำ หรือถ้าหากอยากกินเนื้อสเต็ก ก็ให้เลือกชิ้นที่เห็นมันน้อยที่สุด การลดการรับประทานเนื้อแปรรูปเช่นเบคอนหรือไส้กรอกซึ่งมักจะมีไขมันอิ่มตัวและโซเดียมในปริมาณสูงก็จะดีต่อสุขภาพและน้ำหนักของคุณเช่นกัน

วิธีการปรุงอาหารนั้นส่งผลหรือไม่?

งานวิจัยพบว่าการทำอาหารจากเนื้อที่อุณหภูมิสูงนั้นจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งได้ นอกจากนั้นยังพบว่าการรับประทานเนื้อที่สุกมากๆ นั้นอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับอ่อนได้ 60% หากคุณย่างเนื้อ อย่าให้เนื้อสัมผัสกับไฟโดยตรงและให้พลิกเนื้อบ่อยๆ นอกจากนั้นมีงานวิจัยที่พบว่าการหมักเนื้ออย่างน้อย 30 นาทีนั้นสามารถลดการเกิดสารก่อมะเร็งเหล่านี้ได้

มันจะง่ายกว่าหรือไม่ถ้าฉันเปลี่ยนไปรับประทานมังสวิรัติเลย

ไม่จำเป็น เนื้อสัตว์นั้นเป็นแหล่งของโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ การเลิกรับประทานเนื้อสัตว์นั้นทำให้คุณอาจจะขาดแร่ธาตุเหล่านี้ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพได้หากคุณไม่ได้รับประทานแร่ธาตุเหล่านี้จากอาหารชนิดอื่น


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Q&A on the carcinogenicity of the consumption of red meat and processed meat. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/features/qa/cancer-red-meat/en/)
Red meat and the risk of bowel cancer. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/red-meat-and-the-risk-of-bowel-cancer/)
Does Red Meat Cause Cancer? Studies, Reducing Your Risk, More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/does-red-meat-cause-cancer)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้

คู่มือทำความเข้าใจโรคมะเร็งหลายชนิดและอาการของโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม