การกินแอสไพรินทุกวันเพื่อป้องกันหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็ง ดีไหม?

เผยแพร่ครั้งแรก 18 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การกินแอสไพรินทุกวันเพื่อป้องกันหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็ง ดีไหม?

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจ คำกล่าวที่ว่า “ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดหัวใจวายเท่านั้น จึงสมควรจะกินแอสไพรินหรือกินแอสไพรินเป็นประจําจะช่วยป้องกันมะเร็งลําไส้ใหญ่ได้” เป็นจริงหรือไม่ ร่วมหาคำตอบพร้อมกันได้ที่นี่

เมื่อก่อนนี้มีคํากล่าวว่า “กินแอปเปิลวันละผล ห่างไกลหมอ” มาถึง ปัจจุบัน แอสไพรินทําท่าจะมาแย่งตําแหน่งแอปเปิลเสียแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อครั้งที่ผมเป็นแพทย์ประจําบ้าน หัวหน้าแผนกกุมารเวชได้ให้ คําแนะนําที่ยิ่งใหญ่ว่า “คุณไม่มีวันอยากเป็นคนแรกที่รักษาด้วยวิธีใหม่ แต่คุณก็ไม่อยากเป็นคนสุดท้ายเช่นกัน” คุณไม่อยากเป็นคนแรก เพราะ เมื่อยาตัวใหม่หรือแนวทางการรักษาล่าสุดออกมานั้น เรายังไม่รู้แน่ว่าจะมีผลข้างเคียงที่รุนแรงหรือผลตามมาในระยะยาวอย่างไร การรักษาใหม่ๆ นั้น ดูน่าอัศจรรย์เสมอ แต่จะรู้แน่ก็เมื่อใช้กับคนนับล้านไปแล้ว บ่อยครั้งที่ยา ที่น่าจะได้ผลดี เมื่อประเมินเข้าจริงๆ กลับพบว่าไม่ค่อยได้ผล หรือซ้ำร้าย อาจมีอันตราย ในอีกทางหนึ่ง คุณก็ไม่อยากเป็นคนสุดท้าย เพราะถ้าอย่างนั้นเท่ากับว่า คุณไม่ได้ให้การรักษาคนไข้ด้วยวิธีการที่ทันยุคและพิสูจน์แล้ว ว่าคุ้มค่า การตัดสินหาความพอดีระหว่างสองฝั่งนี่ละครับ เป็นแนวทางใน การรักษาผู้ป่วยของผม ที่ถึงแม้จะระแวดระวังการรักษาแนวใหม่ ๆ แต่ก็เปิดใจรับฟังหลักฐานยืนยันเสมอ

เราทุกคนต่างเคยได้ยินคําแนะนํานี้กันถ้วนหน้า : กินเบบีแอสไพริน (ขนาดสําหรับเด็ก 81 มิลลิกรัม) หนึ่งเม็ดทุกวัน ช่วยลดโอกาสเกิดหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ช่างเป็นคําแนะนําที่ทําตามก็ได้ง่ายจัง เพราะแอสไพรินเป็นยาที่หาซื้อได้ทั่วไปจากเคาน์เตอร์ร้านสะดวกซื้อ ใคร ๆ ก็ใช้กัน และเราก็ได้ยินมาตลอดว่า คนอเมริกันเสียชีวิตจากหัวใจวายมากกว่าโรคอื่นๆ ส่วนสโตรกก็เป็นสาเหตุรองลงมา

ความรู้สึกยั่วยวนใจชวนให้กินเบบีแอสไพริน โดยไม่ผ่านการปรึกษา แพทย์ ดูไม่น่าเป็นความคิดที่ไม่ดีตรงไหน คนส่วนมากก็กินกัน อีกอย่าง แอสไพริน “ของเด็ก” มันจะอันตรายได้ขนาดไหนกันเชียว? แต่ฟังคําแนะนํา ของผมนะครับ คุณควรหักห้ามใจไว้ก่อน แม้ว่าแอสไพรินจะหาซื้อได้ง่าย ขนาดไหน ก็ไม่เปลี่ยนความจริงที่ว่า เป็นยาที่มีฤทธิ์ข้างเคียงที่รุนแรงได้ เพื่อปกป้องสุขภาพของตัวคุณ จงอย่ากินยาใดๆ หากไม่รู้ความเสี่ยงที่แท้จริง แม้แต่ตัวที่ดูไม่น่าจะมีพิษภัยอย่างแอสไพรินก็ตาม แต่สําหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจหรือเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจไปเรียบร้อยแล้ว ประโยชน์ ที่ได้จากการกินแอสไพรินย่อมจะเหนือกว่า ในขณะที่แอสไพรินอาจไม่จําเป็นสําหรับคนที่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ต่างไป

เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น ต้องปูพื้นกันหน่อยว่าทําไมจึงหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองเกิดได้อย่างไร และแอสไพรินทํางานอย่างไร หัวใจวาย และหลอดเลือดสมองอุดตันอาจเกิดจากมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นตรงตําแหน่งเส้นเลือดแดงสําคัญ และอุดกั้นเลือดดีไม่ให้ไหลไปปลายทาง หากเกิดที่เส้นเลือดแดงเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจจะทําให้หัวใจวาย ถ้าเกิดตรงเส้นเลือดแดงที่ไปสมองก็เกิดสโตรก แอสไพรินมีการออกฤทธิ์หลายอย่าง แต่หลัก ๆที่นํามาใช้ในเรื่องนี้คือ ไปลดการสร้างลิ่มเลือดในเส้นเลือดแดงที่มีปัญหา แอสไพรินยับยั้งการทําหน้าที่ของเกล็ดเลือด (platelet) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งในเลือด มีบทบาทสําคัญที่ทําให้เลือดแข็งตัว ในสถานการณ์ปกติเมื่อเกิดบาดแผลขึ้นที่เส้นเลือด เกล็ดเลือดจะทํางานร่วมกับโปรตีนในเลือดเพื่อ อุดรอยรัวนั้น เมื่อมีแอสไพรินในกระแสเลือด เกล็ดเลือดจะเกาะตัวกันได้ไม่ดี ภาวะเช่นนี้มีประโยชน์ในการป้องกันหัวใจวายและภาวะเส้นเลือดสมองอุดตัน เพราะลืมเลือดไม่ถูกสร้างขึ้นเมื่อหลอดเลือดเกิดรอยแผล ตลอดจนกรณีที่ผนังหลอดเลือดเสียหายจากสาเหตุอื่นๆ เช่นตะกรันไขมันจับจนหลอดเลือดเลือดแข็งตีบ (artherosclerotic plaques) ซึ่งพบได้ในคนที่ คอเลสเตอรอลสูง ทั้งหมดนี้เป็นด้านดี

ทีนี้ลองดูด้านร้าย ๆ บ้าง ในขณะที่ไม่มีใครอยากให้เกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมอง แต่อีกหลายต่อหลายกรณี เราต้องการให้มีลิ่มเลือด เช่นเมื่อคุณเลือดออก หากลิ่มเลือดไม่เกิดหรือ เกิดช้ามาก คุณก็เสี่ยงต่อการเลือดไหลเป็นเวลานานไม่หยุด แล้วยังมีโอกาส ที่แอสไพรินระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะ จนทําให้มีเลือดออก หนําซ้ำจะไป รบกวนการสร้างลิ่มเลือดที่จะทําให้เลือดหยุดอีกด้วย แต่ก็มีน้อยครั้งที่เลือด ในทางเดินอาหารออกมากจนเป็นอันตรายถึงชีวิต นอกจากนี้ อาจมีเลือดออกจากอวัยวะอื่น ๆ ได้ หากการสร้างลิ่มเลือดถูกยับยั้งและมีเลือดออก ในสมอง ก็กลับกลายเป็นว่า การกินแอสไพรินนี่เอง ที่เป็นสาเหตุของสโตรค

แล้วคุณจะชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียอย่างไร ถ้าหากคุณเป็นผู้ที่เคยหัวใจวาย หรือเป็นโรคหลอดเลือดสมองจากหลอดเลือดแดงอุดตันมาก่อน หมอส่วนมากก็จะแนะนําให้คุณกินเบบีแอสไพริน วันละ 1 เม็ด หลักฐาน ค่อนข้างเชื่อถือได้ว่าลดการเกิดซ้ำของภาวะดังกล่าวได้จริง แต่จะคลุมเครือ ในกรณีที่ร่างกายคุณไม่เคยมีปัญหาดังกล่าว ผลการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในวารสารสมาคมอายุรกรรมศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา ได้วิเคราะห์ข้อมูล จากคนไข้กว่าสามแสนรายในอิตาลี ที่กินแอสไพรินเพื่อป้องกันหัวใจวาย และหลอดเลือดสมองอุดตันโดยที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ปรากฏว่าจํานวน ผู้ป่วยที่กินแล้วช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจได้นั้น พอๆ กับจํานวนที่เกิดปัญหาเลือดออกรุนแรงอันเป็นผลจากการกินแอสไพริน เมื่อคํานึงถึงความเสี่ยงเหล่านี้แล้ว สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาจึงแนะนําว่า เฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดหัวใจวายเท่านั้น จึงสมควรจะกิน แอสไพริน หน่วยงานปฏิบัติการป้องกันแห่งสหรัฐอเมริกา (The U.S. Preventive Task Force : USPTF) ได้แนะนําว่า ชายอายุ 45-79 ปี และหญิงอายุ 55-79 ปี ควรกินแอสไพรินต่อเมื่อชั่งน้ําหนักแล้วว่า ผลดี ที่จะได้รับเหนือกว่าอันตรายจากเลือดออกในทางเดินอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในปัจจุบันนี้ มีหลักฐานยืนยันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ว่า การกินแอสไพรินทุกวัน ช่วยลดโอกาสเกิดติ่งเนื้อที่ผนังลําไส้ใหญ่ (colonic polyp) ซึ่ง อาจเป็นจุดเริ่มต้นของมะเร็งลําไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่ยืนยันว่า ช่วยลดอัตราเสียชีวิตจากมะเร็งลําไส้ใหญ่ได้ยังมีจํากัด ผลการศึกษาออกมา หลายแบบตั้งแต่ไม่มีประโยชน์ไปจนถึงมีประโยชน์เล็กน้อย ทําไมผลจึงออกมาต่างกัน เป็นเพราะติ่งเนื้อที่ผนังลําไส้ส่วนใหญ่ไม่ได้กลายไปเป็นมะเร็ง และถ้าพบติ่งเนื้อเหล่านี้ในการตรวจค้นมะเร็งลําไส้ตามปกติ ก็จะตัดออก ให้หมดโอกาสที่จะเกิดมะเร็ง ดังนั้นจึงเท่ากับว่า แอสไพรินป้องกันคุณจากสิ่งที่หมดสิทธิ์ก่ออันตรายเสียแล้ว

เช่นเดียวกับกรณีของโรคหัวใจและสโตรก คุณควรถามตัวเองว่า ความเสี่ยงของคุณต่อโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่มีมากน้อยแค่ไหน แล้วเทียบกับ ความเสี่ยงจากการกินแอสไพริน หน่วยปฏิบัติการป้องกันแห่งสหรัฐอเมริกา ศึกษาย้อนหลังประเด็นนี้เมื่อปี 2550 และสรุปว่า ประโยชน์ของการใช้ แอสไพรินป้องกันมะเร็งลําไส้นั้นไม่คุ้มกับความเสี่ยง ทั้งในกลุ่มของประชากร ทั่วไป และแม้แต่ในกลุ่มที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่ด้วย มีผลการศึกษาอีกมากที่ออกมาหลังปี 2550 แต่ไม่มีอะไรที่ทําให้ผมเชื่อมั่น ว่า มีประโยชน์มากมายที่เราจะกินแอสไพรินเป็นประจําเพื่อป้องกันมะเร็ง ลําไส้ใหญ่ ทางที่เหมาะสมกว่าก็คือ ตรวจคัดกรองมะเร็งลําไส้ใหญ่เป็น ประจําตามคําแนะนํา เช่น ตรวจส่องกล้องลําไส้ใหญ่ และถ้าคุณเป็นมะเร็ง ลําไส้ใหญ่ไปแล้วคุณก็จะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงอีกกลุ่มที่ต่างออกไป

บทสรุปของหมอเบซเซอร์

ใครจะไปนักล่ะครับว่า การตัดสินใจเรื่องที่ฟังดูหมู ๆ อย่างการกินแอสไพริน วันละเม็ดจะกลายเป็นเรื่องที่ยังโต้เถียงกันโดยหาข้อสรุปไม่ได้ จุดสําคัญอยู่ตรงที่ว่า แอสไพรินไม่ได้เหมาะสําหรับทุกคน ถึงแม้จะเป็นยาที่หาซื้อได้สะดวกง่ายดาย แต่ก็คือ ยาและมีผลข้างเคียงที่เอาเรื่องเสียด้วยสําหรับผู้ที่เคยหัวใจวายมาแล้ว ยาตัวนี้คือผู้ช่วย ชีวิตตัวจริง แต่ถึงอย่างไรถ้าคุณไม่จําเป็นต้องได้รับแอสไพริน การไม่กินย่อมดีกว่า ก่อนจะกินแอสไพรินหรือยาใดที่แพทย์ไม่ได้แนะนํา ควรปรึกษาหมอของคุณก่อน ทั้ง ประเด็นความเสี่ยง ข้อดี แล้วเปรียบเทียบว่าคุ้มค่าหรือเปล่าที่จะเสี่ยง

แอสไพรินช่วยชีวิต

โรซี่ โอ โอนเนล ยกความดีให้การกินแอสไพรินที่ช่วยชีวิตเธอไว้ เมื่อครั้งที่เธอทําท่าจะหัวใจวาย หากคุณเองคิดว่ามีอาการหัวใจจะวาย สิ่งแรก คือโทรฉุกเฉิน 911 จากนั้นให้เคี้ยวแอสไพริน (ควรเป็นเม็ดธรรมดาที่ไม่มี เคลือบผิวกันกัดกระเพาะ) แล้วดื่มน้ำตามหนึ่งแก้ว การเคี้ยวให้เม็ดยาแตก ทําให้ยาดูดซึมได้เร็วขึ้น และออกฤทธิ์ไม่ให้ลิ่มเลือดเกิดมากขึ้น

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง นายแพทย์ริชาร์ด เบซเซอร์  ได้โดยการซื้อหนังสือ “ความจริงจากหมอไขข้อกังขาปัญหาสุขภาพ”


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Talk with Your Doctor about Taking Aspirin to Prevent Disease. health.gov. (https://health.gov/myhealthfinder/topics/health-conditions/heart-health/talk-your-doctor-about-taking-aspirin-prevent)
Should everyone take an aspirin a day?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/healthbeat/should-everyone-take-an-aspirin-a-day)
A major change for daily aspirin therapy. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/a-major-change-for-daily-aspirin-therapy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป