แอสไพริน ยาแก้ปวดแสนวิเศษ แต่ไม่ช่วยรักษาโรค

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
แอสไพริน ยาแก้ปวดแสนวิเศษ แต่ไม่ช่วยรักษาโรค

ยาที่ขาย ๆ กันตามร้านขายยา ซึ่งไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ กว่าครึ่งหนึ่งคือยาแก้ปวดชนิดต่าง ๆ ยาเหล่านี้มักมีแอสไพรินเป็นส่วนประกอบอยู่ ปริมาณแอสไพรินที่ใช้ทุกวันนี้มีเป็นจำนวนมหาศาล ประมาณกันว่าในประเทศอังกฤษโดยเฉลี่ยแล้วประชาชนกินแอสไพรินคนละ 2 เม็ดต่ออาทิตย์ และมีคนอีกจำนวนเล็กน้อยที่กินแอสไพรินทุกวันตลอดชีวิต ลอร์ด ฮอร์เดอ แพทย์ชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงกล่าวว่า แอสไพรินเป็นเครื่องมือที่มีค่าที่สุดในบรรดาอาวุธทั้งหลายที่แพทย์ใช้อยู่

แอสไพริน : ยาวิเศษ

แอสไพรินเป็นยาวิเศษที่ไม่ได้รักษาโรคของผู้ป่วย เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้นเท่านั้น ยาตัวนี้เป็นยาพื้นฐานในการบรรเทาอาการปวด ออกฤทธิ์ยาสูงสุดภายในเวลา 2 ชั่วโมง ยาแอสไพรินภายใต้ชื่อการค้าต่าง ๆ จำหน่ายได้มากกว่ายาจำพวกอื่น ๆ ทุกชนิดรวมกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • แอสไพรินเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย การกินยาเกินขนาดจนกระทั่งเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตนั้นสำหรับในผู้ใหญ่แล้วเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก
  • แอสไพรินเป็นยาที่มีผลข้างเคียงน้อย แต่ถ้ากินเป็นจำนวนมาก ๆ อาจทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นจึงต้องกินยานี้ภายหลังอาหารเท่านั้

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Daily aspirin therapy: Understand the benefits and risks. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-disease/in-depth/daily-aspirin-therapy/art-20046797)
High-Dose Aspirin Is Associated with Anemia and Does Not Confer Benefit to Disease Outcomes in Kawasaki Disease. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4686074/)
Is aspirin a wonder drug?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/aspirin-wonder-drug-2016122210916)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป