Durex
ชื่อผู้สนับสนุน
Durex

9 เหตุผล...ทำไมบางคนถึงไม่อยากใช้ถุงยาง?

การมี “อะไรๆ” ไม่ได้เป็นเรื่องผิด แต่ถ้าคุณยังไม่มั่นใจเรื่องสุขอนามัย หรือยังไม่ได้คิดไว้ว่าจะมีเจ้าตัวน้อย ก็ควรมีอุปกรณ์ป้องกันตัวไว้ โดยหนึ่งในอุปกรณ์ป้องกันที่หาซื้อได้ง่าย พกพาสะดวก ใช้แล้วทิ้งเป็นครั้งๆ ไป ได้ประสิทธิภาพสูง ก็คือ “ถุงยางอนามัย” นั่นเอง
เผยแพร่ครั้งแรก 12 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
9 เหตุผล...ทำไมบางคนถึงไม่อยากใช้ถุงยาง?

บทความนี้สนับสนุนโดย Durex

การมี “อะไรๆ” ไม่ได้เป็นเรื่องผิด แต่ถ้าคุณยังไม่มั่นใจเรื่องสุขอนามัย หรือยังไม่ได้คิดไว้ว่าจะมีเจ้าตัวน้อย ก็ควรมีอุปกรณ์ป้องกันตัวไว้ โดยหนึ่งในอุปกรณ์ป้องกันที่หาซื้อได้ง่าย พกพาสะดวก ใช้แล้วทิ้งเป็นครั้งๆ ไป ได้ประสิทธิภาพสูง ก็คือ “ถุงยางอนามัย” นั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ถึงอย่างนั้นทั้งที่พกง่ายได้ประโยชน์ บางคนก็ยังไม่อยากใช้ถุงยาง เป็นเพราะอะไร? มาดู 9 เหตุผล...ทำไมบางคนถึงไม่อยากใช้ถุงยาง? ข้างล่างนี้

1. รู้สึกสัมผัสไม่แนบแน่น

นี่คือเหตุผลที่ได้ยินกันบ่อยเป็นลำดับต้นๆ ถึงกับมีบางคนเปรียบว่ามันเหมือนกับใส่ถุงมือยางไปจับแก้วน้ำ หรือสวมถุงมือแล้วแคะหู แต่ที่จริงถุงยางอนามัยในปัจจุบันมีหลายแบบมาก คุณสามารถเลือกได้ว่าชอบหนา-บางแค่ไหน เรียบ-ขรุขระอย่างไร ดังนั้นเรื่องผิวสัมผัสไม่น่าเอามาใช้เป็นข้ออ้างแล้ว

2. ไม่ได้เตรียมพร้อม

เหตุการณ์ทำนองนี้อาจเกิดขึ้นได้ ที่ว่าบังเอิญอยู่ใกล้ชิดกันสองต่อสองแล้วบรรยากาศพาไป ทั้งที่ทีแรกไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจว่าจะ “เกินเลย” มารู้สึกตัวอีกทีก็พบว่าทั้งกระเป๋ากางเกงซ้าย-ขวา หรือในซอกลับของกระเป๋าสตางค์ดันไม่มีอุปกรณ์จำเป็นสำหรับป้องกันตัว สิ่งที่ควรทำคือข่มใจไว้ แล้วคราวหน้าต้องไม่ลืมหาถุงยางอนามัยพกติดตัวไว้ตลอด

3. กลัวอารมณ์สะดุด

บางครั้งเวลาเข้าด้ายเข้าเข็มก็มาแบบไม่ตั้งตัว โชคดีนึกได้ว่ามีถุงยาง...แต่อยู่ในรถ อยากจะออกไปเอามาสวมใส่ป้องกันก็กลัวอารมณ์จะขาดตอน เจอสถานการณ์นี้คงต้องวัดใจ (วัดว่ากลับมาแล้วจะต่อติดหรือเปล่านะ ไม่ใช่ลุยต่อเลยแล้วค่อยวัดใจว่าท้องไม่ท้อง มีโรคอะไรไหม) และที่หลายคนอาจไม่รู้ คือการสวมถุงยางนั้นช่วยชะลอการหลั่ง ในชายที่มีการหลั่งเร็วได้ด้วย ดังนั้นนอกจากอารมณ์จะไม่สะดุด อาจจะยืดระยะเวลาความสุขด้วยก็ได้

4. แพ้สารเคมีบางชนิด

ถุงยางอนามัยส่วนมากทำจากยางพารา ซึ่งบางคนสัมผัสแล้วอาจมีอาการแพ้ วิธีแก้คือควรเลี่ยงไปใช้ถุงยางที่ทำจากวัสดุอย่างอื่น เช่น ลำไส้แกะ สารสังเคราะห์พวกโพลียูรีเทน แต่ก็อาจจะหายาก หรือทำให้เกิดเสียงดังเวลาเสียดสี อีกอย่างที่คนมักจะแพ้คือสารเคลือบถุงยางหรือสารหล่อลื่น โดยอาจมีอาการคัน เจ็บ แสบ เกิดผื่นแดง ลองเปลี่ยนยี่ห้อถุงยางอาจจะช่วยได้

ถ้าเกิดอาการแพ้เพียงเล็กน้อยหลังใช้ถุงยาง คุณอาจรับประทานหรือทายาแก้แพ้ได้ จากนั้นหากยังไม่หายควรไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยว่าที่จริงแล้วมีภาวะติดเชื้อรา เชื้อเริม หรือติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ หรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

5. เห็นว่าแฟนกัน ไม่น่ามีปัญหา

บางคนคิดว่ามีอะไรกับแฟนนั้นปลอดภัย ต่างจากเวลาควงใครไม่รู้กลับบ้านแล้วมีความสัมพันธ์แบบ One night stand แต่ที่จริงแม้ว่าแฟนคือคนที่จะคุณคิดจะคบกันไปอีกนาน ก็ยังควรสวมถุงยางทุกครั้งที่มีอะไรกัน ไว้ใจเรื่องอื่นได้ แต่เรื่องโรคภัยไม่ควรวางใจไม่ว่ากับใครทั้งนั้น ถ้ายังไม่ได้จูงมือกันไปให้หมอตรวจอย่างเป็นเรื่องเป็นราว

6. มั่นใจว่าคุมตัวเองได้

ใครกำลังเข้าใจว่าการใช้ถุงยางเป็นไปเพื่อคุมกำเนิดเท่านั้น ถ้าตัวเองเทคนิคดี ควบคุมการหลั่งได้ หรือให้ฝ่ายหญิงกินยาคุมป้องกันไว้แค่นี้ก็หมดปัญหา ขอบอกว่ากำลังเข้าใจผิด! ความจริงการใช้ถุงยางไม่ได้ป้องกันแค่การตั้งครรภ์ แต่ยังช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ติดทางน้ำอสุจิอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะหนองในแท้ หนองในเทียม เริม ซิฟิลิส ฯลฯ ซึ่งแม้จะกันได้ไม่ 100% แต่ก็ถือว่าช่วยให้ปลอดภัยขึ้นมาก

7. ชะล่าใจ คิดว่าครั้งเดียวเองไม่น่าเป็นไร

ความคิดที่ว่าหยวนๆ แล้วกันครั้งเดียวไม่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ ทำนอง… ‘คนอื่นที่ไม่ป้องกันยังมีเลย’ อาจเกิดขึ้นได้ แต่คุณควรรู้ว่าการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางนั้นมีความเสี่ยงมาก เช่น อาจติดโรคบางอย่างจากสารคัดหลั่ง หรือเกิดตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม โดยช่วงเวลาไข่ตกของผู้หญิงซึ่งปกติ 1 เดือนจะวนมา 1 ครั้งนั้น ไข่จะอยู่รอการปฏิสนธินานราวๆ 24 ชั่วโมง ส่วนอสุจิเมื่ออยู่ในร่างกายผู้หญิงแล้วสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 2-3 วัน ป้องกันไว้ทุกครั้ง เพื่อไม่ให้วันหนึ่งต้องมาคิดว่า ‘รู้แบบนี้วันนั้นป้องกันก็ดี’ จะดีกว่า

8. อาย ไม่กล้าซื้อ

ไม่ใช่แค่ผู้หญิงเท่านั้นที่รู้สึกเขินๆ เวลาต้องไปซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ ผู้ชายบางคนก็รู้สึกไม่มั่นใจได้ อาจจะไม่ได้เขินคนขาย แต่รู้สึกอายๆ เพื่อนฝูงที่รู้จักกัน อยากจะหยิบถุงยางแบบมีพื้นผิวแปลกใหม่มาลอง หรือเปลี่ยนบรรยากาศเลือกแบบกลิ่นตรอว์เบอร์รีบ้าง ก็เหมือนจะมีสายตาคนรอบข้างจับจ้องอยู่ คำแนะนำคือให้ลองศึกษาผลิตภัณฑ์ไปก่อนล่วงหน้าว่ามีแบบไหนน่าสนใจ หน้าตา สีสันแพกเกจเป็นแบบไหน เวลาไปถึงร้านจะได้หยิบจ่ายเงินได้เลยอย่างรวดเร็ว หรือไม่ อาจสั่งซื้อทางออนไลน์ ซึ่งตอนนี้ถุงยางยี่ห้อ Durex สามารถสั่งได้ทาง Lazada กับ Shopee แล้ว ที่สำคัญอย่าลืมดูขนาดให้ตรงกับของตัวเอง เพราะเลือกผิดไซส์จะมีผลต่อประสิทธิภาพการป้องกันโรคและการคุมกำเนิด

9. เคยใช้แล้วไม่ชอบ

บางคนอาจมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับถุงยาง เช่น ไม่ชอบผิวสัมผัส สี กลิ่น ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การป้องกันตัวให้ไกลจากโรคหรือเหตุการณ์ท้องไม่พร้อมก็เป็นสิ่งจำเป็น คุณกับคู่อาจลองเปิดใจคุยกัน หรือเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ต่างไปจากเดิมบ้าง เพื่อดูว่าอันไหนจะเหมาะกับทั้งสองคน

จะเลือกถุงยางอนามัยทุกครั้ง อย่าลืมดูผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการทดสอบรอยรั่ว และศึกษาวิธีการใช้ให้ถูกต้อง ถึงแม้ยังไม่มีวิธีคุมกำเนิดที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ เชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ 100% การสวมถุงยางอนามัยก็นับว่าช่วยลดความเสี่ยงได้มาก ส่วน เหตุผลว่า...ทำไมบางคนถึงไม่อยากใช้ถุงยางทั้ง 9 ข้อ ถ้าได้ยินใครอ้างอีกก็กระซิบบอกเขาด้วยนะ ว่าถึงไม่อยาก...แต่มันจำเป็น


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Condom Failure, 7 Possible Reasons. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/six-reasons-for-condom-failure-2328835)
Reasons for not using condoms of clients at urban sexually transmitted diseases clinics. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9263361)
32 Alternative Condom Types, DIYs, and Birth Control Options. Healthline. (https://www.healthline.com/health/healthy-sex/condom-alternatives)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป